15 เม.ย. 2566 มีรายงานว่า กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายค่าดัชนีความร้อนสูงสุด หรืออุณหภูมิที่คนเรารู้สึกได้ในขณะนั้น โดยพบว่าวันที่ (14-16 เมษายน 2566) มีจังหวัดที่มีค่าดัชนีความร้อนสูงสุด (°C) ดังนี้
วันที่ 15 เมษายน 2566
เพชรบูรณ์ = 47.2 อยู่ในระดับอันตราย
โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม = 43.7 อยู่ในระดับอันตราย
บางนา กทม. = 52.7 อยู่ในระดับอันตราย
ชลบุรี = 53.0 อยู่ในระดับอันตราย
ภูเก็ต = 49.6 อยู่ในระดับอันตราย
วันที่ 16 เมษายน 2566
เพชรบูรณ์ = 46.6 อยู่ในระดับอันตราย
โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม = 43.0 อยู่ในระดับอันตราย
บางนา กทม. = 50.6 อยู่ในระดับอันตราย
ชลบุรี = 49.1 อยู่ในระดับอันตราย
ภูเก็ต = 53.5 อยู่ในระดับอันตราย
สำหรับค่าดัชนีความร้อนสูงสุด สามารถแบ่งเป็น 4 ระดับ ดังนี้
ระดับเฝ้าระวัง (สีเขียว) ดัชนีความร้อน 27-32 องศาเซลเซียส ส่งผลกระทบต่อสุขภาพคือ อ่อนเพลียวิงเวียน คลื่นไส้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวจากการสัมผัสความร้อน หรือออกกำลังกาย หรือการใช้แรงงานกลางแจ้งท่ามกลางอากาศร้อน
ระดับเตือนภัย (สีเหลือง) ดัชนีความร้อน 32-41 องศาเซลเซียส ส่งผลกระทบต่อสุขภาพคือ เกิดภาวะตะคริวจากความร้อน และเกิดอาการเพลียแดด หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน
ระดับเตือนภัย (สีส้ม) ดัชนีความร้อน 41-54 องศาเซลเซียส ส่งผลกระทบต่อสุขภาพคือ มีอาการตะคริวที่น่อง ต้นขา หน้าท้อง หรือไหล่ ทำให้ปวดเกร็ง มีอาการเพลียแดด และอาจเกิดภาวะลมแดด หรือฮีตสโตรก หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน
ระดับเตือนภัย (สีแดง) ดัชนีความร้อน มากกว่า 54 องศาเซลเซียส ส่งผลกระทบต่อสุขภาพคือ เกิดภาวะลมแดด หรือฮีตสโตรก (Heat stroke)