หมายกำหนดการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วันที่ 6 พฤษภาคม 2562 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จออก ณ สีหบัญชร พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท เวลา 16.30 น. ซึ่งจะถือเป็นช่วงเวลาสำคัญในประวัติศาสตร์ที่ประชาชนชาวไทยจะร่วมแสดงความจงรักภักดีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากนั้นในเวลา 17.30 น. เสด็จออกพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทให้คณะทูตานุทูตและกงสุลต่างประเทศเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคล
พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท
พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท อยู่บนกำแพงพระบรมมหาราชวัง ระหว่างประตูเทวาพิทักษ์และประตูศักดิไชยสิทธิ์ ในรัชกาลที่ ๑ สร้างเป็นพลับพลาสำหรับประทับทอดพระเนตรกระบวนแห่ในการพระราชพิธีสระสนามใหญ่ (คือ การเดินช้าง เดินม้า ราชพาหนะ ออกมารับประพรมน้ำมนต์ หรือ จะเรียกว่าเป็นการสวนสนามจตุรงคเสนา ซึ่งมีริ้วขบวนประกอบด้วยพลเดินเท้า กระบวนช้าง กระบวนม้า และกระบวนรถ เดินขบวนผ่านหน้าที่ประทับรับประพรมน้ำมนต์ เพื่อชัยมงคลก็ได้) และทอดพระเนตรการฝึกช้าง ในรัชกาลที่ ๓ โปรดให้รื้อพลับพลาสร้างใหม่เป็นแบบปราสาท พระราชทานนามว่า "พระที่นั่งสุทธาสวรรย์" ในรัชกาลที่ ๔ ทรงเปลี่ยนเป็น "พระที่นั่งสุทไธสวรรย์" ในรัชกาลปัจจุบันโปรดให้ต่อพระเฉลียงไม้ทางด้านตะวันออกทำเป็นสีหบัญชร เพื่อเป็นที่สำหรับเสด็จพระราชดำเนินออกให้ราษฎรเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ซึ่งรัชกาลที่ 9 พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เสด็จออกให้ประชาชนเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ภายหลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2493
เข็มกลัดที่ระลึกตราสัญลักษณ์ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
สำหรับ ประชาชนที่มาร่วมเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสเสด็จออก ณ สีหบัญชร พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท วันนี้ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จัดทำเข็มกลัดที่ระลึกตราสัญลักษณ์ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พิมพ์ข้อความ “เสด็จออก สีหบัญชร ๖ พฤษภาคม ๒๕๖๒” จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ เข็ม มอบให้ประชาชนที่มาร่วมเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสเสด็จออก ณ สีหบัญชร พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท บริเวณจุดคัดกรอง 6 จุด คือ 1.ใต้สะพานพระปิ่นเกล้า 2.พระแม่ธรณีบีบมวยผม 3.ท่าช้าง 4.สะพานข้างโรงสี 5.สะพานมอญ และ 6.สะพานเจริญรัช
เส้นทางมีการปิดถนนในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
สำหรับเส้นทาง ปิดการจราจร วันนี้ มีทั้งหมด 33 เส้นทาง โดยเส้นหลักคือบริเวณโดยรอบพระบรมมหาราชวังและพื้นที่ต่อเนื่อง โดยจะมีการปิดการจราจรทั้งหมด 33 เส้นทาง ตั้งแต่เวลา 06.00 น. จนกว่าจะเสร็จสิ้นพิธีมีเส้นทางดังนี้
1.ถนนราชินีจากแผนผ่านพิภพ-ใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
2.ถนนราชดำเนินในตั้งแต่แยกผ่านพิภพ-ป้อมเผด็จดัสกร
3.ถนนสนามไชย
4.ถนนหน้าพระธาตุ
5.ถนนพระจันทร์
6.ถนนหน้าพระลาน
7.ถนนมหาราช
8.ถนนท้ายวัง
9.ถนนหับเผย
10.ถนนหลักเมือง
11.ถนนกัลยาณไมตรี
12.ซอยสราญรมย์
13.สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า-แยกผ่านพิภพ
14.ถนนราชดำเนินกลางจากแยกผ่านพิภพ-อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
15.ถนนราชบพิธ
16.ถนนบำรุงเมืองจากสี่กั๊กพระยาศรี-อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
17.ถนนเจริญกรุงจากสี่กั๊กพระยาศรี-แยกเฉลิมกรุง
18.ถนนบ้านหมอจากสี่กั๊กพระยาศรี-แยกพระพิทักษ์
19.ถนนอัษฎางค์จากแยกสะพานมอญ-แยกพระพิพทักษ์
20.ถนนตะนาวจากแยกคอกวัว-สี่กั๊กเสาชิงช้า
21.ถนนเฟื่องนคร
22.ถนนราชินีจากแยกผ่านพิภพ-แยกพระพิทักษ์
23.ถนนพระพิพิธจากจากถนนสนามไชย-แยกพระพิทักษ์
24.ถนนมหาราชจากท่าพระจันทร์-แยกปากคลอง
25.ถนนท้ายวัง
26.ถนนเชตุพน
27.ซอยเศรษฐการ
28.ถนนพาหุรัด
29.สะพานพระพุทธยอดฟ้า
30.ถนนตรีเพชร
31. ถนนตรีทอง
32.ถนนพระพุทธยอดฟ้า(ถนนใต้สะพานพระพุทธยอดฟ้า)
33.ถนนจักรเพชรจากปากคลองตลาด-ทางร่วมหน้าการไฟฟ้าวัดเลียบ
นอกจากนี้ ยังจัดเดินรถทางเดียวใน 3 เส้นทางได้แก่ 1.ถนนจักรพงษ์จากบางลำพู-แยกผ่านพิภพ 2.ถนนเจ้าฟ้าจากแยกผ่านพิภพ-ถนนพระอาทิตย์ 3.ถนนพระอาทิตย์จากใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า-แยกบางลำพู
กองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้แนะนําเส้นทางเพื่อให้เกิดความสะดวกในการเดินทาง ดังนี้
1. เส้นทางจากฝั่งพระนคร - ฝั่งธนบุรี
1.1 เส้นทาง ทางด่วน
- ลงด่วนยมราช ใช้เส้นทาง ถนนสวรรคโลก -ถนนราชวิถี หรือ ถนนสุโขทัย – สะพานกรุงธนบุรี(ซังฮี้)
- ลงด่วนยมราช ใช้เส้นทาง ถนนหลานหลวง –ถนนจักรพรรดิพงษ์ หรือ ถนนราชดาเนินนอก - แยกจปร. – สะพานพระราม 8
- ลงด่วนยมราช ใช้เส้นทาง พิษณุโลก –แยกสวนมิสกวัน – ถนนราชดาเนินนอก - แยก จปร. –สะพานพระราม 8
- ลงด่วนยมราช ใช้เส้นทาง ถนนหลานหลวง –ถนนราชดาเนินกลาง – สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
1.2 เส้นทาง พื้นราบ
- ถนนศรีอยุธยา – ถนนสวรรค์โลก – ถนนราชวิถี หรือถนนสุโขทัย – สะพานกรุงธนบุรี (ซังฮี้)
- ถนนเพชรบุรี – ถนนหลานหลวง – ถนนจักรพรรดิพงษ์หรือ ถนนราชดาเนินนอก - แยก จปร. – สะพานพระราม8
- ถนนพระราม 1 หรือ ถนนเพชรบุรี - ถนนหลานหลวง –ถนนราชดาเนินกลาง - สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
- ถนนพระราม 4 – ถนนเยาวราช – ถนนจักรวรรดิ -สะพานพระปกเกล้า
- ถนนพระราม 4 – ถนนสาทรใต้ - สะพานตากสิน
2. เส้นทางจากฝั่งธนบุรี - ฝั่งพระนคร
2.1 เส้นทาง ทางด่วน
- ถนนกาญจนาภิเษก ใช้เส้นทาง – ทางพิเศษศรีรัชวงแหวนรอบนอก – ด่านประชาชื่น หรือถนนกาแพงเพชร 2
2.2 เส้นทาง พื้นราบ
- สะพานพระปกเกล้า – ถนนมหาไชย –ถนนหลานหลวง – ถนนเพชรบุรี หรือ ถนนพระราม 1
- สะพานพระปกเกล้า – ถนนมหาไชย – ถนนเจริญกรุง– ถนนพระราม 4
- สะพานพุทธยอดฟ้า – ถนนตรีเพชร – ถนนเจริญกรุง -ถนนมหาไชย – ถนนหลานหลวง – ถนนเพชรบุรี หรือถนนพระราม 1
- สะพานพุทธยอดฟ้า – ถนนตรีเพชร – ถนนเจริญกรุง –ถนนวรจักร – ถนนบารุงเมือง - ถนนพระราม 1
- สะพานตากสิน – ถนนสาทรเหนือ – ถนนพระราม