ไม่พบผลการค้นหา
เปิดรายงาน ASEAN Statistical Yearbook 2023 ดูว่าแต่ละประเทศมีภาวะประชากร แรงงาน และเศรษฐกิจอย่างไร

เนื่องในวันแรงงาน 1 พฤษภาคม ส่องประเทศอาเซียนเปรียบเทียบรายได้ประชาชาติต่อหัว และสำรวจกำลังแรงงานว่า แต่ละประเทศแรงงานอยู่ในภาคส่วนไหนกันบ้าง โดย ASEAN Statistical Yearbook 2023 ระบุ 8 สาขาแรงงานที่ทำการสำรวจใน 10 ประเทศ เมื่อปี 2565 ได้แก่ 1.ภาคเกษตร ประมง ป่าไม้ 2. ภาคโรงงานอุตสาหกรรม 3. ภาคก่อสร้าง 4. ภาคค้าส่ง-ค้าปลีก ภัตราคารและโรงแรม 5.ภาคการขนส่ง ข้อมูลและการสื่อสาร 6. ภาคการเงิน ประกันภัย อสังหาริมทรัพย์และบริการธุรกิจ 7.ภาคบริการสาธารณะ 8.ภาคอื่นๆ (เหมืองแร่ ไฟฟ้า ก๊าซ ไม่ระบุ) 

สำหรับรายได้ประชาชาติเฉลี่ยต่อหัว (GDP per capita) เปรียบเทียบรายได้ประชาชาติเฉลี่ยต่อหัวในรอบสิบปีคือ ปี 2556 กับ 2565 เป็นดังนี้

  • ไทย 6,300 >> 7,494 เหรียญสหรัฐ 
  • เวียดนาม 1,898 >> 4,109 เหรียญสหรัฐ
  • มาเลเซีย 10,663 >> 12,448 เหรียญสหรัฐ 
  • ฟิลิปปินส์ 2,859 >> 3,624 เหรียญสหรัฐ  
  • อินโดนีเซีย 3,636 >> 4,778 เหรียญสหรัฐ
  • ลาว 1,799 >> 2,022 เหรียญสหรัฐ
  • กัมพูชา 1,052 >> 1,758 เหรียญสหรัฐ
  • เมียนมา 1,208 >> 1,093 เหรียญสหรัฐ
  • บรูไน 44,560 >>  37,446 เหรียญสหรัฐ
  • สิงคโปร์ 56,967 >> 82,794 เหรียญสหรัฐ 
สถิติแรงงานอาเซียน 2023สถิติแรงงานอาเซียน 2023

หากจะดูว่าแรงงานในประเทศอาเซียนทำงานในภาคส่วนไหนบ้าง รายละเอียดมีดังนี้ 

ไทย : ภาคเกษตรสูสีการค้า บริการ

  • 30.4% อยู่ในภาคเกษตร ประมง ป่าไม้
  • 24.6% อยู่ในภาคค้าส่ง-ค้าปลีก ภัตราคาร โรงแรม
  • 16%    อยู่ในภาคโรงงานอุตสาหกรรม
  • 9.6%   อยู่ในภาคบริการสาธารณะ
  • 5.6%   อยู่ในภาคก่อสร้าง 
  • 4.9%   อยู่ในภาคการเงิน ประกันภัย อสังหาริมทรัพย์ 
  • 4.6%   อยู่ในภาคอื่นๆ (เหมืองแร่ ไฟฟ้า ก๊าซ) 
  • 4.3%   อยู่ในภาคขนส่ง การสื่อสาร

เวียดนาม : ภาคเกษตรสูสีอุตสาหกรรม

  • 27.5%   อยู่ในภาคเกษตร ประมง ป่าไม้
  • 23.3%   อยู่ในภาคโรงงานอุตสาหกรรม
  • 20.9%   อยู่ในภาคค้าส่ง-ค้าปลีก ภัตราคาร โรงแรม
  • 9.2%     อยู่ในภาคก่อสร้าง
  • 8.9%     อยู่ในภาคบริการสาธารณะ
  • 4.4% อยู่ในภาคขนส่ง การสื่อสาร
  • 4.2%     อยู่ในภาคอื่นๆ (เหมืองแร่ ไฟฟ้า ก๊าซ)
  • 1.7%     อยู่ในภาคการเงิน ประกันภัย อสังหาริมทรัพย์ 

