ทั้งนี้ สภาผู้แทนราษฎรของไทย มีตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2517 ซึ่งมีบทบัญญัติ ไว้ในมาตรา 126 ที่กำหนดไว้ว่า ภายหลังที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้รับความไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 184 แล้ว พระมหากษัตริย์จะได้ทรงแต่งตั้ง ส.ส.ผู้เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งส.ส.ในสังกัดมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี และมีจำนวนมากที่สุดในบรรดาพรรคการเมืองซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี แต่ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภา เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
โดยให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการในการแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ขณะที่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 106 บัญญัติว่า ภายหลังที่คณะรัฐมนตรีเข้าบริหารราชการแผ่นดินแล้วพระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุด และสมาชิกมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือรองประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ในกรณีที่พรรคการเมืองตามวรรคหนึ่ง มีสมาชิกเท่ากัน ให้ใช้วิธีจับสลาก
โดยให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ทั้งนี้ ประเทศไทยมีผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร นับตั้งแต่ปี 2518 - ปัจจุบัน จำนวน 9 คน
โดย ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร คนแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย โดยเป็นผู้นำฝ่ายค้านฯ เมื่อ 22 มี.ค. พ.ศ. 2518 - 12 ม.ค. พ.ศ. 2519 (ยุบสภา)
ถัดจากนั้น คนที่ 2 คือ พล.ต.ประมาณ อดิเรกสาร หัวหน้าพรรคชาติไทย เป็นผู้นำฝ่ายค้านฯ 24 พ.ค. พ.ศ. 2526 - 1 พ.ค. พ.ศ. 2529 (ยุบสภา) เป็นผู้นำฝ่ายค้านฯ เป็นผู้นำฝ่ายค้านฯ ครั้งที่สอง 30 ต.ค. พ.ศ. 2535 - 7 พ.ค. พ.ศ. 2537 (ลาออกจากหัวหน้าพรรค)
คนที่ 3 พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ เป็นผู้นำฝ่ายค้านฯ เมื่อ 15 พ.ค. พ.ศ. 2535 - 16 มิ.ย. 2535 (ยุบสภา)
ครั้งที่ 2 พล.อ.ชวลิต เป็นผู้นำฝ่ายค้านฯ 26 พ.ย. 2540 - 2 มิ.ย. 2541 (ลาออกจากหัวหน้าพรรค)
ครั้งที่ 3 พล.อ.ชวลิต เป็นผู้นำฝ่ายค้านฯ 2 ก.ย. 2541- 27 เม.ย. 2542 (ลาออกจากหัวหน้าพรรค)
และเป็นครั้งที่ 4 เมื่อ 12 พ.ค. 2542-9 พ.ย. 2543 (ยุบสภา)
คนที่ 4 บรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย 27 พ.ค. 2537- 19 พ.ค. 2538 (ยุบสภา)
คนที่ 5 ชวน หลีกภัย หัวหน้าประชาธิปัตย์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้นำฝ่ายค้านฯ ครั้งแรก เมื่อ 4 ส.ค. 2538 - 27 ก.ย. 2539 (ยุบสภา)
ครั้งที่ 2 เมื่อ 21 ธ.ค. 2539 - 8 พ.ย. 2540 (เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี)
ครั้งที่3 เมื่อ 11 มี.ค. 2544 - 3 พ.ค. 2546 (ลาออกจากหัวหน้าพรรค)
คนที่ 6 บัญญัติ บรรทัดฐาน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้นำฝ่ายค้านฯ เมื่อ 23 พ.ค. 2546 - 5 ม.ค. 2548 (ครบวาระดำรงตำแหน่งสภาผู้แทนราษฎร)
คนที่ 7 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้นำฝ่ายค้านฯ ครั้งแรกเมื่อ 23 เม.ย. 2548 -24 ก.พ. 2549 (ยุบสภา)
ครั้งที่ 2 เป็นผู้นำฝ่ายค้านฯ เมื่อ 27 ก.พ. 2551 - 17 ธ.ค. 2551 (พ้นผู้นำฝ่ายค้านฯ จากการเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี)
ครั้งที่ 3 เมื่อ 16 ก.ย. 2554 - 9 ธ.ค. พ.ศ. 2556 (ยุบสภา)
คนที่ 8 สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย เป็นผู้นำฝ่ายค้านฯ เมื่อ 17 ส.ค. 2562 - 26 ก.ย. 2563(ลาออกจากหัวหน้าพรรค)
ครั้งที่2 เมื่อ 6 ธ.ค. 2563 -28 ต.ค. 2564 (ลาออกจากหัวหน้าพรรค)
ล่าสุด ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2564 โดยพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่วันที่ 6 ธ.ค. 2563 นั้น
เนื่องด้วย สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 28 ต.ค. 2564 เป็นเหตุให้พ้นจากตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ต่อมา พรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ในสภาผู้แทนราษฎรที่มีจำนวนสมาชิกมากท่ีสุด ได้เลือก นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย เป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
อาศัยอานาจตามความในมาตรา 106 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง นพ.ชลน่าน เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ทำให้ผู้นำฝ่ายค้านฯ คนที่ 9 คนปัจจุบัน คือ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย เมื่อ 29 ธ.ค. 2564
จะเห็นได้ว่า ตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านฯ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เป็นผู้นำฝ่ายค้านฯ มากที่สุด 4 คน
ส่วน พล.อ.ชวลิต ถือว่าเป็นผู้นำฝ่ายค้านฯ มากที่สุดถึง 4 ครั้ง ขณะเป็นหัวหน้าพรรคความหวังใหม่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง