ไม่พบผลการค้นหา
‘ชัชชาติ’ จับมือเครือข่ายอาสาแถลงเปิด 200 แนวนโยบาย มุ่งพัฒนา 9 มิติ ของกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน

วันที่ 28 ก.พ. 2565 ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่ากรุงเทพมหานครฯ ในนามอิสระ และ ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ พร้อมด้วยทีมงานเพื่อนชัชชาติ แถลงข่าวเปิดตัวนโยบาย "ชัชชาติ อาสา ผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ : 200 นโยบาย กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน" ซึ่งมีการนำชมนิทรรศการนโยบายพัฒนาเมืองน่าอยู่ทั้ง 9 มิติ แนะนำเครือข่ายอาสาเบื้องหลังนโยบาย ผลิตภัณฑ์และอาหาร รวมถึงการแสดงจากศิลปินในชุมชนต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ 

โดยนโยบายอยู่ภายใต้แนวคิดหลัก "กรุงเทพฯ 9 ดี: นโยบาย 9 มิติ กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน" จากการศึกษาดัชนีชี้วัดเมืองน่าอยู่ (The Global Liveablility Index) ของ Economist Intelligent Unit (EIU) และนำมาครอบคลุมด้วยบริบทของกรุงเทพฯ เพื่อพัฒนาคุณภาพเมืองที่ดีใน 9 ด้าน ได้แก่ 

1.ปลอดภัยดี สร้างแผนที่จุดเสี่ยงด้านอาชญากรรม จราจร และสาธารณภัย รู้ก่อน ป้องกันได้ ไหวตัวทัน 

2) เดินทางดี  พัฒนารถสาธารณะทั้งระบบ เพื่อรถสายหลักและรอง (trunk and feeder) ราคาถูกและราคาเดียว หารือเรื่องรถไฟฟ้าสายสีเขียวกับ รฟม. เพื่อลดค่าแรกเข้า ลด 

3) สุขภาพดี เชื่อมโยงประวัติคนไข้ภายในสถานพยาบาลในกรุงเทพฯ เพื่อส่งต่อและดูแลรักษาได้ทั่วกรุงเทพฯ เพิ่มการรักษา เพิ่มเวลา เพิ่มทรัพยากรในศูนย์บริการสาธารณสุข (ศบส.) 

4) สร้างสรรค์ดี เปลี่ยนศาลาว่าการ กทม. เดิม เป็นพิพิธภัณฑ์เมืองและพื้นที่สาธารณะ เปิดพื้นที่ กทม. ให้แสดงสตรีทโชว์ ห้องสมุด กทม. สู่ห้องสมุดดิจิทัล ยืมหนังสือออนไลน์ อ่าน e-book ได้จากทุกที่ 

5) สิ่งแวดล้อมดี  เพิ่มพื้นที่สีเขียวและลานกีฬาให้เดินถึงภายใน 15 นาที จัดหารุกขกรมืออาชีพดูแลต้นไม้ประจำเขต ปลูกต้นไม้ล้านต้น เสริมร่มเงาเพิ่มพื้นที่สีเขียว สร้างกำแพงกรองฝุ่น 

6) โครงสร้างดี วางแผนต้นแบบเมืองใหม่ (ชานเมือง) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน กระจายแหล่งงาน ลดการกระจุกตัวในเขตเมือง ลอกท่อ ลองคูคลอง ติดตั้งเครื่องสูบน้ำประสิทธิภาพสูง ลดจุดเสี่ยงน้ำท่วม พร้อมหาพื้นที่รับน้ำธรรมชาติ 

7) บริหารจัดการดี พัฒนาระบบการขออนุญาตจาก กทม. ให้ประชาชนตรวจสอบและติดตามได้ จัดสรรงบประมาณบริหารกรุงเทพฯ ด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน เปิดให้ประชาชนร่วมประเมิน ผอ.เขตและผู้ว่าฯ 

8) เรียนดี 

เปิดโรงเรียน กทม. เล่นหรือเรียนได้ในวันหยุด ขยายเวลาโรงเรียนให้สอดคล้องกับเวลางานของผู้ปกครอง มีครูเฝ้า มีกิจกรรมสร้างสรรค์จากวิทยากรทั้งในและนอก 

9) เศรษฐกิจดี 

ปั้นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทั่วกรุงเทพฯ 12 เทศกาลตลอดปี ยกระดับผู้ค้าแผงลอยให้มีความยั่งยืน เพิ่มโอกาสเข้าถึงแหล่งเงิน ให้ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยี และจัดหาสถานที่ค้าขาย 

