ไม่พบผลการค้นหา
ทำความรู้จัก ‘คิวทิสดอทเอไอ’ (Cutis.AI) แอปพลิเคชันตรวจคัดกรองมะเร็งผิวหนัง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ผลงานของวิศวกรรุ่นใหม่จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปัจจุบัน แม้หลักสูตรแพทย์ผิวหนังจะกำลังได้รับความนิยมสูง ทว่าแพทย์ผิวหนังผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมะเร็งผิวหนังกลับจำนวนน้อยมากนัก และมักสังกัดเฉพาะโรงพยาบาลใหญ่ๆ ในกรุงเทพฯ ส่งผลให้ผู้ป่วยตามชนบทห่างไกลไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการตรวจรักษา และการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ทันท่วงที

ขณะเดียวกัน การวินิจฉัยมะเร็งผิวหนังแบบเดิมๆ แพทย์ต้องใช้สายตาตรวจสอบแล้ววิเคราะห์ความเสี่ยงของกระ ไฝ หรือปาน เพื่อดูแพทเทิร์น ขนาด สี รวมถึงความสมมาตร และหากเข้าข่ายก็ต้องตัดชิ้นเนื้อไปตรวจหาเซลล์มะเร็งอีกครั้ง ซึ่งวิธีการดังกล่าวต้องเสียค่าใช้จ่ายเยอะมาก

ล่าสุด ทีมวิศวกรรุ่นใหม่จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการแพทย์ ‘คิวทิสดอทเอไอ’ (Cutis.AI) เป็นแอปฯ ปัญญาประดิษฐ์ช่วยคัดกรองมะเร็งผิวหนังเบื้องต้น ตอบโจทย์บุคลากรทางการแพทย์ และช่วยให้ผู้ป่วยตามต่างจังหวัดสามารถตรวจหาความผิดปกติทางผิวหนังได้ด้วยตนเอง


Un1.jpgUn3.jpg

ปิง-ภาณุ เกตุหิรัญ นักศึกษาปริญญาโท คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้ร่วมทีมนักวิจัยแอปฯ ตรวจคัดกรองมะเร็งผิวหนัง เปิดเผยว่า ทีมวิจัยทำการศึกษาเกี่ยวกับวิศวกรรมการแพทย์ (Medical Engineering) โดยร่วมงานกับบริษัท เซอร์ทิส จำกัด (Sertis) และแพทย์หลายๆ ท่าน พัฒนาโปรเจ็กต์ดังกล่าว เนื่องจากต้องการช่วยแพทย์ตรวจวินิจฉัยมะเร็งเต้านมด้วยการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์

ทีมวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากภาพถ่ายผิวหนังมามากกว่า 13,000 ภาพ จากดาต้าเบสที่เกี่ยวกับมะเร็งผิวหนัง ร่วมด้วยข้อมูลจากโรงพยาบาลสมิติเวช ซึ่งผ่านการยื่นขอรับรองจริยธรรมการวิจัยเรียบร้อยแล้ว เพื่อนำมาให้ปัญญาประดิษฐ์เรียนรู้แพทเทิร์น ขนาด และสี

“สายตามนุษย์ปกติสามารถแยกลักษณะเด่นแค่เพียง 3-4 อย่าง ซึ่งมันไม่มากพอเท่ากับปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถมองเห็นความผิดปกติได้มากถึง 1,000 อย่าง นั่นจึงกลายเป็นจุดแข็งของปัญญาประดิษฐ์ แต่ข้อเสียของมันคือ เราจำเป็นต้องใช้ภาพจำนวนมาก เพราะยิ่งเป็นหลักหมื่นหลักแสนปัญญาประดิษฐ์ก็ยิ่งฉลาด”

หลังจากรวบรวมภาพถ่ายเสร็จเรียบร้อย ทีมวิจัยวางแผนการออกแบบอัลกอริทึ่มของปัญญาประดิษฐ์ผ่านวิธีการเรียนรู้เชิงลึก เพื่อให้แอปฯ สามารถวินิจฉัยมะเร็งผิวหนังชนิดร้ายแรงสุดคือ เมลาโนมา (Melanoma) ซึ่งถ้าเป็นแล้วอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต รวมถึงวิเคราะห์ความผิดปกติของผิวหนังอื่นๆ ได้ด้วย

สิ่งสำคัญคือ ลักษณะของเมลาโนมา เมื่อเปรียบเทียบกับกระ ไฝ หรือปาน ค่อนข้างใกล้เคียงกันมาก ทว่าปัญญาประดิษฐ์ของคิวทิสดอทเอไอ ช่วยคัดแยกได้แม่นจำถึง 70-80 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งใกล้เคียงกับการตรวจคัดกรองด้วยแพทย์เฉพาะทาง


Un2.jpg
  • กล้องเดอโมสโคป ราคาหลักร้อย คุณภาพหลักหมื่น

การวิจัยดังกล่าวใช้เวลาอยู่นานประมาณ 1.5 ปี และล่าสุดแพทย์ผิวหนังจากโรงพยาบาลศิริราช และโรงพยาบาลสมิติเวช กำลังใช้แอปฯ ตรวจคัดกรองเบื้องต้น หากพบความเสี่ยงจะส่งต่อผู้ป่วยให้กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งเป็นพิเศษ

หลักการทำงานสำคัญของแอปฯ อยู่ตรงกล้องเดอโมสโคป (Dermoscope) หรือกล้องส่องผิวหนัง ซึ่งผ่านการพัฒนาร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาพร้อมกำลังขยายประมาณ 20 เท่า และขณะที่กล้องเดอโมสโคปตามท้องตลาดขายกันอยู่ประมาณหลักหมื่นบาท แต่การวิจัยสามารถพัฒนาอุปกรณ์ได้ในราคาหลักร้อยเท่านั้น

วิธีการตรวจหามะเร็งผิวหนังต้องดาวน์โหลดแอปฯ ลงเครื่อง ก่อนติดกล้องเข้ากับสมาร์ทโฟน ตามด้วยการเปิดไฟ แล้วแนบตัวเลนส์บริเวณกระ ไฝ ปาน หรือก้อนเนื้อ โดยพยายามเล็งให้อยู่่กึ่งตรงกลางภาพ และลั่นชัตเตอร์ จากนั้นส่งรูปภาพไปให้ปัญญาประดิษฐ์ประมวลผล และมันจะแจ้งข้อมูลกลับมาแบบเรียลไทม์ (ขึ้นอยู่กับความเร็วของอินเตอร์เน็ต) โดยแอปฯ สามารถตรวจคัดกรองอัตราเสี่ยงของมะเร็งผิวหนังออกมาเป็นค่าเปอร์เซ็น

On Being
198Article
0Video
0Blog