สำนักข่าว CNN รายงานว่า นักเคลื่อนไหว ผู้แทนราษฎร ไปจนถึงนักวิทยาศาสตร์ ต่างมองไปในทิศทางเดียวกันว่า สิ่งที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนต่อไป เลือกจะทำหรือไม่ทำตลอดระยะเวลา 4 ปีต่อจากนี้ จะส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อมาตรการการรับมือและแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศโลก
ผู้คนทั่วโลกต่างต้องการผู้นำสหรัฐฯ ที่เห็นความสำคัญของวิกฤตการณ์สภาพภูมิอากาศโลกเพราะ 2 เหตุผลหลักอันประกอบไปด้วย
ที่ผ่านมา โดนัลด์ ทรัมป์ แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนในการต่อต้านกฎเกณฑ์และนโยบาลด้านสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ ที่มีจุดประสงค์ในการจำกัดความรุนแรงของภาวะโลกร้อน และปฏิเสธที่จะเชื่อในสาเหตุหลักที่ทำให้อุณภูมิของโลกนั้นสูงขึ้น ขณะที่ในระดับนานาชาติผู้นำสหรัฐฯ ได้มีมาตรการที่รุนแรงเช่นกัน โดยไม่นานหลังการขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ทรัมป์ประกาศถอนสหรัฐฯ ออกจากการเป็นสมาชิกของข้อตกลงปารีสว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกในเดือน มิ.ย. 2559 แม้สหรัฐฯ จะเป็นผู้ปล่อยมลภาวะอันดับต้นของโลกก็ตาม
การตัดสินใจของผู้นำสหรัฐฯ ส่งผลให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "Trump Effect" ซึ่งมีผลทำให้หลายประเทศมีแนวโน้มจะกระทำผิดสัญญากับข้อตกลงด้านวิกฤตโลกร้อนง่ายยิ่งขึ้น สมาชิกภาพของสหรัฐฯ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อแนวทางการปฏิบัติตามข้อตกลงระดับนานาชาติเพื่อจัดการกับปัญหาสภาพอากาศ
ล่าสุดในการขึ้นดีเบตชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในวันที่ 30 ต.ค.ที่ผ่านมา ทรัมป์กล่าวข้อมูลที่เป็นเท็จระหว่างการแสดงวิสัยทัศน์ด้วยว่า สหรัฐฯ คือประเทศที่มีน้ำและอากาศที่สะอาดที่สุด พร้อมเรียกประเทศจีนและอินเดียว่าเป็นประเทศที่ 'โสโครก' ขณะที่คู่แข่งจากพรรคเดโมแครตอย่าง โจ ไบเดน กลับย้ำบนเวทีเดียวกันว่า "ภาวะโลกร้อนคือภัยคุกคามของมนุษยชาติ เรามีความจำเป็นที่จะต้องจัดการกับเรื่องนี้"
โจนาธาน เพิร์ชชิง ผู้อำนวยการด้านสิ่งแวดล้อมจากมูลนิธิ William and Flora Hewlett อดีตผู้แทนพิเศษด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศประจำกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ ในสมัยที่ 2 ของการดำรตำแหน่งประธานาธิบดีของบารัก โอบามา กล่าวว่า หากรัฐบาลสหรัฐฯอยู่ภายใต้การบริหารงานของผู้นำที่ให้ความสำคัญของการผลักดันนโยบายเพื่อยุติปัญหาวิกฤตโลกร้อน ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะเป็นความเสียหายในระดับเล็กในวงจำกัดเท่านั้น ไม่ใช่ความเสียหายในระดับหายนะรุนแรง