ไม่พบผลการค้นหา
สถาบันพระปกเกล้าจัดเวทีเสวนากลุ่มความหลากหลายทางเพศ เตรียมผลักดันสมรสเพศเดียวกันยื่นร่างแก้ไข พ.ร.บ.คู่ชีวิตเข้าสู่สภาฯ

ที่หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร สถาบันพระปกเกล้าโดยกลุ่มนักศึกษารุ่น 9 กลุ่มที่ 6 จัดงาน เสวนา ทิศทาง คู่ชีวิต &สมรส เพศเดียวกัน ฟุบหรือไปต่อ(ทางไหนดี?) โดยนายกิตตินันท์ ธรมธัช นายกสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย (RSAT) กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยได้รับการยอมรับจากนานาชาติ แล้วว่าเป็นดินแดนที่ยอมรับความแตกต่างและความหลากหลายทางเพศรวมถึงการสมรสของเพศเดียวกัน แต่ยังไม่มีพระราชบัญญัติหรือกฎหมายที่ดูแลและให้สิทธิเกี่ยวกับการใช้ชีวิตคู่ในกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ทำให้เกิดการจำกัดสิทธิต่างๆ และความไม่เท่าเทียมกันในการใช้ชีวิตคู่ของกลุ่มบุคคลดังกล่าวในประเทศไทย

ดังนั้นการจัดเสวนาครั้งนี้ขึ้นเพื่อต้องการให้ความความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันของ พ.ร.บ.คู่ชีวิตในประเทศไทย และให้ประชาชนทั่วไปตระหนักถึงปัญหา และอุปสรรคของ พ.ร.บคู่ชีวิต รวมถึงกฎหมายสมรสเพศเดียวกัน

นอกจากนี้ ยังต้องการรวบรวมข้อเสนอแนะต่างๆเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คู่ชีวิต เพื่อนำไปยื่นใหักรรมาธิการ ทั้งฝั่งสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ที่เกี่ยวของในการพิจารณาปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คู่ชีวิต ที่กำลังจะบัญญัติและประกาศใช้ รวมถึงการแก้ไขข้อกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติ ที่ตราโดยฝ่ายนิติบัญญัติ (ส.ส. และ ส.ว.) ส่วนพระราชกำหนด และพระราชกฤษฎีกา ตราโดยฝ่ายบริหารเมื่อเสร็จแล้วนำทูลเกล้าฯ เพื่อลงพระปรมาภิไทย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

เสวนาสมรสเพศเดียวกัน

"ปัจจุบันมีประมาณ 26 ประเทศในโลกที่มีกฎหมายรับรองการสมรสของบุคคลเพศเดียวกันแล้ว ซึ่งกฎหมายคู่สมรสเพศเดียวกันฉบับแรกในเอเชียมีขึ้นในประเทศไต้หวันเมื่อเดือนพ.ค. 2562 ไต้หวันมีวิวัฒนาการทางกฎหมายและบริบททางสังคมใกล้เคียงกับประทศไทยมากดังนั้นจึงมองว่าการศึกษาวิวัฒนาการของไต้หวันนำจะเป็นประโยชน์กับประเทศไทยมาก และเมื่อดือน ธ.ค. 2558 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต แล้ว เพื่อเตรียมส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาที่ผ่านมายังมีข้อกเถียงกันตลอดว่าบทบัญญัติหลายประการของ พ.ร.บ.นี้ อาจให้สิทธิบางอย่างของคู่ชีวิตไม่เท่าเทียมกับคู่สมรส" นายกิตตินันท์ กล่าว

นายกิตตินันท์ กล่าวว่า คำว่า "สมรส" ที่ถูกบัญญัติตามประมวลฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ปพพ.) ตามหลักกฎหมายครอบครัวของไทยในมาตรา 1448-1460 ได้กำหนดเงื่อนไขอนุญาตให้บุคคลเพศชายและเพศหญิงโดยกำเนิดเท่านั้น ที่สามารถจดทะบียนสมรส และมีสถานะทางกฎหมายเป็นคู่สมรส หรือสามีภริยาได้ ส่วนคำว่า "คู่ชีวิต" เป็นคำที่ใช้ ในพระราชบัญญัติคู่ชีวิต นั้นเป็นครั้งแรกที่มีการบัญญัติคำนี้ในทางกฎหมายของประเทศไทย

โดยสิทธิที่พึงได้รับจาก พ.ร.บ.คู่ชีวิตฉบับที่อยู่ในคณะกรรมการกฤษฎีกา (ซึ่งเป็นฉบับที่ 5 จากร่างฉบับที่ 1) มีด้วยกันหลายประการ เช่น สิทธิในการให้และรับมรดก สิทธิในการทำนิติกรรมและจัดการหนี้สินร่วมกัน สิทธิในการอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน สิทธิในการขอต่อศาลเป็นผู้อนุบาลคู่ชีวิตอีกฝายที่วิกลริตหรือเสมือนไร้ความสามารถ หรือไร้ความสามารถ รวมถึงดึงบทบัญญัติตาม ปพพ. มาบังคับใช้โดยอนุโลม

แต่อย่างไรก็ตามส่วนสำคัญที่ยังขาดหายไปจาก พ.ร.บ.ฉบับนี้ ที่ต่างจาก ปพพ. ที่คู่สมรสได้รับ มีทั้งการเปลี่ยนคำหน้าชื่อ-สกุล การรับและปกครองบุตรบุญธรรมร่วมกัน และการมีบุตรโดยอาศัยเทคโนโลยีเจริญพันธุ์ส่วนสวัสดิการต่างๆ ของรัฐที่คู่สมรสพึงได้รับการลดหย่อนภาษีจากการมีคู่สมรส การเป็นคู่ความประมวลกฎหมายอาญาแทนคู่สมรส สิทธิในกองทุนประกันสังคมของคู่สมสรตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม เป็นต้น

ด้วยเหตุผลที่ว่าบทบัญญัติทับซ้อนกับกฎหมายหลายฉบับทำให้เกิดความซับซ้อนในกระบวนการร่าง พ.ร.บ ซึ่งกลุ่มที่ร่าง พ.ร.บ. คาดว่าอาจจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมในอนาคต เนื่องจากเป้าหมายหลักในขณะนี้คือ ความพยายามผลักดันให้ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้บังคับใช้ให้ได้โดยเร็วที่สุด

ทั้งนี้ที่ผ่านมากลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศมองว่าการเกิดขึ้นของ พ.ร.บ. ฉบับนี้เป็นการฉายภาพความแตกต่างแปลกแยกจากสังคมของกลุ่มผู้ที่มีควมหลากหลายทางเพศมากขึ้นโดยมองว่าสิ่งที่ภาครัฐควรทำ คือ เร่งแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด เพื่อให้มีความเสมอภาคต่อหน้ากฎหมาย โดยการแก้ไข ปพพ. โดยตรง ไม่ใช่การแยกตัวบทกฎหมายสำหรับผู้มีความหลากหลายทางเพศออกมา

นายกิตตินันท์ กล่าวว่า พ.ร.บ.คู่ชีวิต มีทั้งข้อดี และข้อจำกัด จึงนำมาสู่การเสวนาเชิงวิชาการครั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริง รวมถึงข้อเสนอแนะในการแก้ไขที่จะเป็นประโยชน์และส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมกันของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศอย่างยั่งยืน

เสวนาสมรสเพศเดียวกันเสวนาสมรสเพศเดียวกันเสวนาสมรสเพศเดียวกัน

ด้าน อัครวัฒน์ เลาวัณย์ศิริ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในฐานะกรรมการสมาคมฎหมายระหว่างประเทศ แห่งประเทศไทย และผู้เสนอร่าง พ.ร.บ.จดทะเบียนคู่ชีวิต รายแรกที่ได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัยจากสำนักงานพัฒนาโครการแห่งสหประชาชาติ (UNDP) กล่าวว่าอยากให้กฎหมายมีความรอบด้าน สามารถคุ้มครองสิทธิได้ครบถ้วนตั้งแต่สถานะทางเพศ สถานะทางครอบครัว และเรื่องอื่นๆ ที่สืบเนื่องต่อมาทั้งหมดแต่อย่างไรก็ตาม การที่เราจะมีระบบกฎหมายที่สมบูณ์แบบได้นั้นย่อมต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน กฎหมายจะต้องเกิดขึ้นพร้อมกับกลไกที่จะช่วยขับเคลื่อนไปร่วมกัน

"ตอนนี้ร่างพระราชบัญญัติยังอยู่ในชั้นของกฤษฎีกา ผมคิดว่าเรานำจะมีกลไกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้มากกว่านี้ เพื่อให้คนที่ตัดสินใจและคนที่ทำงานสามารถเลือกสิ่งที่ดีที่สุด เพื่อสรรสร้างกฎหมายที่ดีที่สุดให้แก่ประเทศไทยได้ นอกจากนี้ผมคิดว่าถ้าเราได้รับความร่วมมือ และความช่วยเหลือจากสื่อ และภาคประชาสังคม สารัตถะของกฎหมายที่ค่อนข้างซับซ้อนก็จะกลายเป็นเรื่องที่ง่ายและประชาชนทุกคนสามารถเข้าใจได้"

เคท ครั้งพิบูลย์ อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่าการเสวนาครั้งนี้ จะทำให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร ที่น่าจะเป็นสิ่งที่ทำให้คนหันมาสนใจเรื่อง LGBT เพราะทำให้เรื่องดังกล่าวเป็นสาธารณะมากขึ้น และอยากให้เรื่องนี้เป็นเหมือนการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับกัญชา ที่ทุกพรรคการเมืองเข้ามาร่วมกันแก้ไขผลักดัน

เสวนาสมรสเพศเดียวกัน

ด้าน ณิชนัจทน์ สุดลาภา นางแบบ และคณะทำงานมูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน(Tha TGA)กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ใน ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิตยังมีบางเรื่องที่ยังไม่ให้สิทธิเท่าเทียมกับคู่สมรสชาย-หญิง เช่นเรื่องการรับเลี้ยงบุตรบุญธรรม จึงต้องการให้แก้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพราะน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด และอยากให้ทุกคนตื่นตัว เข้าไปล็อบบี้ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจเรื่องนี้อย่างจริงจัง