ไม่พบผลการค้นหา
สิงคโปร์ได้รับการจัดอันดับจาก Save the Children ให้เป็นประเทศที่ดีที่สุดต่อการเจริญเติบโตของเด็ก ขณะที่ไทยถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 85 ตามหลังเกาหลีเหนือ และยังพบว่าเป็นประเทศที่ยังมีการแบ่งแยกทางเพศอย่างชัดเจนประเทศหนึ่งในโลกอีกด้วย

รายงานคุณภาพชีวิตเด็กประจำปี 2018 ขององค์กรเพื่อเด็กระหว่างประเทศ Save the Children ระบุว่า สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดต่อการเจริญเติบโตของเด็ก จากการประเมิน 175 ประเทศทั่วโลก ตามมาด้วย สโลวีเนีย นอร์เวย์ สวีเดน และฟินแลนด์

ขณะที่ไทยได้รับการจัดอันดับอยู่ที่อันดับที่ 85 ซึ่งต่ำกว่าเกาหลีเหนือที่อยู่ในลำดับที่ 70 และต่ำกว่าดินแดนที่ยังมีการสู้รบอย่างเซอร์เบียและปาเลสไตน์ ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 42 และ 84 ทั้งนี้ สำหรับประเทศไทย ในรายงานยังมีการระบุว่าเป็นประเทศที่มีการแบ่งแยกเด็กผู้ชาย-ผู้หญิงอย่างชัดเจน

ฮัดซัน นูร์ ซาดี ผู้อำนวยการ Save the Children ประจำภูมิภาคเอเชียกล่าวว่า "สิงคโปร์เป็นประเทศที่เด็กสามารถเจริญเติบโตและมีสุขภาพที่ดีที่สุด ด้วยการศึกษาที่มีคุณภาพสูง และระบบการบริการด้านสาธารณสุขที่ดี นอกจากนี้ยังเป็นประเทศที่มีความปลอดภัยสูงที่สุดประเทศหนึ่งในโลก ขณะที่อีกหลายประเทศทั่วโลก เด็กหลายกลุ่มยังมีปัญหา ทั้งเรื่องการแต่งงานในวัยเด็ก การเข้าถึงการศึกษาและภัยสงคราม แต่ไม่ใช่สำหรับสิงคโปร์ หรือถ้ามีก็เกิดขึ้นในอัตราที่ต่่ำมาก"

ผลการสำรวจขององค์กร Save the Children มีเกณฑ์การชี้วัด 8 อย่างได้แก่ 1.อัตราการเสียชีวิตของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี 2. อัตราการเจริญเติบโตของเด็ก 3. การได้รับการศึกษาและการออกจากโรงเรียนของเด็ก 4. การใช้แรงงานเด็กและเยาวชน 5. อัตราการแต่งงานในเด็ก 6. อัตราการตั้งครรภ์แม่วัยรุ่น 7. ประชากรเด็กที่พลัดถิ่นเนื่องจากจากความขัดแย้ง 8. อัตราการเกิดอาชญากรรมในเด็ก

รายงานระบุว่า ประเทศในแถบเอเชียต่างมีปัญหาในเรื่องของการใช้แรงงานเด็กและอัตราการแต่งงานในเด็กสูงที่สุด โดยปีที่ผ่านมาอัฟกานิสถานและฟิลิปปินส์์ต่างเผชิญกับปัญหาความรุนแแรงในเด็ก ความยากจนและการขาดแคลนสารอาหารในเด็กเพิ่มขึ้นมากที่สุด

000_15J59W.jpg

เด็กผู้หญิงในอัฟกานิสถาน

ขณะที่ประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ รัสเซีย และจีน แม้จะเป็นประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูง เทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว แต่ในเรื่องการช่วยเหลือประชากรเด็กและการดูแลเอาใจใส่ประชากรวัยเด็ก ยังไม่มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับประเทศในยุโรปตะวันตก

นอกจากนี้ รายงานยังกล่าวว่า ประชากรเด็กทั่วโลกกว่าครึ่งหนึ่ง หรือมากกว่า 1,200 ล้านคน ต่างอาศัยอยู่ในประเทศที่มีมีสภาวะความขัดแย้ง การเผชิญหน้ากับความยากจน หรือการถูกคุกคามและทารุณทางเพศ และมีเด็กมากกว่า 77 เปอร์เซ็นต์ทั่วโลกที่ได้รับผลกระทบจากการถูกใช้แรงงานเด็ก 

ที่มา Straitstimes

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: