ไม่พบผลการค้นหา
มติสภาฯ 368 เสียงพร้อมใจโหวตรับหลักการร่าง พ.ร.บ.ป้องกันซ้อมทรมาน-อุ้มหายในวาระแรก ตั้ง 25 กมธ.ร่วมแปรญัตติ 'บก.ลายจุด-สมชาย-เพชรดาว-อังคณา' ร่วมนั่ง สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.กำหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันปราบปรามการทรมานฯ โทษจำคุก 30 ปีหรือตลอดชีวิตหากเจ้าหน้าที่รัฐทรมานให้เกิดการตาย

เวลา 13.00 น. วันที่ 16 ก.ย. 2564 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. .... เสนอโดยคณะรัฐมนตรี และอีก 3 ฉบับ ที่มีเนื้อหาคล้ายกัน ในวาระที่ 1 โดยมีมติเห็นด้วย 368 เสียง ไม่เห็นด้วย 0 งดออกเสียง 1 ไม่ลงคะแนนเสียง 1 ถือว่ารับหลักการในวาระ 1

ทั้งนี้ มีการตั้งกรรมาธิการวิสามัญจำนวน 25 คน ในส่วนของพรรคเพื่อไทย 6 คน เช่น ชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.นครพนม พรรคเพื่อไทย , นพ.ทศพร เสรีรักษ์ สมาชิกพรรคเพื่อไทย ,สมบัติ บุญงามอนงค์ ,เอกชัย ไชยนุวัติ กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ ส.ส.นราธิวาส

คณะรัฐมนตรี เช่น วิศิษฐ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ว่าที่ ร.ต.ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ เลขานุการ รมว.ยุติธรรม สุทัศน์ เงินหมื่น ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ธีระทัศน์ เตียวเจริญโสภา อดีต ส.ส.สุรินทร์ พรรคพลังประชาชน

พลังประชารัฐ 5 คน เช่น สิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม. วีระกร คําประกอบ ส.ส. ,นายกองตรี อาญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ ส.ส.นครศรีธรรมราช

พรรคภูมิใจไทย 3 คน เช่น เพชรดาว โต๊ะมีนา ส.ส.บัญชีรายชื่อ , ศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ

พรรคประชาธิปัตย์ เช่น สมชาย หอมละออ อดีตประธานสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาช ศิริภา อินทวิเชียร ผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร

พรรคก้าวไกล  2 คน รังสิมันต์ โรม และ พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ พรรคเสรีรวมไทย 1 คน อังคณา นีละไพจิตร

โดยที่ประชุมกำหนดระยะเวลาแปรญัติ 7 วัน ใช้ร่างที่เสนอโดย ครม.เป็นร่างหลัก

สุณัฐชา ประชาธิปัตย์ 70-F240A19AEC01.jpegสิระ สภา -A539-DDCD2018EAEB.jpegศุภชัย สภา 1A7E4B5DAB.jpeg


สภา

สำหรับ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ที่เสนอ โดย ครม. มี 5 หมวด 34 มาตรา โดยกำหนดฐานความผิดการกระทำทรมานและกระทำให้บุคคลสูญหาย เช่น ห้ามการกระทำการทรมานและทำให้บุคคลสูญหายทุกสถานการณ์ , ห้ามผลักดันบุคคลกลับไปเผชิญอันตราย รวมทั้งกำหนดให้สืบสวนจนกว่าจะพบบุคคลสูญหายหรือเชื่อว่าเสียชีวิต

จัดตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ซึ่งมี รมว.ยุติธรรม เป็นประธาน มีอำนาจหน้าที่ในการวางนโยบายและแผนในการป้องกันปราบปรามการกระทำให้บุคคลสูญหาย , กำหนดให้ทุกหน่วยงานที่มีการจำกัดเสรีภาพบุคคล ต้องจัดทำบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถูกจำกัดเสรีภาพ กำหนดหลักเกณฑ์เปิดเผยเกี่ยวกับผู้ถูกจำกัดเสรีภาพ พร้อมกำหนดให้มีมาตรการระงับการทรมานและมีการเยียวยาเบื้องต้น

ร่างกฎหมายนี้ ยังกำหนดให้คดีเหล่านี้เป็นคดีพิเศษ และให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ มีอำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนเป็นหลัก รวมถึงศาลอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบ เป็นศาลที่มีเขตอำนาจดังกล่าว , วางบทกำหนดโทษ และระวางโทษความผิดฐานกระทำทรมานและทำให้บุคคลสูญหาย รวมทั้งกำหนดโทษแก่ผู้บังคับบัญชาที่รับทราบการกระทำความผิดของผู้ใต้บังคับบัญชา และไม่ดำเนินการป้องกันหรือระงับการทำความผิดนั้น ฯลฯ

สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว มาตรา 5 ระบุไว้ชัดว่า ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐทำให้ผู้อื่นเกิดความเจ็บปวด ทุกข์ทรมาน ทั้งทางร่างกายและจิตใจ เพื่อ ให้มีการรับสารภาพ หรือให้ได้ข้อมูล หรือเพื่อข่มขู่ รวมถึงการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ถือว่าเป็นการกระทำความผิดฐานกระทำทรมาน มีโทษสูงสุดจำคุก 25 ปี ปรับ 5 แสนบาท ถ้าถึงขั้นเสียชีวิตอย่างกรณีของ โทษสูงสุดจำคุก 30 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต ปรับ 1 ล้านบาท

เช่นเดียวกับกรณีบังคับสูญหายในมาตรา 6 ระบุว่า ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐ มีการจับ,ขัง, ลักพาตัว โดยปกปิดชะตากรรม ปกปิดสถานที่ ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดฐานกระทำให้บุคคลสูญหาย โทษก็จะหนักเท่ากัน คือ จำคุก 25 ปี ปรับ 5 แสนบาท ถ้าถึงขั้นเสียชีวิต ทษสูงสุด จำคุก 30ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต ปรับ 1 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม การมีกฎหมายฉบับนี้ จะทำให้ประเทศไทย มีกระบวนการยุติธรรมที่สอดคล้องกับหลักการสากลมากขึ้น เพราะไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ลงนามในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทรมานไว้ตั้งแต่ปี 2555

ข่าวที่เกี่ยวข้อง