ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฮนลี่ย์ แอนด์ พาร์ทเนอร์ส (Henley & Partners) บริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนเพื่อย้ายถิ่นฐานชั้นนำระดับโลกซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้เผยแพร่ผลการจัดอันดับ 20 เมืองที่มีมหาเศรษฐีมากที่สุดในโลกในปี 2565 ดร. ยอร์ก สเตฟเฟน (Dr. Juerg Steffen) ซีอีโอของเฮนลี่ย์ แอนด์ พาร์ทเนอร์ส เปิดเผยว่า เมืองที่ติดอันดับส่วนใหญ่อยู่ในประเทศที่มีโปรแกรมการลงทุนเพื่อย้ายถิ่นฐาน (Investment Migration) ที่ให้สิทธิในการอยู่อาศัย ทำงาน ศึกษาเล่าเรียน และลงทุนในศูนย์กลางการเงินชั้นนำระดับโลก เช่น นิวยอร์ก ลอนดอน สิงคโปร์ ซิดนีย์ และ โทรอนโต สามารถเข้าถึงได้ผ่านการลงทุนเพื่อขอสัญชาติ ความสามารถในการโยกย้ายตัวเอง ครอบครัว หรือธุรกิจไปยังเมืองที่เอื้ออำนวยมากกว่า หรือการได้มีสิทธิเลือกถือสัญชาติของหลายประเทศทั่วโลก ถือเป็นแง่มุมที่มีความสำคัญมากขึ้นสำหรับลูกค้าในการวางแผนความมั่งคั่งและการจัดการมรดก
สำหรับ 20 เมือง ที่มีมหาเศรษฐีมากที่สุดในโลกในปี 2565
อันดับ 1 สหรัฐอเมริกา มีเมืองที่ติดอันดับมากที่สุด นำโดยนิวยอร์ก ครองแชมป์มีมหาเศรษฐี 345,600 คน และอีก 5 เมืองที่ติดอันดับประกอบด้วย ซานฟรานซิสโก ลอสแอนเจลิส ชิคาโก ฮิวสตัน และดัลลัส
ถัดมาอันดับ 2 โตเกียว ผู้มีความมั่งคั่งสูงเกิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ราว 304,900 คน
อันดับ 3 คือซานฟรานซิสโก มีมหาเศรษฐีระดับพันล้านราว 272,400 คน
และลอนดอน ร่วงลงมาอันดับ 4 จากที่เคยเป็นเมืองร่ำรวยที่สุด มีมหาเศรษฐีราว 272,400 คน
ด้านประเทศจีน มีสองเมืองที่เข้ามาติดใน 10 อันดับแรก คือ ปักกิ่ง (อันดับ 9) และเซี่ยงไฮ้ (อันดับ 10) ขณะที่สวิตเซอร์แลนด์และออสเตรเลีย ติดอันดับประเทศละสองเมือง ได้แก่ ซิดนีย์ (อันดับ 11), ซูริก (อันดับ 15), เมลเบิร์น (อันดับ 17) และเจนีวา (อันดับ 19)
ส่วนอันดับอื่น ๆ ได้แก่ สิงคโปร์ (อันดับ 5), ฮ่องกง (เขตบริหารพิเศษของจีน) (อันดับ 12), แฟรงก์เฟิร์ต (อันดับ 13), โทรอนโต (อันดับ 14), โซล (อันดับ 16) และปารีส ร่วงลงมาสามขั้นอยู่ที่อันดับ 20 โดยรายงานนี้รวบรวมข้อมูลมาจากบริษัทนิวเวิลด์เวลท์ (New World Wealth) ซึ่งเป็นบริษัทข้อมูลความมั่งคั่งระดับโลก โดยครอบคลุม 5 เมืองที่ร่ำรวยที่สุดในแต่ละภูมิภาค และ 25 เมืองที่เติบโตเร็วที่สุดในแง่ของจำนวนมหาเศรษฐี
ดร. ยอร์ก สเตฟเฟน ซีอีโอของเฮนลี่ย์ แอนด์ พาร์ทเนอร์ส (Henley & Partners) เปิดเผยว่า ร้อยละ70 ทั้งหมด คือ 14 เมืองจาก 20 เมืองที่ติดอันดับอยู่ในประเทศที่มีโปรแกรมการลงทุนเพื่อย้ายถิ่นฐาน ทั้งสิทธิในการอยู่อาศัย ทำงาน ศึกษาเล่าเรียน และลงทุนในศูนย์กลางการเงินชั้นนำระดับโลก เช่น นิวยอร์ก ลอนดอน สิงคโปร์ ซิดนีย์ และ โทรอนโต สามารถเข้าถึงได้ผ่านการลงทุนเพื่อขอสัญชาติ ทั้งนี้ความสามารถในการโยกย้ายตัวเอง ครอบครัว หรือธุรกิจไปยังเมืองที่เอื้ออำนวยมากกว่า หรือการได้มีสิทธิเลือกถือสัญชาติของหลายประเทศทั่วโลก ถือเป็นแง่มุมที่มีความสำคัญมากขึ้นสำหรับลูกค้าในการวางแผนความมั่งคั่งและการจัดการมรดก
ด้าน แอนดรูว์ เอมอยล์ส หัวหน้าฝ่ายวิจัยของนิวเวิลด์เวลท์ ประเมินว่า จำนวนมหาเศรษฐีในดูไบ มุมไบ และเซินเจิ้น จะเพิ่มขึ้นจนเข้ามาติดอันดับ 20 เมืองที่ร่ำรวยที่สุดในโลกภายในปี 2573 เนื่องจากอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ ทำผลงานได้ดีเป็นพิเศษในปีนี้ ซึ่งรวมถึงริยาด ชาร์จาห์ ลูอันดา อาบูดาบี โดฮา และลากอส ส่วนเมืองอื่น ๆ ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว คือ ลูกาโน เมืองในสวิตเซอร์แลนด์ที่ได้รับความนิยมในหมู่ผู้มั่งคั่งที่เกษียณอายุแล้ว บังคาลอร์ ซึ่งได้รับการขนานนามว่า "ซิลิคอนแวลลีย์ของอินเดีย" และหางโจว เมืองที่มีทัศนียภาพสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของจีน"
ขณะที่ดร. โฮเซ กาบัลเลโร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจากไอเอ็มดี เวิลด์ คอมเพททิทีฟเนส เซ็นเตอร์ (IMD World Competitiveness Center) กล่าวถึงรายงานพลเมืองโลกของเฮนลี่ย์ฉบับล่าสุดว่า คุณภาพชีวิต คือ ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการโยกย้ายทั่วโลก สำหรับผู้บริหารธุรกิจแล้ว มาตรฐานชีวิตในระดับสูงและสถาบันต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพ คือปัจจัยดึงดูดที่สำคัญของเมือง