ไม่พบผลการค้นหา
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เผยปัจจุบันได้ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) แล้ว 13 จังหวัด

นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวถึงสถานการณ์อุทกภัย จากอิทธิพลพายุโซนร้อน “เซินติญ” และ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งแต่วันที่ 17 ก.ค. – 9 ส.ค. 2561 ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และดินถล่ม ในพื้นที่ 30 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี ตาก เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน พิจิตร นครสวรรค์ ตราด แพร่ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง พังงา เพชรบุรี ลำปาง น่าน อุตรดิตถ์ อำนาจเจริญ พะเยา เชียงราย กาฬสินธุ์ นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี บึงกาฬ สกลนคร ร้อยเอ็ด ยโสธร หนองคาย และจังหวัดสุราษฎร์ธานี 96 อำเภอ 343 ตำบล 2,098 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 43,970 ครัวเรือน 123,515 คน

สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 21 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี ตาก เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน พิจิตร นครสวรรค์ ตราด แพร่ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก ประจวบคีรีขันธ์ ลำปาง น่าน อุตรดิตถ์ พะเยา เชียงราย หนองคาย อำนาจเจริญ มุกดาหาร ระนอง และจังหวัดพังงา

ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครพนม อุบลราชธานี บึงกาฬ สกลนคร ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ยโสธร เพชรบุรี และจังหวัดสุราษฎร์ธานี 36 อำเภอ 179 ตำบล 1,281 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 22,333 ครัวเรือน 57,811 คน

โดยจังหวัดได้ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) แล้ว 13 จังหวัด 25 อำเภอ 77 ตำบล 493 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี กาฬสินธุ์ เชียงใหม่ ตาก น่าน บึงกาฬ พะเยา เพชรบุรี แพร่ ยโสธร สกลนคร อำนาจเจริญ และจังหวัดอุตรดิตถ์