ตามรายงานของสถาบันนโยบายยุทธศาสตร์ออสเตรเลีย (ASPI) ระบุว่า จีนอยู่ในฐานะชาติที่จะกลายเป็นมหาอำนาจด้านเทคโนโลยีชั้นนำของโลก โดยมีอำนาจเหนือกว่าในด้านกลาโหม อวกาศ วิทยาการหุ่นยนต์ พลังงาน สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีชีวภาพ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) วัสดุขั้นสูง และเทคโนโลยีควอนตัมที่สำคัญ
ตามรายงานการติดตามเทคโนโลยีที่สำคัญ ซึ่งได้รับการเผยแพร่เมื่อวันพฤหัสบดี (2 มี.ค.) เปิดเผยว่า พื้นที่ด้านเทคโนโลยีที่สำคัญที่จีนครอบครองมีได้แก่ โดรน การเรียนรู้ของเครื่องแมชชีนเลิร์นนิง แบตเตอรี่ไฟฟ้า พลังงานนิวเคลียร์ เซลล์แสงอาทิตย์ เซ็นเซอร์ควอนตัม และการสกัดแร่ธาตุที่สำคัญ
ASPI ชี้ว่าจีนมีอำนาจเหนือกว่าในบางสาขา โดยไปไกลถึงขั้นว่ามีสถาบันวิจัยชั้นนำ 10 อันดับแรกของโลกสำหรับเทคโนโลยีบางประเภท ซึ่งล้วนตั้งอยู่ในประเทศจีนทั้งสิ้น
เมื่อเปรียบเทียบกันตามข้อมูลของ ASPI แล้ว สหรัฐฯ เป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีที่สำคัญเพียงแค่ 7 รายการ ซึ่งรวมถึงระบบปล่อยอวกาศและคอมพิวเตอร์ควอนตัม ทั้งนี้ ASPI เป็นองค์กรที่ได้รับเงินทุนจากรัฐบาลออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ รวมถึงแหล่งภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรมกลาโหม และอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีด้วย
สหราชอาณาจักรและอินเดียเป็น 1 ใน 5 ประเทศที่มีเทคโนโลยีสูงสุด 29 รายการจากทั้งหมด 44 รายการ ในขณะที่เกาหลีใต้และเยอรมนีติด 5 อันดับแรกใน 20 รายการ และ 17 รายการตามลำดับ ทั้งนี้ ASPI ระบุว่า ความกล้าหาญที่เพิ่มขึ้นของจีนในด้านเทคโนโลยีที่สำคัญ เป็นผลมาจากการวางแผนนโยบายระยะยาว และรายการฉบับนี้ควรเป็น "การปลุกให้ประเทศประชาธิปไตยตื่นตัว"
“ในระยะยาว ตำแหน่งผู้นำด้านการวิจัยของจีนหมายความว่าจีนได้ตั้งตัวเป็นเลิศ ไม่เพียงแต่ในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีในปัจจุบันในเกือบทุกภาคส่วนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเทคโนโลยีในอนาคตที่ยังไม่มีอยู่จริงด้วย” ASPI กล่าวในคำอธิบายที่มาพร้อมกับรายงาน
“การไม่ถูกตรวจสอบ สิ่งนี้อาจเปลี่ยนไม่เพียงแค่การพัฒนาและการควบคุมทางเทคโนโลยีเท่านั้น แต่อำนาจและอิทธิพลระดับโลกไปสู่รัฐเผด็จการ ซึ่งการพัฒนา การทดสอบ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอันสำคัญที่เกิดขึ้นใหม่ และเทคโนโลยีทางการทหารนั้น ไม่เปิดเผยและโปร่งใส และไม่สามารถตรวจสอบได้โดยภาคประชาสังคมและสื่ออิสระ” ASPI ระบุในกรณีของจีน
คณะผู้เชี่ยวชาญออสเตรเลียได้เสนอคำแนะนำ 23 ข้อ สำหรับประเทศตะวันตกและหุ้นส่วนและพันธมิตร ซึ่งรวมถึงการจัดตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ เพื่อเป็นทุนในการวิจัยและพัฒนา (R&D) การอำนวยความสะดวกด้านวีซ่าเทคโนโลยี ตลอดจน “การผูกมิตร” และทุน R&D ระหว่างประเทศต่างๆ และการแสวงหาความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนใหม่ๆ
สหรัฐฯ และจีนถูกขังอยู่ในการแข่งขันอันดุเดือด เพื่อแย่งชิงอำนาจและอิทธิพล ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนไหวในการแยกพื้นที่ทางเศรษฐกิจออกจากกัน ทั้งนี้ รัฐบาลของ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ออกมาตรการควบคุมการส่งออก และมาตรการจูงใจด้านภาษีที่มีเป้าหมาย เพื่อทำให้อุตสาหกรรมเทคโนโลยีของจีนสั่นคลอน และฟื้นฟูการผลิตในประเทศของสหรัฐฯ เอง
เมื่อวันพฤหัสบดี กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ได้เพิ่มหน่วยงานของ BGI บริษัทพันธุกรรมของจีน และบริษัทคลาวด์คอมพิวเตอร์ Inspur เข้าสู่บัญชีดำทางการค้า เนื่องจากบริษัททั้ง 2 แห่ง ถูกกล่าวหาว่าสนับสนุนกองทัพจีนและอำนวยความสะดวกในการสอดแนมของรัฐบาล
ที่มา: