ไม่พบผลการค้นหา
ย้อนดูรายงาน คอป.  แนะ ‘รัฐสภากล้าหาญ’แก้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ให้สถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมือง

นโยบายแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ของ "พรรคก้าวไกล" กลายเป็น"ข้ออ้าง" ของ 236 ส.ว.  ที่ไม่ยอมลงมติเห็นชอบ "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นนายกรัฐมนตรี ท่ามกลาง "ข้อกังขา" จาก"วิญญูชน" ว่า เป็นการ "แอบอ้าง" เพื่อปกป้องผลประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม โดยเฉพาะบุคคลใน "กองทัพ" 

เนื่องจากที่ผ่านมาการเสนอแก้ไข "มาตรา 112" เพื่อโทษกลับสามารถทำได้ และมีการนำมาใช้เป็น "เครื่องมือทางการเมือง" โจมตีฝ่ายตรงข้ามอย่างกว้างขวาง จนกลายเป็นต้นตอความขัดแย้งหนึ่งในเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี 2553 

ภายหลังเหตุความรุนแรงดังกล่าว ได้มีการนำไปสู่การตั้งคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ที่มี คณิต ณ นคร อดีตอัยการสูงสุดเป็นประธาน ในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และมีข้อเสนอแนะในส่วนที่ 5 เกี่ยวกับการทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เหนือความขัดแย้งอย่างชัดเจน 8 ข้อ (หน้า 255 - 258) โดยรวมถึงการแก้ไขมาตรา 112 

เสื้อแดง นปช 10 เมษายน 0-B23513814581.jpegเสื้อแดง นปช 10 เมษายน -4A7C15113E90.jpeg

เนื้อในส่วนดังกล่าวได้เกริ่นนำสภาพปัญหาทางการเมืองที่มีการ "แอบอ้าง" สถาบัน จนนำไปสู่ความขัดแย้งว่า  

 "การกล่าวอ้างสถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจ ของคนในชาติเพื่อสร้างความชอบธรรมหรือแรงสนับสนุนจากมวลชนในการเคลื่อนไหวทางการเมือง เพื่อประโยชน์ในการรักษาสถานภาพดังกล่าว การดึงสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวข้องกับประเด็น และความขัดแย้งในทางการเมืองทำให้ปัญหาทางการเมืองลุกลามบานปลาย" 

"ยิ่งไปกว่านั้น ยังปรากฏว่ามีการนำกฎหมายหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์มาใช้เป็นเครื่องมือในการกาจัดศัตรูทางการเมืองโดยโจมตีฝ่ายตรงข้ามว่าไม่ จงรักภักดี" 

จากนั้น จึงนำไปสู่การกำหนดประเด็น 2 ส่วน รวมมีข้อเสนอ8 ข้อ ดังนี้ 

ประเด็น "สถาบันกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ" มี 3 ข้อเสนอ คือ 

1.

"ขอให้ทุกภาคส่วนตระหนักว่าการกล่าวอ้างสถาบันพระมหากษัตริย์เพื่อผลประโยชน์ในทางการเมืองจะยิ่งทำให้สถาบันตกอยู่ในอันตรายมากขึ้นและกระทบต่อความมั่นคงของชาติ" 

2.

 "เรียกร้องให้นักการเมือง พรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองหารือกันอย่างจริงจัง เพื่อกำหนดแนวทางที่เหมาะสมในการดำเนินการให้เกิดผลอันเป็นการเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้อยู่เหนือความขัดแย้งในทางการเมือง โดยอาจกำหนดชัดเจนเป็นวาระแห่งชาติ" 

3.

"ควรสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และทำความเข้าใจร่วมกันของสังคมเกี่ยวกับสถานะและบทบาทของสถาบัน พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์" 

"และให้มีเวทีให้บุคคลที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันได้พูดคุย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสร้างสรรค์โดยสันติวิธี เพื่อแสวงหาแนวทางที่เหมาะสมในการเทิดทูนให้สถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เหนือความขัดแย้งในทางการเมืองโดยสอดคล้องกับพัฒนาการของระบอบประชาธิปไตย"

ยืนหยุดขัง วิโรจน์ มาตรา112มาตรา112 ยืนหยุดขัง

ประเด็น "กฎหมายหมิ่นพระมหากษัตริย์" มี 5 ข้อเสนอ คือ 

1. 

 "มาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ. 2550 มาเป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ในทางการเมืองนั้น นอกจากจะไม่เป็นการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์แล้ว ยังเป็นอุปสรรคสาคัญต่อการลดความขัดแย้งและสร้างความปรองดองในชาติด้วย"

 "คอป. จึงได้เสนอแนะแนวทางในการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์และเสนอแนะให้มีการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่ยังไม่ได้รับการพิจารณาหรือนำไปปฏิบัติตาม"

2.

"การบังคับใช้กฎหมายหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ตามมาตรา 112 แห่ง ประมวลกฎหมายอาญามีการระวางโทษในอัตราที่สูงไม่ได้สัดส่วนกับความผิด จำกัดดุลพินิจของศาล ในการกำหนดโทษที่เหมาะสม ไม่มีความชัดเจนในขอบเขตที่เข้าข่ายตามกฎหมาย และยังเปิดโอกาสให้บุคคลใดๆ สามารถกล่าวโทษเพื่อดำเนินคดีได้ ทำให้กฎหมายดังกล่าวถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อกลั่นแกล้งบุคคลที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามเพื่อหวังผลทางการเมืองหรือกำจัดศัตรูในทางการเมือง”

“คอป. จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารัฐบาลและรัฐสภาจักร่วมกันแสดงความกล้าหาญในทางการเมือง เพื่อขจัดเงื่อนไขของปัญหาจากกฎหมายดังกล่าวด้วยการแก้ไขกฎหมายหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์" 

3.

 "ในระหว่างที่ยังไม่มีการแก้ไขกฎหมายหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ คอป. ขอเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในการกำกับการใช้อำนาจรัฐและหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมพึงระมัดระวังในการ นำเอากฎหมายหมิ่นสถาบันมาใช้ในเวลาที่มีความขัดแย้งทางการเมืองเช่นนี้" 

4.

 "รัฐบาลต้องดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นสถาบันมีความเป็นเอกภาพและดำเนินงานร่วมกันอย่างบูรณาการโดยกำหนดให้มีกลไกหรือองค์กรในการกำหนดนโยบายทางอาญาที่เหมาะสม"

5.

“รัฐบาลต้องส่งเสริมการใช้ดุลพินิจของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดีหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ให้เป็นไปตามแนวทางที่ถูกต้อง” 

“อัยการซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการใช้ดุลพินิจว่าจะดำเนินคดีหรือไม่ ควรให้ความสำคัญกับแนวทางการสั่งคดีโดยใช้ดุลพินิจ (Opportunity Principle) ซึ่งเป็นอำนาจของอัยการ อันเป็นสากล แม้ว่าคดีมีหลักฐานเพียงพอในการสั่งฟ้อง แต่อัยการต้องให้ความสำคัญกับการชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบผลดีผลเสียในการดำเนินคดีด้วย...อันเป็นแนวทางที่ใช้อยู่ในประเทศที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น" 

ทั้งนี้สถานการณ์การแก้ไขมาตรา 112 ในปัจจุบัน จะผลักดันในรัฐสภาคงไม่ง่ายนัก เพราะล่าสุดในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา มี ส.ว. รวมทั้งพรรคการเมืองบางพรรคไม่เห็นด้วยกับการแก้ไข มาตรา 112 จนส่งผลให้ ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ หัวหน้าพรรคก้าวไกลไม่ได้ร้บเลือกจากรัฐสภาให้เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566

คอป IMG_8322.jpegIMG_8321.jpeg

รายงาน คอป.ฉบับเต็ม