ฟิลิปปินส์ การค้า-โรงแรม สูงสุด

  • 26% อยู่ในภาคค้าส่ง-ค้าปลีก ภัตราคาร โรงแรม
  • 23.1% อยู่ในภาคเกษตร ประมง ป่าไม้ 
  • 10.6% อยู่ในภาคบริการสาธารณะ 
  • 9.3% อยู่ในภาคก่อสร้าง
  • 8% อยู่ในภาคโรงงานอุตสาหกรรม
  • 8% อยู่ในภาคขนส่ง การสื่อสาร
  • 7.7% อยู่ในภาคอื่นๆ (เหมืองแร่ ก๊าซ)
  • 7.3% อยู่ในภาคการเงิน ประกันภัย อสังหาริมทรัพย์

มาเลเซีย ภาคเกษตรน้อยมาก

  • 28.1% อยู่ในภาคค้าปลีก-ค้าส่ง ภัตราคาร โรงแรม
  • 16.8% อยู่ในภาคโรงงานอุตสาหกรรม
  • 14.9% อยู่ในภาคบริการสาธารณะ 
  • 11.1% อยู่ในภาคการเงิน ประกันภัย อสังหาริมทรัพย์
  • 10% อยู่ในภาคเกษตร 
  • 7.6% อยู่ในภาคก่อสร้าง
  • 6.2% อยู่ในภาคขนส่ง การสื่อสาร
  • 4.3% อยู่ในภาคอื่นๆ (เหมืองแร่ ก๊าซ) 

สิงคโปร์ ภาคการเงินมากที่สุด

  • 26.1% อยู่ในภาคการเงิน ประกันภัย อสังหาริมทรัพย์ บริการธุรกิจ
  • 24.4% อยู่ในภาคบริการสาธารณะ 
  • 20.4% อยู่ในภาคค้าส่ง ค้าปลีก ภัตราคาร โรงแรม
  • 14.5% อยู่ในภาคขนส่ง การสื่อสาร
  • 9.6% อยู่ในภาคโรงงานอุตสาหกรรม
  • 4.2% อยู่ในภาคก่อสร้าง
  • 0.9 % อยู่ในภาคอื่นๆ (เหมืองแร่ ก๊าซ ไม่ทราบ)
  • *ไม่มีหรือน้อยมากสำหรับแรงงานที่อยู่ในภาคเกษตร

อินโดนีเซีย ภาคเกษตรสูสีภาคบริการ

  • 28.6% อยู่ในภาคเกษตร ประมง ป่าไม้
  • 26.5% อยู่ในภาคค้าปลีก ค้าส่ง ภัตราคาร โรงแรม 
  • 14.2% อยู่ในภาคโรงงานอุตสาหกรรม 
  • 10.1 % อยู่ในภาคบริการสาธารณะ 
  • 6.3% อยู่ในภาคก่อสร้าง
  • 6.2% อยู่ในภาคอื่นๆ (เหมืองแร่ ก๊าซ ไฟฟ้า ไม่ระบุ) 
  • 5% อยู่ในภาคขนส่ง การสื่อสาร 
  • 3.2% อยู่ในภาคการเงิน 

บรูไน ภาคบริการสารธารณะสูงสุด

  • 32.2% อยู่ในภาคบริการสาธารณะ
  • 22.8% อยู่ในภาคค้าส่ง-ค้าปลีก ภัตราคาร โรงแรม
  • 12.1% อยู่ในภาคอื่นๆ (เหมืองแร่, ไฟฟ้า, ก๊าซและน้ำ)
  • 10.7% อยู่ในภาคการเงิน ประกันภัย อสังหาริมทรัพย์
  • 8.9% อยู่ในภาคก่อสร้าง 
  • 6.5% อยู่ในภาคโรงงานอุตสาหกรรม
  • 5.2% อยู่ในภาคขนส่ง การสื่อสาร
  • 1.5% อยู่ในภาคเกษตร ประมง ป่าไม้

กัมพูชา ภาคเกษตร 1 ใน 3

  • 33.1% อยู่ในภาคเกษตร ประมง ป่าไม้
  • 20.2% อยู่ในภาคค้าปลีก ค้าส่ง ภัตราคาร โรงแรม
  • 16.7% อยู่ในภาคโรงงานอุตสาหกรรม
  • 10% อยู่ในภาคก่อสร้าง
  • 6.7% อยู่ในภาคอื่นๆ (เหมืองแร่ ไฟฟ้า ก๊าซ ไม่ระบุ)
  • 5.9% อยู่ในภาคบริการสาธารณะ
  • 5% อยู่ในภาคขนส่ง การสื่อสาร
  • 2.5% อยู่ในภาคการเงิน ประกันภัย อสังหาริมทรัพย์ บริการธุรกิจ

ลาว ภาคเกษตรครึ่งหนึ่ง 

  • 57.5% อยู่ในภาคเกษตร ประมง ป่าไม้
  • 14.3% อยู่ในภาคค้าปลีก ค้าส่ง ภัตราคาร โรงแรม
  • 8.9% อยู่ในภาคบริการสาธารณะ
  • 4.9% อยู่ในภาคก่อสร้าง
  • 4.7% อยู่ในภาคโรงงานอุตสาหกรรม
  • 4% อยู่ในภาคการเงิน ประกันภัย อสังหาริมทรัพย์ บริการธุรกิจ
  • 3.2% อยู่ในภาคอื่นๆ (เหมืองแร่ ไฟฟ้า ก๊าซ ไม่ระบุ)
  • 2.6% อยู่ในภาคขนส่ง การสื่อสาร 

เมียนมา เกือบครึ่งภาคเกษตร

  • 48.9% อยู่ในภาคเกษตร 
  • 20% อยู่ในภาคค้าส่ง ค้าปลีก ภัตราคาร โรงแรม
  • 10.4% อยู่ในภาคโรงงานอุตสาหกรรม
  • 5.8% อยู่ในภาคขนส่ง การสื่อสาร 
  • 5.6% อยู่ในภาคก่อสร้าง
  • 3.9 % อยู่ในภาคอื่นๆ ( เหมืองแร่ ไฟฟ้า ก๊าซ ไม่ระบุ)
  • 3.3% อยู่ในภาคบริการสาธารณะ
  • 2.1% อยู่ในภาคการเงิน ประกันภัย อสังหาริมทรัพย์ บริการธุรกิจ
Screenshot 2567-04-23 at 15.57.32.png

จำนวนกำลังแรงงานของประเทศ ในปี 2565 เรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้

  • อินโดนีเซีย 143 ล้านคนเศษ
  • เวียดนาม 51 ล้านคนเศษ
  • ฟิลิปปินส์ 49 ล้านคนเศษ
  • ไทย  39 ล้านคนเศษ
  • มาเลเซีย 16 ล้านคนเศษ
  • กัมพูชา 9 ล้านคนเศษ
  • ลาว 2 ล้านคนเศษ
  • สิงคโปร์ 2 ล้านคนเศษ
  • บรูไน 2 แสนคนเศษ
  • เมียนมา (ไม่มีข้อมูลล่าสุด)
https://lh7-us.googleusercontent.com/bC78WAxjrCFn2zgDxc7bAzvQ9v7RBdWfBwSIJskwFQ0_axk1cFqpi9hTmAJTR6TerU7lXcYKIF8w72fSl_AygcoKwTpKlAt1-JWoZ_QzpSYunaKKrd5sfOSlHjRMbuoCWB005DBIfdt9V6JwyVLiUo8

จากกราฟด้านบน จะเห็นว่า สิงคโปร์และไทยมีคนวัย 65 ปีขึ้นไปในสัดส่วนที่สูงกว่าประเทศอื่นในอาเซียน พร้อมๆ ไปกับที่คนวัย 0-14 ปีก็มีสัดส่วนน้อยกว่าประเทศอื่นๆ ในอาเซียนด้วยเช่นกัน จึงเป็นความน่ากังวลเกี่ยวกับ ‘สังคมสูงอายุ’ 

ในปี 2565 ภาวะเจริญพันธ์ (หรือการมีลูก) ใน 6 ประเทศ คือ บรูไน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทยและเวียดนามตกต่ำกว่าระดับทดแทน (เกิดน้อยกว่าตาย)  ในระยะยาวหากอัตราการเจริญพันธุ์ยังคงลดลง จำนวนประชากรวัยทำงานก็จะลดลงในขณะที่จำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เพิ่มภาระทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะการเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพและประกันสังคม