คณะอนุกรรมมาธิการพิจารณาศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อระบบสุขภาพ และติดตามการบังคับใช้กฎหมายด้านการสาธารณสุข ซึ่งอยู่ภายใต้คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข เผยแพร่รายงานการศึกษานโยบายในการควบคุมยาสูบ ผลกระทบจากปัญหาการลักลอบจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบที่ผิดกฎหมายทั้งในด้านสุขภาพและเศรษฐกิจ ของประเทศ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคจากการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งวางกรอบการพิจารณาในประเด็นของ บุหรี่ไฟฟ้า โดยเฉพาะ
การศึกษามีทั้งการศึกษาจากข้อมูลทางวิชาการ งานวิจัย ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ มีการเชิญหน่วยงาน องค์กร และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่างๆ มาให้ข้อมูล โดยผลการจากศึกษาพบว่า
ที่ผ่านมาการสูบบุหรี่ถือเป็นปัญหาต้นๆ ต่อการสาธารณสุข ที่ทำให้รัฐสูญเสียงบประมาณจำนวนมหศาลเพื่อจำเป็นสวัสดิการใมนการรักษาผู้ป่วย มีคนไทยเสียชีวิตจาการสูบบุหรี่ปีละประมาณ 70,000 คน จากข้อมูลสำนักงานสถิตแห่งชาติ เมื่อปี 2564 พบว่า จำนวนผู้สูบบุหรี่ในประเทศไทยมีจำนวนอยู่ที่ 9.9 ล้านคน และลดลงเพียง 8 แสนคนเท่านั้นเมื่อเทียบกับข้อมูลเมื่อปี 2560
แม้ประเทศไทยจะได้รับการยกย่องว่าเป็นประเทศผู้นำด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบอันดับต้นๆ ของโลก และได้รับรางวัลและการยกย่องในระดับนานาชาติว่ามีมาตรการควบคุมและกฎหมายที่เข้มงวด มีการ ปรับขึ้นภาษีบุหรี่อย่างสม่ำเสมอ และมีหน่วยงานภาคีเครือข่ายการรณรงค์ที่เข้มแข็ง มีงบประมาณใน การปฏิบัติภารกิจจากทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่อัตราการลดลงของผู้สูบบุหรี่ในประเทศไทยกลับไม่ได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
เป็นไปได้หรือไม่ว่า แนวทางการบริหารจัดการปัญหาผลกระทบจากการสูบบุหรี่ ยังเดินมาไม่ถูกทาง
เมื่อไปที่กฎหมาและมาตราการในการควบคุมการสูบบุหรี่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่าง อังกฤษ สหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ กรีซ และหลายประเทศในยุโรป พบว่ามีการอนุญาติให้ประชาชนสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่อย่าง ‘บุหรี่ไฟฟ้า’ เข้ามาทดแทนการสูบบุหรี่มวน เนื่องจากมีข้อมูลในทางวิทยาศาสตร์รองรับว่า มีความอันตรายน้อยกว่าการสูบบุหรี่มวนที่มีการเผาไหม้ อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ยังคงมีสารนิโคตินซึ่งเสพติดและไม่ได้ปลอดภัยโดยสิ้นเชิง แต่นิโคตินก็ไม่ได้เป็นสาเหตุ หลักที่ก่อให้เกิดโรคร้ายแรงจากการสูบบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า จึงถูกจัดให้เป็น ‘ทางเลือก’ ของผู้ที่ต้องการจะลด หรือเลิกสูบบุหรี่มวน
ทั้งนี้จากการรวบรวมข้อมูลของ Rocket Media Lab อ้างอิงจากข้อมูลของ ศูนย์ธรรมาภิบาลนานาชาติในการควบคุมยาสูบ (Global Centre for Good Governance in Tobacco Control หรือ GGTC) พบว่า มีประเทศที่อนุญาติให้ขายบุหรี่ไฟฟ้าได้ภายใต้การควบคุมอยู่ 73 ประเทศ มี 3 ประเทศที่อนุญาติให้ขายได้เฉพาะบุหรี่ไฟฟ้าที่ไม่มีนิโคติน และมี 3 ประเทศที่สั่งห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้า
จากการศึกษาของคณะอนุกรรมาธิการทั้งข้อมูลที่ได้รับจากการประชุมและข้อมูลจากรายงานทางวิชาการ บทความทั้งในและต่างประเทศ พบว่าประเทศที่นวัตกรรมยาสูบรูปแบบใหม่เหล่านี้ ถูกควบคุมและเป็นสินค้าถูกกฎหมาย สามารถช่วยลดอัตราการสูบบุหรี่ของประชาชนได้อย่างมีนัยสำคัญ เช่น ประเทศอังกฤษที่อัตราการสูบบุหรี่ลดลงต่ำสุดในประวัติศาสตร์คือจากปี 2556 ที่ร้อยละ 18.4 ลดลงจนเหลืออยู่เพียงร้อยละ 13.3 ในปี 2564 ซึ่งเป็นผลมาจากการผลักดันนโยบายสนับสนุนการใช้ บุหรี่ไฟฟ้าเพื่อเลิกบุหรี่ หรือประเทศญี่ปุ่นที่อัตราการสูบบุหรี่อยู่ที่ร้อยละ 19.3 ในปี 2556 ลดลงอยู่ที่ ร้อยละ 13.1 ในปี 2562เป็นต้น
สาเหตุที่ประเทศพัฒนาแล้วเลือกที่จะให้ บุหรี่ไฟฟ้า ถูกกฎหมายขายได้ภายใต้การควบคุม และให้ประชาชนเลือกบริโภคแทนบุหรี่มวนนั้น ในรายงานของคณะอนุกรรมาธิการได้รวบรวมเหตุผลไว้ดังนี้
1.ให้สารพิษกับร่างกายน้อยกว่าบุหรี่มวน
2.ละอองบุหรี่ไฟฟ้ามีปริมาณสารพิษน้อยกว่าควันบุหรี่มวน
ในรายงานของคณะอนุกรรมมาธิการได้อ้างอิงถึงงานวิจัยต่างประเทศหลายชิ้น ซึ่งให้ข้อมูลว่า
3.มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งน้อยกว่าเพราะไม่มีการเผาไหม้
อย่างไรก็ตาม ทุกงานวิจัยยังไม่สามารถบ่งชี้ถึงผลกระทบในระยะยาวได้ เนื่องจากนวัตกรรมบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่งเกิดขึ้นมาประมาณ 10 ปี เท่านั้น แต่บ่งชี้ได้ชัดว่าในระยะสั้น การใช้บุหรี่ไฟฟ้ามีความเสี่ยงน้อยกว่าบุหรี่มวนที่มีการเผาไหม้
ความเห็นของ นพ.เอกภพ เพียรวิเศษ ในฐานะคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข และรองประธานคณะอนุกรรมมาธิการ พิจารณาศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อระบบสุขภาพ และติดตามการบังคับใช้กฎหมายด้านการสาธารณสุข ซึ่งเคยให้สัมภาษณ์กับ วอยซ์ ระบุว่า
ในปัจจุบันแม้จะมีการประกาศแบนบุหรี่ไฟฟ้าอยู่ แต่ในทางปฏิบัติไม่สามารถทำได้จริง เพราะยังเห็นมีการใช้บุหรี่ไฟฟ้ากันทั่วไป ซึ่งเรื่องนี้ทางคณะกรรมการควบคุมยาสูบอาจจะบอกว่าเป็นเพราะเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไม่บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง แต่เมื่อมาดูข้อกฎหมายแล้วก็ไม่ได้ให้อำนาจกับตำรวจ หรือศุลกากรในการเข้าจับกุมผู้สูบ นั่นหมายความว่าการแบบนี้คือการ แบนทิพย์ หรือการแบนที่ไม่มีอยู่จริง
หากเรายอมรับในทางหลักวิชาการ และย้อนกลับมาดูกฎหมายของประเทศเวลานี้แม้จะมีการใช้บุหรี่ไฟฟ้ากันอย่างทั่วไป แต่ยังไม่มีการออกกฎหมายมาควบคุมจัดการ สถานะการณ์เช่นนี้จะยิ่งทำให้ผู้บริโภคเสียผลประโยชน์ แต่ถ้ามีการนำบุหรี่ขึ้นมาบนดิน ทำให้ถูกกฎหมายเหมือนบุหรี่มวน ก็จะทำให้ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครอง เพราะจะมีขั้นตอนของการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ มีการรับรองมาตรา และสามารถควบคุมการซื้อขายในกลุ่มเยาวชนอายุไม่ถึง 20 ปี รวมทั้งกำหนดโทษสำหรับการซื้อขายโฆษณาออนไลน์ได้
ผลการศึกษาของคณะอนุกรรมมาธิการซึ่งได้เผยแพร่นี้ ระบุว่า คณะอนุกรรมาธิการพบว่าหลังจากการกำหนดให้ผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้า ต้องห้ามมานานกว่า 8 ปี โดยยังไม่มีการศึกษาและประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย กลับสร้างปัญหาอัน ไม่พึงประสงค์มากมาย อาทิ
ความสับสนในตัวบทกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าที่ไม่ได้เป็น ผู้ขายหรือผู้นำเข้า มีการร้องเรียนว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐที่อาศัยช่องว่างและการตีความและความไม่รู้เท่าทันในข้อกฎหมายของพี่น้องประชาชน ในการข่มขู่ รีดไถ ผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า รวมถึงการปฏิบัติราวกับเป็นนักโทษคดีร้ายแรง
โดยในระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมา สื่อหลักและสื่อออนไลน์ต่างก็ได้ให้ความสนใจกับ ประเด็นการเป็นผู้ใช้และครอบครองบุหรี่ไฟฟ้า ว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายหรือไม่ ซึ่งคณะอนุกรรมาธิการ ได้รับการยืนยันจากเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบที่เข้ามาชี้แจงสรุปได้ว่าสำหรับผู้ใช้นั้นไม่ได้ กระทำความผิดตามกฎหมายใดๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งในประเด็นนี้คณะอนุกรรมาธิการได้เสนอต่อ คณะกรรมาธิการการสาธารณสุขและมีหนังสือข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะไปยังสำนักงานตำรวจ แห่งชาติเพื่อให้ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างถูกต้องชัดเจนและเป็นไปในแนวทางเดียวกันในภาพรวมของทั้งประเทศแล้ว
การต่อต้านหรือการแบนบุหรี่ไฟฟ้าให้เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายก่อให้เกิดธุรกิจใต้ดิน ส่งผลให้เกิดการทุจริตคอรัปชั่น และไม่เป็นสากลเมื่อเปรียบเทียบกับแนวทางการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบใหม่ๆ เหล่านี้ในต่างประเทศ กระทบต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวและการดึงดูดนักท่องเที่ยว ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย ดังปรากฏเป็นข่าวเมื่อไม่นานมานี้กรณีดาราสาว ชาวไต้หวันถูกจับกุมและเกิดการทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งนี้รัฐบาลยังเสียโอกาสในการจัดเก็บรายได้เข้ารัฐ ดังที่นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดของบุหรี่ไฟฟ้าน่าจะสูงกว่า 6,000 ล้านบาท ต่อปี ซึ่งอันที่จริงแล้ว หากรัฐสามารถเก็บภาษีสรรพสามิตบุหรี่ไฟฟ้าเพื่อนำรายได้ไปพัฒนาประเทศ ก็น่าจะมีความเป็นไปได้ว่ารัฐสามารถหารายได้เข้ารัฐหลายพันล้านบาท
อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่ : https://www.parliament.go.th/ewtcommittee/ewt/25_publichealth/ewt_dl_link.php?nid=399&filename=129&fbclid=IwAR3ghI1fWaCjtZoyM2znRMMU8SHzuHR12Rjk_HieCKWMlF6QoeVLT2yF8_Q