ไม่พบผลการค้นหา
รองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ท้วงการถ่ายโอนอำนาจของคสช. ไม่ต่างจากม.44 กลายร่าง ชี้เป็นโครงสร้างควบคุมประชาชน คล้ายโมเดลเกสตาโป ในสมัยนาซี มอบอำนาจเจ้าหน้าที่สอดแนม

พล.ท.พงศกร รอดชมภู รองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ กล่าวถึง การทำหน้าที่แทนคณรักษาความวงบแห่งชาติ(คสช.) ของกองอำนาวยการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ว่า การยกเลิกคำสั่ง คสช.ได้นั้น จะต้องมีพระราชบัญญัติมารองรับ หมายความว่า สิ่งนี้จะยังคงอยู่จนกว่าจะมี ทั้งฝ่ายพรรคการเมือง และภาคประชาชนร่วมกับเพื่อร่วมกันปลดอาวุธ ของคสช. ซึ่งที่ผ่านมา แม้เราจะเชื่อกันว่า เมื่อมีรัฐบาลใหม่แล้ว มาตรา 44 และคสช.จะหายไป ก่อนกลับสู่ชีวิตปกติ ซึ่งไม่เป็นความจริง เพราะยังมีกฎหมายต่างๆ ที่ไปอยู่ใน พ.ร.บ.หรือ ระเบียบต่างๆของทางราชการ โดยเฉพาะกรณีการเพิ่มอำนาจ ของ กอ.รมน. ซึ่งที่ผ่านมา มีการพูดกันว่า จะมีการรับไม้ต่อจาก คสช. ก่อนจะมีการออกมาแก้ต่างว่าไม่มีการดำเนินการลักษณะดังกล่าว แต่สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า การเคลื่อนไหวของทหารและเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงนั้นยังมีต่อไป 

พล.ท.พงศกร กล่าวว่า คำสั่ง คสช.ที่ 51/60 เรื่องการแก้ไขพ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่งคงภายในราชอาณาจักร มาตรา 3 ระบุไว้ชัดเจนว่า ให้มีการประเมินภัยคุกคามซึ่งอาจเกิดขึ้นในเรื่องความมั่นคง มาตรา 11 มีปัญหามาก คือ ให้แม่ทัพภาคเป็นหัวหน้าคณะกรรมการ ร่วมกับหน่วยราชการอื่น ทั้งอัยการสูงสุด ตำรวจ และข้าราชการพลเรือนในพื้นที่ ซึ่งปกติแล้วหากเราจะดำเนินการเรื่องกระบวนการยุติธรรม อำนาจต่างๆต้องแยกออกจากกัน แต่กรณีดังกล่าวอำนาจกลับมารรวมอยู่ใกล้กันคือ ตำรวจกับอัยการ โดยมีแม่ทัพภาคนั่งหัวโต๊ะ ทำให้เกิดการรวมศูนย์ความคิด หมายความว่าแนวคิดของคณะกรรมการทั้งหมดไปในทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีการตรวจสอบถ่วงดุล ถือเป็นเรื่องใหญ่มาก

พ.ท.พงศกร กล่าวอีกว่า ในมาตรา 13 มีการถ่ายอำนาจไปถึงผู้ว่าราชการจังหวัดให้เป็นผู้รับนโยบาย ครอบคลุมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งปัจจุบันนี้ก็อยุ่ในความควบคุมอยู่แล้ว โดยไม่ได้ขึ้นตรงกับส่วนภูมิภาค หรือผุ้ว่าราชการจังหวัดอีกต่อไป ตามกฎหมายใหม่ เช่นเดียวกับระดับท้องที่ ทั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ต่อไปหากมีธุรกิจ 2 แห่ง แห่งแรก มีฝ่ายปกครอง ตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงอื่นๆ เข้ามาเยี่ยมทุกวัน ขณะที่อีกธุรกิจหนึ่งสามารถค้าขายได้ทั้งวันไม่มีใครว่าอะไร หมายความว่าเรื่องดังกล่าวจะกระทบต่อธุรกิจในระดับท้องถิ่นด้วย ดังนั้นทุกองคาพยพของประเทศไทยจะมีภัย ซึ่งกลไกราชการไม่ควรเข้าไปยุ่มย่ามกับเสรีภาพของประชาชน ในการทำธุรกิจ

“โครงสร้างเครือข่ายในการควบคุมประชาชนตั้งแต่ในระดับรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ไปจนถึงประชาชนคนสุดท้าย อยู่ในการควบคุมของกลไกที่มาจาก คสช. ถ้าจะให้นิยาม มันคือ เกสตาโป ในสมัยนาซี ที่เจ้าหน้าที่จะเข้าถึงทุกบ้าน หากประชาชนอยากเรียกร้อง หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลง ก็ต้องไปที่องค์กรอิสระ ซึ่งสุดท้ายองค์กรอิสระ ก็อยู่ภายใต้การกำกับของ ส.ว. อีกที แสดงให้เห็นว่าสิ่งเหล่านี้คือ วงจรของคสช.ที่ยังไม่หมดไป แต่ผมเชื่อว่าภายใน 3 เดือนข้างหน้า หากมีการกระทำอย่างแข็งขันจริง และฝ่ายรัฐบาลเห็นด้วยในฐานะภาคการเมืองด้วยกัน เราสามารภทำสำเร็จได้ แต่ถ้าขาดการร่วมมือจากภาคการเมือง คงยากที่จะทำสำเร็จ และสุดท้ายเราก็จะอยู่ในการกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด ขององค์กรบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่น่าปรารถนา”พล.ท.พงศกรกล่าว 

พล.ท.พงศกร กล่าวว่า ฝ่ายราชการควรทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนประชาชน แต่กรณีดังกล่าว เป็นการเข้ามาควบคุมประชาชน ซึ่งเราต้องนิยามให้ได้ก่อนว่า ทหารเป็นผู้ป้องกันประเทศ ป้องกันอริราชศัตรู ดังนั้น งานนี้ต้องเป็นงานของฝ่ายพลเรือน รวมถึงต้องมีการแยกการทำงานระหว่างตำรวจ และอัยการด้วยเพื่อไม่ให้รวมการบังคับใช้กฎหมายอย่างเบ็ดเสร็จมากเกินไป และมีการตรวจสอบถ่วงดุล แม้ว่าเดิมจะเคยมีคณะกรรมการลักษณะแบบนี้ แต่ไม่มีอำนาจเท่านี้ เป็นเพียงแค่การขอความร่วมมือ แต่ไม่ใช่ลักษณะสั่งการแบบนี้

เผย 3 จังหวัดชายแดนใต้ถ่ายภาพเจ้าของซิมโทรศัพท์ ไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน

ด้านนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีปัญหาการลงทะเบียนซิมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการเลือกปฏิบติและละเมิดสิทธิมนุษยชน ว่า ทุกคนรู้อยู่แล้วว่าปัญหาคืออะไร ซึ่งสิ่งที่ทำอยู่แทบจะไม่มีอะไรแตกต่างไปจากเดิม เพียงแค่ถ่ายรูปคู่กับการลงทะเบียนซิม และไม่เข้าใจว่าไปละเมิดตรงไหน โดยปกติก็ถ่ายภาพผ่านโทรศัพท์กันอยู่แล้ว และเหตุผลที่ต้องทำตรงนี้ เพราะต้องการใช้เป็นหลักฐานว่าซิมโทรศัพท์เป็นของใคร เพื่อให้การตรวจสอบจะได้ง่ายขึ้น เชื่อว่าคนในพื้นที่เข้าใจ และไม่ได้โวยวายอะไร เพียงแต่เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติด้วยความละมุนละม่อม ยืนยันรัฐบาลไม่ได้มุ่งหวังจะใช้กฎหมายบังคับใคร

อ่านเพิ่มเติม