ชัชชาติ -AF43-F66F96735888.jpegชัชชาติ -43E8-9ADD-E455BD506C52.jpeg


ชัชชาติ -858A-13ACEF8D356F.jpegชัชชาติ -1934C7DF9CB5.jpeg

ชี้เส้นเลือดฝอยกรุงเทพฯ อ่อนแอ ทำทางเดินไม่ปลอดภัย

ทั้งนี้ ชัชชาติ ระบุว่า หลายคนอาจจะมองว่า 200 นโยบายนั้นเยอะ แต่ตนมองว่าอาจจะยังน้อยไป เพราะกรุงเทพฯ เป็นเมืองใหญ่ ผู้อาศัยเยอะ และมีความหลากหลายทางชีวภาพ ปัญหาใหญ่ของกรุงเทพฯ อยู่ที่ระบบเส้นเลือดฝอยเยอะ หมายถึงสิ่งที่อยู่รอบพื้นที่บ้านเรา แต่เราลงทุนในเส้นเลือดใหญ่อย่างเมกะโปรเจกต์ มากกว่ามาใส่ใจในเส้นเลือดฝอย เมื่อเส้นเลือดฝอยอ่อนแอ นำมาสู่ทางเดินที่ไม่ปลอดภัย หรือคลองข้างบ้านที่ไม่สะอาด นโยบายของเราเชื่อว่า ต้องดูแลเส้นเลือดฝอย เพราะความงดงามของกรุงเทพฯ อยู่ในรายละเอียด 

"ทุกที่ที่เราไปในกรุงเทพฯ มีศักยภาพ เราสามารถเจียระไนให้มันงดงามได้ แนวคิดเราคือนโยบายเราต้องเริ่มวันนี้ หลายๆอย่างไม่ใช่เพื่อตัวเราเองแต่เพื่อลูกหลานเราในอีก 20 ปีข้างหน้า" 

โดยนโยบายอยู่ภายใต้แนวคิดหลัก "กรุงเทพฯ 9 ดี: นโยบาย 9 มิติ กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน" จากการศึกษาดัชนีชี้วัดเมืองน่าอยู่ (The Global Liveablility Index) ของ Economist Intelligent Unit (EIU) ซึ่งมีทั้ง 30 ตัวชี้วัด นำมาลดทอนเป็นการพัฒนาคุณภาพเมืองที่ดีใน 9 ด้าน ได้แก่ 

1.) ปลอดภัยดี 2) เดินทางดี 3) สุขภาพดี 4) สร้างสรรค์ดี 5) สิ่งแวดล้อมดี 6) โครงสร้างดี 7) บริหารจัดการดี 8) เรียนดี และ 9) เศรษฐกิจดี 

ชัชชาติ -FB0D5D8CB0DE.jpeg

ขณะที่ ดร.เกษรา เผยว่า ในจำนวนประชากร 5 ล้านคนของกรุงเทพฯ มีผู้หญิงมากถึง 53% ขณะที่มีผู้ชาย 47% แต่คำถามสำคัญในขณะนี้คือ กรุงเทพฯ น่าอยู่สำหรับผู้หญิงแล้วหรือยัง โดยจุดอ่อนที่ทำให้ผู้หญิงในกรุงเทพฯ มีความเปราะบาง นั่นคือผู้หญิงรู้สึกขาดความปลอดภัยและความมั่นคง จึงได้เสนอแนวทางพัฒนานโยบายจากผู้หญิงเป็นตัวตั้งต้น ซึ่งในที่สุดแล้วจะเป็นนโยบายที่สอดรับกับวิถีชีวิตของคนกรุงเทพฯ ทุกกลุ่ม เช่น จัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กเพื่อลดภาระแม่ ทำแผนที่ความกลัวของผู้หญิงเพื่อปรับปรุงความปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะ อบรมอาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) ดูแลคนสูงอายุ บริการรถเมล์ชานต่ำลดอุปสรรคคนพิการ 

นอกจากนี้ ประชาชนสามารถติดตามรายละเอียดนโยบายอื่นๆ ได้ทาง www.chadchart.com โดยที่ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นได้ว่าชอบนโยบายนี้หรือไม่ รวมทั้งเสนอได้ว่าควรปรับปรุงแก้ไขหรืออย่างไร เพื่อประชาชนเป็นผู้มีส่วนร่วมในการออกแบบนโยบาย