ยานอวกาศ 'ฉางเอ๋อ 4' ของจีน ซึ่งลงจอดบนด้านมืดของดวงจันทร์เป็นชาติแรกของโลกเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2562 สามารถเก็บข้อมูลสำคัญที่อาจทำให้นักดาราศาสตร์สามารถหาคำตอบเกี่ยวกับต้นกำเนิดของดวงจันทร์ได้ด้วยการยืนยันถึงการมีอยู่ของปล่องภูเขาไฟขนาดใหญ่บนด้านมืดของดวงจันทร์
จุดที่ยานไปลงจอดนั้นอยู่ภายในส่วนยุบตัวขนาดมหึมาที่เป็นผลมาจากพุ่งชนของดาวเคราะห์น้อยเมื่อหลายพันปีก่อน ซึ่งตอนนี้นักวิทยาศาสตร์มีข้อมูลสนับสนุนแล้วว่าผลกระทบจากการพุ่งชนครั้งนั้นรุนแรงมากจนสร้างแรงกระทบกระเทือนทะลุเปลือกของดวงจันทร์ไปยังเนื้อชั้นในที่เรียกว่า 'ชั้นเนื้อ' (ของดวงจันทร์)
โดยยานอวกาศฉางเอ๋อ 4 ระบุถึงสิ่งที่คาดว่าจะเป็น 'หินเนื้อดวงจันทร์' (mantle rock) บนพื้นผิวดวงจันทร์
'ชุนไหล ลี' จากสถาบันวิทยาศาสตร์ประเทศจีน ในกรุงปักกิ่ง และเพื่อนร่วมงานได้ร่วมกันนำเสนอข้อมูลที่ยานอวกาศค้นพบในวารสารเนเจอร์ เมื่อวันพุธ (15 พ.ค.) ที่ผ่านมา
ความสัมพันธ์ของหินเนื้อดวงจันทร์และปล่องภูเขาไฟ
ในช่วงปี 2513 นักดาราศาสตร์บางคนนำเสนอแนวความคิดว่าในช่วงเริ่มต้น ดวงจันทร์ถูกปกคลุมด้วยทะเลหินหนืด หรือที่รู้จักกันในชื่อ 'แมกมา' ซึ่ง 'แมกมา' เป็นของเหลวตั้งต้นในการเกิดหิน เมื่ออุณหภูมิต่ำลง แร่ธาตุต่างๆในแมกมาจะลอยตัวสูงขึ้นขณะที่ธาตุหนักต่างๆจะจมลงข้างล่าง ซึ่งหลายฝ่ายเชื่อว่าหินเหล่านั้นประกอบไปด้วยแร่ธาตุอย่าง โอลิวีน และ ไพโรซีน ซึ่งมีบนดาวเคราะห์น้อยและเนื้อโลกส่วนบนเช่นเดียวกัน
ข้อมูลที่ได้จากยานสำรวจแสดงให้เห็นถึงล่องลอยของแร่โอลิวีน ขณะที่ตัวอย่างจากบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากการพุ่งชนที่อยุ่ลึกลงไปแสดงว่ามีแร่โอลิวีนมากขึ้น อย่างไรก็ตามเพื่อความถูกต้อง ยังต้องมีการสำรวจเพิ่มเติมรวมทั้งการนำชิ้นส่วนกลับมาวิเคราะห์ในห้องทดลองบนโลก
"การเข้าในส่วนประกอบของเนื้อดวงจันทร์เป็นสิ่งสำคัญในการตรวจสอบว่าเคยมีทะเลแมกมาที่พูดกันจริงหรือไม่" ลี กล่าว
นอกจากการศึกษาต้นกำเนิดของดวงจันทร์สามารถส่งเสริมการศึกษาด้านวิวัฒนาการของโลก ยังสามารถนำข้อมูลมาเทียบกับโลกได้อีกด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :