ไม่พบผลการค้นหา
แบงก์ชาติ แนะวิธีแก้ปัญหาหนี้บัตรเครดิต แบ่งเบาภาระรายจ่าย ลดอัตราค่าผ่อน-ดอกเบี้ย ผ่านโปรแกรม "เปลี่ยนหนี้บัตรเครดิต เป็นสินเชื่อผ่อนรายเดือน" เชิญชวนลูกหนี้บัตรติดต่อธนาคารรับสิทธิภายใน 31 ธ.ค.นี้

ธนาคารแห่งประเทศไทย - Bank of Thailand แนะนำวิธีแก้ปัญหาหนี้บัตรเครดิตช่วงเศรษฐกิจฝืดเคือง ผ่านโปรแกรม "เปลี่ยนหนี้บัตรเครดิต เป็นสินเชื่อผ่อนรายเดือน" เพื่อจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำลง ใช้วงเงินคงเหลือในบัตรได้ และที่สำคัญยังไม่เสียประวัติในเครดิตบูโร 

โดยแนะนำให้ผู้ต้องการใช้สิทธิ และยังไม่เป็น NPL (Non-Performing Loan) หรือ หนี้เสีย ซึ่งหมายถึงสินเชื่อค้างชำระมากกว่า 3 เดือนติดต่อกัน ติดต่อธนาคารผู้ออกบัตรเครดิตขอรับสิทธิได้ ก่อนวันที่ 31 ธ.ค. 2563

https://scontent.fbkk8-4.fna.fbcdn.net/v/t1.0-0/p640x640/119056296_1238601996489225_5781430645907513075_o.jpg?_nc_cat=100&_nc_sid=8024bb&_nc_ohc=Nq6o75GsRjEAX8PwdMp&_nc_ht=scontent.fbkk8-4.fna&tp=6&oh=ad5a3e4e0a8807d24a3f7ce127c8281d&oe=5F83503E

ข้อดีของการเปลี่ยนเป็นสินเชื่อผ่อนรายเดือน

  • ผ่อนต่อเดือนน้อยกว่า และเท่ากันทุกงวด
  • ระยะเวลาการผ่อนสั้นกว่า
  • ดอกเบี้ยต่ำกว่าจากเดิม 16% ต่อปี เป็น 12% ต่อปี
  • ใช้วงเงินที่เหลือในบัตรเครดิตได้
  • ไม่เสียประวัติเครดิตบูโร

ตัวอย่างการผ่อนชำระเดือน กรณียอดหนี้ 1 แสนบาท มีดังนี้

  • เงื่อนไขการผ่อน : ผ่อนเท่ากันทุกงวด
  • ค่าธรรมเนียมจ่ายโปะ : ไม่มี
  • เงินที่จ่ายรายเดือน : 3,000 บาท
  • ระยะเวลาผ่อน : 40 งวด
  • อัตราดอกเบี้ย : 12% ต่อปี
  • ดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย : 21,487 บาท
  • วงเงินบัตรเครดิต : ขอคงวงเงินที่เหลือในบัตรได้
  • ประวัติในเครดิตบูโร : ลูกค้าปกติ

สำหรับผู้ที่เป็นหนี้เสีย NPL ธปท.แนะนำให้สมัคร คลินิกแก้หนี้ โทร 02 610 2266 โดยผู้ที่ผ่านเกณฑ์จะได้รับดอกเบี้ยต่ำเพียงร้อยละ 4-7 ต่อปี ระยะเวลาการผ่อนนานสูงสุดถึง 10 ปี

อย่างไรก็ตาม ธปท.ยืนยันว่า ที่ผ่านมา นับตั้งแต่มีมาตรกรช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและลูกหนี้ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ด้วยการเลื่อนพักชำระหนี้ ขยายเวลาชำระหนี้ ลดอัตราดอกเบี้ย รวมถึงปรับปรุงโครงสร้างหนี้

จาตุรงค์ จันทรังษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 1 ธปท. กล่าวว่า จากข้อข้อมูล ณ สิ้นเดือน ก.ค. 2563 พบว่า มีลูกหนี้ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินทั้งสิ้น 7.2 ล้านล้านบาท คิดเป็น 12.5 ล้านบัญชี โดยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินครอบคลุมทั้งการเลื่อนพักชำระหนี้ ลดภาระผ่อนชำระต่อเดือนด้วยการขยายเวลาชำระหนี้ตามสัญญา การลดอัตราดอกเบี้ย รวมถึงปรับปรุงโครงสร้างหนี้ด้วยการปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ตามสัญญาใหม่

พร้อมกันนี้ ธปท.ได้ขอให้สถาบันการเงินประเมินสถานการณ์ของลูกหนี้รายย่อยและลูกหนี้ธุรกิจที่ได้รับการช่วยเหลือทางการเงินในรูปแบบต่างๆ คาดว่า จะมีลูกหนี้ได้รับความช่วยเหลือในสัดส่วนสูง ที่ไม่จำเป็นขอความช่วยเหลือต่อไปเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาที่ได้รับ ส่วนลูกหนี้ที่เหลืออยู่ระหว่างเร่งดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ หรือผ่อนปรนชำระหนี้ต่อไป หลังจากมาตรการสิ้นสุดลง เพื่อรอให้สถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายและเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น


คนไทยแค่ 1 ใน 3 จ่ายตรงเวลา

นวอร เดชสุวรรณ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท. เคยให้สัมภาษณ์กับวอยซ์ออนไลน์ เมื่อเดือน มี.ค. 2563 ว่า จากจำนวนบัตรเครดิต ทั้งหมด 24 ล้านใบในท้องตลาด พบว่ามีประชากรไทยเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น ที่จ่ายเงินตามการเรียกเก็บตรงเวลา ขณะที่อีก 2 ใน 3 มักจ่ายแต่ขั้นต่ำร้อยละ 10 เท่านั้น ซึ่งจะเป็นบ่อเกิดของดอกเบี้ยและหนี้สิน

นวอร ยังแสดงความกังวลต่อการนำบัตรเครดิตไปกดเงินสดเป็นอย่างมาก เนื่องจากจะทำให้ผู้ถือบัตรต้องแบกค่าใช้จ่ายหลายประการ ได้แก่

1. ค่าถอนเงินร้อยละ 3 ของยอดที่ถอนออกมา

2. ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT ร้อยละ 7 ของค่าธรรมเนียมการถอนเงินยอดนั้น

3. ดอกเบี้ยที่ร้อยละ 18 ต่อปีของยอดที่เบิกเงินออกมา (ตามอัตราเก่า ซึ่งปัจจุบันได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมาแล้วเหลือ 16% ต่อปี)

โดยพฤติกรรมประเภท กดเงินสดจากบัตรเครดิตใบหนึ่ง แล้วนำไปโปะหนี้จ่ายชำระให้บัตรเครดิตอีกใบ ถือเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เนื่องจากทำให้หนี้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง: