นายแพทย์อัษฎางค์ รวยอาจิณ รองอธิบดีและโฆษกกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยเข้าสู่ช่วงฤดูหนาวแล้ว สภาพอากาศมีความหนาวเย็นมากกว่าช่วงเวลาอื่นของปี ทำให้เชื้อโรคบางชนิดสามารถมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้น แพร่กระจายได้ง่ายและเร็วกว่าในฤดูกาลอื่น กรมควบคุมโรค มีความห่วงใยสุขภาพของประชาชนในช่วงฤดูหนาว และเพื่อให้ประชาชนระมัดระวังการเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นได้ จึงออกประกาศกรมควบคุมโรค เรื่องการป้องกันโรคและภัยสุขภาพที่เกิดในช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย พ.ศ.2561 เมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งโรคและภัยสุขภาพที่มีแนวโน้มจะพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในฤดูหนาว แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
โดยโรคหัด ติดต่อจากการหายใจเอาละอองอากาศที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป ทั้งจากการไอ จาม หรือพูดคุยในระยะใกล้ชิดกับผู้ป่วย อาการป่วยจะคล้ายไข้หวัด คือมีไข้ น้ำมูกไหล ไอ บางรายมีตาแดง ถ่ายเหลว มีจุดขาวๆเล็กๆ ที่กระพุ้งแก้ม หลังมีไข้ 3–4 วัน จะเริ่มมีผื่นนูนแดงขึ้นมักเริ่มจากใบหน้า ส่วนใหญ่ผื่นจะจางหายไปเองประมาณ 2 สัปดาห์ บางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงทำให้เกิดปอดอักเสบ และสมองอักเสบได้ ทั้งนี้ โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ซึ่งมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้มากกว่าร้อยละ 95 ในเด็กแนะนำให้ฉีดสองเข็ม เข็มแรกที่อายุ 9 เดือน และเข็มที่สองตอนอายุ 2 ปีครึ่ง
ส่วนโรคถัดไป คือ โรคปอดอักเสบหรือโรคปอดบวม เกิดได้ทุกเพศทุกวัย แต่อาการรุนแรงมักพบในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน หอบหืด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคหัวใจ เป็นต้น เชื้อก่อโรคที่สำคัญได้แก่ เชื้อ Streptococcus pneumonia มักอยู่ในน้ำลายและเสมหะผู้ป่วย ติดต่อจากการไอ จาม หรือหายใจรดกัน
อาการผู้ป่วยมักมีไข้ ไอ หายใจเร็ว อาจมีอาการหอบ หายใจลำบาก เหงื่อออก หนาวสั่น บางรายซึม รู้สึกสับสน อุณหภูมิร่างกายต่ำ เด็กเล็กอาจท้องอืด อาเจียน ซึม ไม่ดูดนมหรือน้ำ ความรุนแรงจะแตกต่างกันในแต่ละราย ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อ อายุ และสุขภาพ การป้องกัน คือหลีกเลี่ยงอยู่ในสถานที่แออัด ไม่ให้เด็กเล็กและผู้ที่สุขภาพไม่แข็งแรงคลุกคลีกับผู้ป่วยปอดอักเสบหรือผู้ป่วยที่มีอาการระบบทางเดินหายใจ ล้างมือบ่อยๆด้วยน้ำ และสบู่ ดื่มน้ำมากๆ และรับประทานอาหารให้ค���บ 5 หมู่
โรคไข้หวัดใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัส อินฟลูเอนซา เป็นโรคที่ป่วยได้ง่าย โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กเล็กจนถึงเด็กโต ผู้เสียชีวิตมักเป็นผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไปและมีโรคประจำตัว โดยพบผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อนในสถานที่แออัด ผู้คนอยู่รวมกันอย่างหนาแน่น เช่น เรือนจำ และสถานศึกษา เป็นต้น โรคนี้ติดต่อจากการหายใจหรือสัมผัสละอองฝอยจากการไอ จามของผู้ป่วย หรือสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย อาการของผู้ป่วยคือมีไข้ ไอ มีน้ำมูก ปวดเมื่อยตามตัว บางรายอาจมีอาการรุนแรงเกิดภาวะปอดบวมหรือสมองอักเสบได้ ในการป้องกันโรค คือดูแลสุขภาพให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ที่มีอาการคล้ายไข้หวัด หน่วยงานต่างๆ ควรมีมาตรการเฝ้าระวังและคัดกรองผู้ป่วย หากพบผู้ป่วยแนะนำให้หยุดเรียนหรือหยุดงาน
และโรคสุดท้าย คือ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ในช่วงฤดูหนาวนี้เชื้อที่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน เช่น เชื้อไวรัส โรต้าไวรัส โนโรไวรัส ซาโปรไวรัส อะดีโนไวรัส แอสโปรไวรัส เป็นต้น โดยเฉพาะโรตาไวรัส (Rota virus) เป็นเชื้อที่ทำให้เกิดการระบาดเป็นกลุ่มก้อนและทำให้เด็กเสียชีวิตได้ มักพบบ่อยในกลุ่มเด็กเล็กที่มีอายุ 1-3 ปี ติดต่อโดยการรับประทานอาหารและน้ำที่มีเชื้อดังกล่าว ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ อาเจียน อุจจาระร่วงอย่างรุนแรงทำให้เสียน้ำมาก บางรายรักษาไม่ทันอาจช็อกและเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็กที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ส่วนการรักษาคือการให้ยาตามอาการ เช่น ให้ยาแก้อาเจียน ให้น้ำเกลือแร่ทดแทนการสูญเสียเกลือแร่จากการถ่ายอุจจาระและอาเจียน วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรค คือดูแลสุขอนามัยอาหารและน้ำ รับประทานอาหารที่สุกใหม่ ๆ ถ่ายอุจจาระลงในภาชนะที่รองรับมิดชิด หมั่นล้างมือ และทำความสะอาดของเล่นเด็กบ่อยๆ หลีกเลี่ยงพาเด็กไปสถานที่แออัด
นอกจากนี้ ยังมีภัยสุขภาพที่ควรระมัดระวังในช่วงฤดูหนาว คือ การเสียชีวิตที่เกี่ยวเนื่องจากภาวะอากาศหนาว มักเกิดขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุ คนเร่ร่อน ผู้มีโรคประจำตัว และผู้ดื่มสุราเพื่อคลายความหนาว ส่วนใหญ่มักเสียชีวิตในบ้านหรือในที่สาธารณะที่ไม่มีห้องหรือผนังกั้นลมหนาว สวมเครื่องนุ่งห่มไม่เพียงพอ คำแนะนำในการป้องกันตนเองจากภัยหนาว คือ
การสูดดมก๊าซพิษและขาดอากาศหายใจจากเครื่องทำน้ำอุ่นระบบแก๊ส โดยในช่วงอากาศหนาวเย็น ประชาชนมักเดินทางไปเที่ยวตามยอดดอย ภูเขา และพักผ่อนตามรีสอร์ท บ้านพักต่าง ๆ ซึ่งอาจมีการติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่นระบบแก๊สแทนระบบไฟฟ้า นักท่องเที่ยวจึงต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจได้รับอันตรายจากการใช้เครื่องทำน้ำอุ่นระบบแก๊สระหว่างอาบน้ำได้ เนื่องจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ หากสูดดมเข้าไปในปริมาณมากและเป็นเวลานาน มีอาการวิงเวียน ปวดศีรษะ มึนงง หน้ามืด หายใจลำบาก คลื่นไส้ อาเจียน ซึม หมดสติ และอาจเสียชีวิตได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยง ได้แก่ เด็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น คำแนะนำในการปฏิบัติ คือ มีการตรวจสอบเครื่องทำน้ำอุ่นระบบแก๊สให้ได้มาตรฐานและปลอดภัย ติดตั้งพัดลมดูดอากาศ ติดป้ายเตือน และบอกวิธีใช้งานด้วย ไม่ควรอาบน้ำนาน ควรเว้นระยะเวลา 15-20 นาที เพื่อให้อากาศระบายออก หากมีอาการผิดปกติขณะอาบน้ำหรือได้กลิ่นแก๊ส ควรออกจากห้องน้ำทันที
ภัยสุขภาพสุดท้ายที่ควรระมัดระวัง คือ การเกิดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงอากาศหนาวและหมอกจัด เพราะ การเดินทางช่วงนี้อาจเจอหมอกลงจัดและทัศนะวิสัยไม่ดี เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนได้ง่าย คำแนะนำสำหรับผู้ใช้รถใช้ถนนในช่วงอากาศหนาวและหมอกลงจัด มีดังนี้