ไม่พบผลการค้นหา
6 ธ.ค. ที่จะถึงนี้ พรรคเพื่อไทยมีคิวร้อน คิกออฟประชุมใหญ่ประจำปีของพรรค นอกจากมีการเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่แล้ว เตรียมคลอดนโยบายล็อตใหม่ เดินหน้าเข้าสู่การเลือกตั้ง ในปี 2566

นโยบายล็อตใหม่ที่พรรคเพื่อไทยเตรียมคลอดออกมาอยู่บนพื้นฐานที่พรรคเพื่อไทยทำได้และทำสำเร็จมาแล้ว ตั้งแต่ยุคไทยรักไทย พลังประชาชน จนถึงพรรคเพื่อไทย 

ก่อนหน้านี้ พรรคเพื่อไทย เคยเปิดนโยบายใหญ่ๆ มาแล้วในอีเวนต์ใหญ่ “ครอบครัวเพื่อไทย” ที่ จ.เชียงใหม่ ภายใต้ธีม “สะบัดชัย เพื่อไทยมาเหนือ” 

แพทองธาร เพื่อไทย เชียงใหม่ ชลน่าน  E-6C9E39DB6552.jpeg

นโยบายวันนั้น มี 2 แคมเปญใหญ่ที่ติดหูในเวลาต่อมาคือ “นโยบายเกษตรแบบตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” และ “1 ครอบครัว 1 Soft Power” เมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2565 

ต่อมา 9 ต.ค. 2565 พรรคเพื่อไทย ได้คลอดนโยบายเศรษฐกิจ เป็นล็อตที่ 2 พร้อมแผนบันไดสี่ขั้น นำไปสู่การแลนด์สไลด์ ภายใต้ ธีม “เพื่อไทย เพื่อรายได้ใหม่ของประชาชน”

บันได 4 ขั้น ประกอบด้วย บันไดขั้นที่ 1.เพื่อศักยภาพใหม่ของประเทศและประชาชนไทย

บันไดขั้นที่ 2 เพื่อรายได้ใหม่ แก้หนี้สินด้วยการเพิ่มพูนรายได้ทวีคูณ ให้เศรษฐกิจประเทศไทย เป็นเศรษฐกิจใหม่ที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง 

บันไดขั้นที่ 3 เพื่อสังคมใหม่ ความมั่นคงคือความปลอดภัยของทุกคนอย่างเท่าเทียม

และบันไดขั้นที่ 4 เพื่อการเมืองใหม่ ที่หลักนิติรัฐ นิติธรรมเข้มแข็ง รัฐธรรมนูญต้องมีที่มาจากประชาชน วุฒิสภาต้องไม่มีอำนาจในการเลือกนายกรัฐมนตรี และรัฐของราชการต้องถูกเปลี่ยนเป็นรัฐของประชาชนอย่างแท้จริง

ุจุลพันธ์ เพื่อไทย เชียงใหม่ D57-6F912402580D.jpeg

ส่วนนโยบายที่ชูในวันนั้น อาทิ ‘ผ่าตัดเกษตรกรรม’ รดน้ำที่ราก สร้างเงินจากดิน พลิกเปลี่ยนชีวิตเกษตรกรให้หายจนอย่างถาวร ใช้ความรู้สมัยใหม่เพิ่มผลผลิตจากพืชที่ปลูกอยู่แล้ว อาทิ ข้าว และยาง ผลิตพืชอาหารสัตว์ อาทิ ข้าวโพด ถั่วเหลือง เพื่อทดแทนการนำเข้า และขยายการส่งออก ด้วยโครงการโคขุนเงินล้าน สำหรับการบรรเทาทุกข์ระยะเร่งด่วน นโยบายพักหนี้เกษตรกร

นโยบาย ‘เขตธุรกิจใหม่’ (New Business Zone; NBZ)ที่ว้าวและแตกต่างกับโครงการ EEC ของรัฐบาล กำหนดให้ 4 จังหวัดเป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจใหม่ คือ เชียงใหม่ กรุงเทพฯ ขอนแก่น และหาดใหญ่ ปักหมุดให้มีกฎหมายธุรกิจใหม่ ที่จะบังคับใช้ในเขตนั้น เพื่อดึงการลงทุนจากต่างชาติเข้าแก้ปัญหาทั้งด้านใบอนุญาต แรงงาน นำเข้า ส่งออก และการธุรกรรมระหว่างประเทศ ให้สิทธิพิเศษในการลงทุน และจะกลายเป็นสวรรค์ของนักลงทุน 

นอกจากนี้จะมีการสร้างสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานใหม่ ระบบการศึกษาและการผลิตคนใหม่ และระบบธนาคารใหม่ เป็นกองหลังเพื่อผลักกองหน้าซึ่งได้แก่ภาคเอกชนให้ขับเคลื่อนได้ โดยกุญแจทั้ง 3 ดอกจะถูกสร้างขึ้นในเขตธุรกิจใหม่ และรายได้ใหม่จะถูกสร้างให้กับประชาชน

อีกทั้งยังมี โครงการ‘เงินโอน คนสร้างตัว’ (Earned Income Tax; EIT) โดยประชาชนที่เข้าโครงการจะได้รับเงินภาษีแทนการจ่ายเงินภาษี จนกระทั่งมีความมั่นคงและสร้างตัวได้ รวมถึงโปรเจกต์ด้านการศึกษา เรียนรู้มีรายได้ เรียนรู้ง่าย ตลอดชีวิต (Lifelong Learning Lifelong Earning) 

ต้องไม่ลืมว่าพรรคเพื่อไทย ที่สืบเชื้อสาย ต่อยอดทั้งความคิด และบุคลากรมาจากพรรคไทยรักไทย เป็นพรรคเดียวที่ การันตี “ความสำเร็จ” ของนโยบายที่เคยประกาศไว้กับประชาชน และมาถึงการเลือกตั้งที่จะถึงในปี 2566 นโยบายที่เคยทำมาแล้ว ยังจะทำต่อไป ตั้งเป้าพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิม

ทักษิณ ชินวัตร ไทยรักไทย Hkg316007.jpgทักษิณ ไทยรักไทย 000_Hkg149184.jpg

ย้อนดูชัดๆ กับนโยบายที่เคยทำสำเร็จในอดีต และถูกบรรจุอยู่ในนโยบาย “ผ่าตัดเกษตรกรรม” ของปัจจุบัน คือ

นโยบายยุค 'ไทยรักไทย' นโยบายพักชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย 3 ปี และการลดภาระหนี้ให้กับกลุ่มรากหญ้า ผ่านทางกลไกของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โดยให้เกษตรกรสามารถเลือกที่จะพักชำระหนี้ 3 ปี โดยไม่เสียดอกเบี้ย หรือเลือกลดภาระหนี้ โดยรัฐบาลได้เข้าไปช่วยเกษตรกรในการปรับโครงสร้างและฟื้นฟูอาชีพของตนเอง

กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ซึ่งเป็นนโยบายพรรคไทยรักไทย ยังคงมีจนถึงยุคปัจจุบัน ภายใต้คอนเซปต์เพื่อส่งเสริมกระบวนการพึ่งพาตนเองของหมู่บ้านและชุมชนเมืองในด้านการเรียนรู้ การสร้างและการพัฒนาความคิดริเริ่ม รวมถึงการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคม 

นโยบายหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์โอทอป (OTOP) ที่รัฐบาลไทยรักไทย นำมาจากต้นแบบ OVOP ของท้องถิ่นญี่ปุ่น ทว่า เมื่อนำมาปรับใช้กับบรบทเมืองไทย สามารถ สร้างงานสำหรับผู้ไม่มีงานทำ – เสริมรายได้ให้กับเกษตรกรที่ไม่ได้อยู่ในช่วงฤดูเพาะปลูก นอกจากนี้ ยังพัฒนาสินค้าสินค้าท้องถิ่น โดยรัฐบาลเข้าไปช่วยเหลือเรื่อง Know how และหาตลาดให้

ซึ่ง OTOP ในอดีต จะถูกยกระดับให้มาเป็น OFOP หรือ one family one soft power ในภาษาไทย 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ ที่ถูกผลักดันโดย “แพทองธาร ชินวัตร” ประธานที่ปรึกษาด้านการมีส่วนร่วมและนวัตกรรม ในฐานะหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย 

แพทองธาร เพื่อไทย เชียงใหม่ เผด็จการ  -DF7552D3B76C.jpeg

แน่นอนที่สุด นโยบายที่ประสบความสำเร็จที่สุด และเป็น “มรดก” จนถึงทุกวันนี้ไม่มีพรรคการเมืองไหนกล้าทำลาย หรือ เคลมเป็นผลงานของตัวเอง คือ โครงการ “30 บาทรักษาทุกโรค” เป็นนโยบายที่ปฏิวัติระบบสาธารณสุขทั้งระบบ 

ที่มีการริเริ่มนำร่อง 6 จังหวัดในวันที่ 1 เม.ย.2544 ครอบคลุมทั่วประเทศภายในเวลาไม่ถึง 1 ปี และออกเป็นกฎหมายรับรองในวันที่ 19 พ.ย. 2545 จากวันนั้นถึงวันนี้ ก็ผ่านมาร่วม 20 ปีแล้ว 

‘ผมพยายามมองให้ประเทศไทยไม่อยู่ในลักษณะที่ต่ำกว่าสาธารณสุขมูลฐาน จึงคิดในหลายๆ จุด ดังนั้นจึงอยากจะให้บริการแก่ประชาชนที่เท่าเทียม และเรื่องนี้เป็นการปฏิวัติระบบสาธารณสุขแห่งชาติครั้งยิ่งใหญ่ และเป็นประวัติศาสตร์ หากทำได้ดีหรือไม่ดี เราทั้งหมดจะอยู่ในประวัติศาสตร์’ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง