สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า บริษัทสยามไบโอไซเอนซ์เป็นหนึ่งในบริษัทภายใต้สำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไทย โดยแรกเริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2552 เพื่อเป้าหมายในการผลิตชีวเภสัชภัณฑ์ และการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน โดยบริษัทขาดทุนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ก่อนจะมีรายงานผลการทำกำไรครั้งแรกเมื่อปี 2563 ที่ราว 35.7 ล้านบาท
สำนักข่าวรอยเตอร์สระบุว่า ธุรกิจของทางบริษัทพัฒนาขึ้นอย่างรุดหน้าเมื่อปีที่ผ่านมา หลังจากที่บริษัทได้เริ่มผลิตวัคซีนเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่โควิด-19 เริ่มระบาด โดยสยามไบโอไซเอนซ์ทำกำไรพุ่งขึ้นกว่า 4,650% หรือราว 1.69 พันล้านบาท อีกทั้งมีรายรับเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ที่ 1,500% หรือราว 4.9 พันล้านบาท จากสัญญาที่ทางบริษัททำขึ้นเพื่อการผลิตวัคซีนโควิด-19 สัญชาติอังกฤษ-สวีเดนกว่า 200 ล้านโดส
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานอีกว่า ข้อตกลงเรื่องวัคซีนกลายเป็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ หลังจากนักการเมืองฝ่ายค้านอย่าง ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ได้ออกมาตั้งคำถามถึงสัญญาวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า ที่ไปเกี่ยวข้องกับบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ บริษัทภายใต้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งไม่เคยผลิตวัคซีนมาก่อน
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานอีกว่า ธนาธรกำลังเผชิญหน้ากับข้อกล่าวหาการดูหมิ่นองค์พระมหากษัตริย์และกฎหมายคอมพิวเตอร์ ที่อาจทำให้เขาถูกตัดสินจำคุกสูงสุดถึง 20 ปี ทั้งนี้ สำนักข่าวรอยเตอร์ส์กล่าวว่า ที่ทำการใหญ่ของบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์เอง กลายมาเป็นสถานที่ที่เคยมีผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลมาใช้พื้นที่ รวมถึงการที่ผู้ชุมนุมบางรายออกมาเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วย
สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า เจ้าหน้าที่สาธารณสุขไทยออกมาปกป้องข้อตกลงดังกล่าว ในขณะที่ทางแอสตร้าเซเนก้าได้ออกมาระบุว่า สยามไบโอไซเอนซ์ได้ผ่านการรับการตรวจสอบคุณภาพ และสมรรถภาพแบบเดียวกันกับที่ถูกดำเนินการกับผู้ผลิตที่ได้รับอนุญาตกว่า 20 รายทั่วโลกแล้ว
สำนักข่าวรอยเตอร์สชี้ว่า บริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลจำนวน 600 ล้านบาท เพื่อพัฒนากำลังการผลิต และกล่าวว่าบริษัทจะผลิตวัคซีนภายใต้นโยบาย "ไม่แสวงหากำไร ไม่ขาดทุน" ซึ่งหมายความว่าบริษัทจะขายวัคซีนในราคาทุน
ที่มา: