ไม่พบผลการค้นหา
ตลาดหุ้นทั่วเอเชียล่วงลงในวันนี้ (16 มี.ค.) หลังจากเกิดปัญหาในธนาคารยักษ์ใหญ่อย่างเครดิตสวิส ตอกย้ำถึงความกังวลวิกฤตธนาคาร ที่อาจขยายตัวกว้างขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้ ดัชนีตลาดหุ้นหลักๆ ทั้งในญี่ปุ่น ฮ่องกง และออสเตรเลีย ปรับตัวล่วงลงมากกว่า 1% ท่ามกลางความสูญเสียของหุ้นจำนวนมากของธนาคารต่างๆ

เหตุการณ์ในครั้งนี้เกิดขึ้นภายหลังจากธนาคารเครดิตสวิสออกมาเปิดเผยว่า ทางธนาคารได้ยืมเงินจำนวน 5 หมื่นล้านฟรังก์สวิส (ประมาณ 1.85 ล้านล้านบาท) เพื่อหนุนสภาพคล้องทางการเงินของพวกเขา ทั้งนี้ หุ้นของธนาคารเครดิตสวิสปรับตัวลดลง หลังจากผู้ถือหุ้นพบ “ความอ่อนแอ” ในรายงานสถานการณ์การเงินของธนาคาร

ปัญหาในภาคธนาคารเริ่มปรากฏให้เห็นในสหรัฐฯ เมื่อช่วงสัปดาห์ก่อน หลังจากการล้มลงของธนาคารซิลิคอนวัลเลย์ ธนาคารใหญ่อันดับที่ 16 ของสหรัฐฯ ตามมาด้วยการล้มลงในอีก 2 วันต่อมาของธนาคารซิกเนเจอร์

ซายูริ ชิราอิ ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเคอิโกะในกรุงโตเกียว ระบุกับสำนักข่าว BBC ว่า สถานการณ์ที่คืบหน้าไปในธนาคารเครดิตสวิส “ขยายใหญ่ขึ้น” จากปัญหาของธนาคารเล็กๆ “นักลงทุนและเจ้าหนี้กังวลเกี่ยวกับความเสี่ยง ธนาคารอาจบอบช้ำกับการพุ่งสูงขึ้นของกองทุน ซึ่งจะย้อนกลับมากระทบกับเม็ดเงินทุนเพื่อธุรกิจ SME และธุรกิจสตาร์ทอัพทั่วทั้งโลก”

ดัชนี้นิเคอิ 225 ของญี่ปุ่นล่วงลงกว่า 1.1% ในช่วงกลางวันของตลาดการซื้อขายเอเชีย ในขณะที่ดัชนีของท็อบปิกแบงก์สล่วงลงมากกว่า 4% หลังจากการรายงานสถิติที่ย่ำแย่ที่สุดในรอบ 3 ปีเมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ในอีกทางหนึ่ง หุ้นในมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียลกรุ๊ป ซึ่งเป็นผู้ให้ยืมที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ จากสินทรัพย์รวม ล่วงลงไปที่ 3% เช่นเดียวกันกับความสูญเสียที่เกิดขึ้นในซุมิโมโตะ มิตซูอิ ไฟแนนเชียลกรุ๊ป และมิซูโฮ ไฟแนนเชียลกรุ๊ป ในขณะที่ดัชนีหุ้นในตลาดฮ่องกงและซิดนีย์ล่วงลงมากกว่า 1.5% ในขณะที่ดัชนีของฮ่องกงคอมโพไซต์ลดต่ำลงกว่า 0.5% 

สตีเฟน อินเนส หุ้นส่วนผู้จัดการของ เอสพีไอ แอสเซต แมเนจเมนต์ กล่าวว่า "ตลาดสามารถกลับคืนสู่ภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเหตุการณ์ที่สหรัฐฯ อันเป็นศูนย์กลางเริ่มจางหายไป ความกลัวของการขยายวงวิกฤตที่กว้างขึ้นในระยะนี้มีจำกัด เนื่องจากธนาคารต่างๆ ให้ความสำคัญอย่างมากต่อเอเชีย"

ธนาคารเครดิตสวิส ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2399 กำลังเผชิญหน้ากับเรื่องอื้อฉาวจำนวนมากในรอบไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ รวมถึงการถูกตั้งข้อหาฟอกเงิน และประเด็นปัญหาอื่นๆ ทั้งนี้ ธนาคารสูญเสียเงินไปในปี 2564 และอีกครั้งในปี 2565 และถูกเตือนว่าไม่อาจคาดหวังที่จะเห็นผลกำไรได้ในปี 2567 

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับธนาคารเครดิตสวิสเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (14 มี.ค.) เป็นการเปิดเผยให้เห็นถึง “ความอ่อนแอด้านเครื่องไม้เครื่องมือ” ของรายงานสถานการณ์การเงินของตัวธนาคาร ซึ่งควบคุมการพิจารณาและการตัดสินใจของนักลงทุน

ปัญหาของธนาคารเครดิตสวิสขยายใหญ่ขึ้น เมื่อธนาคารแห่งชาติซาอุดี ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่สุดของเครดิตสวิส ประกาศว่าพวกเขาจะไม่ซื้อหุ้นของธนาคารเพิ่มเติมของธนาคารสวิสภายใต้กฎบังคับ แม้ว่าในเวลานั้น ธนาคารเครดิตสวิสจะยืนยันว่า สถานการณ์การเงินของพวกเขานั้นไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่น่ากังวล ก่อนที่หุ้นของพวกเขาจะล่วงลงในวันพุธที่ 24%

ในวันพฤหัสบดี ธนาคารเครดิตสวิสออกมาประกาศการกู้ยืมเงินเพิ่มกว่า 5 หมื่นล้านฟรังก์ จากธนาคารกลางสวิส “เพื่อเสริมสภาพคล่องให้แข็งแกร่งล่วงหน้า” อย่างไรก็ดี การล้มละลายลงของธนาคารซิลิคอนวัลเลย์ได้สุมความกังวลต่อมูลค่าหุ้นกู้ที่ธนาคารต่างๆ ได้ถืออยู่ ซึ่งการขึ้นอัตราดอกเบี้ย กลับส่งผลให้หุ้นกู้มีมูลค่าที่ลดต่ำลง

ในอีกทางหนึ่ง ธนาคารกลางของหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ต่างประกาศเพิ่มอัตราดอกเบี้ย เพื่อหวังว่าพวกเขาจะรับมือกับอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันนี้ ทั้งนี้ ธนาคารต่างๆ พยายามแบกความน่าเชื่อถือต่อหุ้นกู้ของตัวเอง แต่กลับเกิดการปรับตัวล่วงลงของราคาหุ้นอย่างรุนแรง 

อย่างไรก็ดี การล่วงลงของมูลค่าหุ้นกู้ที่ถือโดยธนาคาร ไม่จำเป็นเสมอไปว่าจะเป็นปัญหา ตราบใดที่พวกเขาไปบังคับขายหุ้นกุ้ดังกล่าวออกไป

ธนาคารซิลลิคอนวัลเลย์ ซึ่งเป็นธนาคารที่เปิดให้การกู้ยืมต่อบริษัทด้านเทคโนโลยีต่างๆ ในซิลลิคอนวัลเลย์ ปิดตัวลงในวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยคำสั่งของทางการสหรัฐฯ นับเป็นการล้มละลายของธนาคารในสหรัฐฯ ครั้งใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่ปี 2551 ในวิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์


ที่มา:

https://www.bbc.com/news/business-64973321?fbclid=IwAR36buqu4Abc3YnixpjEs4iAESdFPYAPRX0lOF0aLYdZyJ68I1UklKcTtTk