ไม่พบผลการค้นหา
เปิดผลลงมติที่ประชุมรัฐสภาลงมติสูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล 47 เสียง ส.ว. 154 คน ภูมิใจไทย -ปชป.ส่วนใหญ่ ผนึกกำลังโหวตคว่ำสูตร กมธ.เสียงข้างมากที่หารด้วย 100 ด้านวิปฝ่ายค้านแฉ เลขาฯ ก้าวไกล รับปากโหวตตาม กมธ.ข้างมาก ขณะที่ 7 ส.ว.สายอิสระโหวตหนุนหาร 100

ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า ในการลงมติร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... ซึ่งคณะกรรมาธิการ (กมธ.)วิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว ในมาตรา 23 แก้ไขมาตรา128 ที่ว่าด้วยสูตรคำนวณ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งมติ กมธ.เสียงข้างมาก ให้ใช้หารด้วย 100 แต่มติที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา เมื่อเวลา 21.54 ของวันที่ 6 ก.ค. 2565 โดย ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาได้มีมติไม่เห็นด้วยกับ กมธ.เสียงข้างมาก 392 ต่อ 160 เสียง โดยเห็นด้วยกับผู้สงวนความเห็นและผู้สงวนคำแปรญัตติที่เสนอให้แก้ไขโดยใช้สูตรคำนวณ หารด้วย 500 ของ นพ.ระวี มาศฉมาดล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังธรรมใหม่ ทั้งนี้ งดออกเสียง 23 เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง 2 เสียง

โดยผลออกการเสียงลงมติในมาตราดังกล่าว สมาชิกรัฐสภา ที่ลงมติเห็นด้วยให้กับสูตรคำนวณหาร 100 ของกมธ.เสียงข้างมาก ประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย 112 เสียง พรรคพลังประชารัฐ มี 2 เสียง คือ ไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ กฤษณ์ แก้วอยู่ ส.ส.เพชรบุรี  

พรรคประชาธิปัตย์ 10 เสียง เห็นด้วยกับหาร 100 คือ กนก วงษ์ตระหง่าน ส.ส.บัญชีรายชื่อ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ชินวรณ์ บุณยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช เทอดพงษ์ ไชยนันทน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ บัญญัติ บรรทัดฐาน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ ส.ส.กาญจนบุรี สมชาติ ประดิษฐพร ส.ส.สุราษฎร์ธานี สาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง สินิตย์ เลิศไกร ส.ส.สุราษฎร์ธานี สุทัศน์ เงินหมื่น ส.ส.บัญชีรายชื่อ

พรรคเศรษฐกิจไทย 9 เสียงเห็นด้วยหาร 100 คือ เกษม ศุภรานนท์ ส.ส.นครราชสีมา จอมขวัญ กลับบ้านเกาะ ส.ส.สมุทรสาคร จีรเดช ศรีวิราช ส.ส.พะเยา ธนัสถ์ ทวีเกื้อกูลกิจ ส.ส.ตาก สมศักดิ์ คุณเงิน ส.ส.ขอนแก่น บุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ปัญญา จีนาคำ ส.ส.แม่ฮ่องสอน พรชัย อินทร์สุข ส.ส.บัญชีรายชื่อ ยงยุทธ เทพจำนงค์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ

พรรคชาติไทยพัฒนา 1 เสียง คือ นิกร จำนง ส.ส.บัญชีรายชื่อ

พรรคเสรีรวมไทย 1 เสียง คือ นพ.ประสงค์ บูรณ์พงศ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ

พรรคประชาชาติ 6 เสียง เห็นด้วยหาร 100 คือ กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ ส.ส.นราธิวาส กูเฮง ยาวอหะซัน ส.ส.นราธิวาส ซูการ์โน มะทา ส.ส.ยะยา ทวี สอดส่อง ส.ส.บัญชีรายชื่อ สมมุติ เบ็ญจลักษณ์ ส.ส.ปัตตานี อับดุลอายี สาแม็ง ส.ส.ยะลา

พรรคเพื่อชาติ เห็นด้วย 5 เสียง คือ ปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช เพชรวรรต วัฒนพงศ์ศิริกุล ลินดา เชิดชัย สงคราม กิจเลิศไพโรจน์ อารี ไกรนรา ส.ส.บัญชีรายชื่อ

พรรคเศรษฐกิจใหม่ เห็นด้วย 1 เสียง คือ นพ.นิยม วิวรรธนดิฐกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ

พรรคชาติพัฒนา เห็นด้วย 3 เสียง พรรคไทรักธรรม เห็นด้วย 1 เสียง พรรคพลังปวงชนไทย 1 เสียงเห็นด้วย

ขณะที่สมาชิกวุฒิ (ส.ว.) ที่เห็นด้วยกับหาร 100 มี 7 เสียงคือ ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ คำนูณ สิทธิสมาน เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ พลเดช ปิ่นประทีป วันชัย สอนศิริ สถิติย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ และเสรี สุวรรณภานนท์

อนุทิน -C4FE-4121-996F-DD75C496A8E8.jpegอนุทิน คำนูณ วันชัย สมาชิกวุฒิสภา ประชุมรัฐสภา -5301-42A5-A30E-3BC85288E7F2.jpegสมาชิกวุฒิสภา -A162-4844-94C1-22AEBF2F60A6.jpegสูตรบัญชีรายชื่อ -C657-44CA-9EE6-4D0755A5F993.jpegสูตรบัญชีรายชื่อ  -5DFF-42B0-8863-E01BF5E06E19.jpegสูตรบัญชีรายชื่อ   A2DE-4496-8A32-7AE4E9B9AA7C.jpeg

ส.ว.154 เสียง หนุนหาร 500 ก้าวไกล 47 เสียง 7 งูเห่าเพื่อไทย-ภท.ค้านหาร 100 

สำหรับสมาชิกรัฐสภาที่ลงมติไม่เห็นด้วยกับการใช้สูตรคำนวณหาร 100 มีดังนี้

พรรคเพื่อไทย 7 คนที่เป็นส.ส.งูห่า ประกอบด้วย จักรพรรดิ์ ไชยสาส์น ส.ส.อุดรธานี จาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ ส.ส.ศรีสะเกษ ธีระ ไตรสรณกุล ส.ส.ศรีสะเกษ ผ่องศรี แซ่จึง ส.ส.ศรีสะเกษ นิยม ช่างพินิจ ส.ส.พิษณุโลก วุฒิชัย กิตติธเนศวร ส.ส.นครนายก สุชาติ ภิญโญ ส.ส.นครราชสีมา 

ส่วน ส.ส.พรรคเพื่อไทย ที่ไม่อยู่ในที่ประชุมเพื่อลงมติ ประกอบด้วย กนก ลิ้มตระกูล ส.ส.อุตรดิตถ์ ขจิตร ชัยนิคม ส.ส.อุดรธานี จิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กทมง เชิดพงศ์ ราชป้องขันธ์ ส.ส.บึงกาฬ ทายาท เกียรติชูศักดิ์ ส.ส.นครสวรรค์ ธนกร ไชยกุล ส.ส.ยโสธร นิรมิต สุจารี ส.ส.ร้อยเอ็ด ไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม วันชัย เจริญนนทสิทธิ์ ส.ส.นนทบุรี ศักดา คงเพชร ส.ส.ร้อยเอ็ด สงวน พงษ์มณี ส.ส.ลำพูน สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงราย และ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ส.ส.กทม.

พรรคพลังประชารัฐ ส่วนใหญ่ 56 เสียงลงมติไม่เห็นด้วย

พรรคภูมิใจไทย 59 เสียงลงมติไม่เห็นด้วย

พรรคประชาธิปัตย์ 34 เสียงลงมติไม่เห็นด้วย

พรรคก้าวไกล 47 เสียงลงมติไม่เห็นด้วย 

พรรคเศรษฐกิจไทย 2 เสียงไม่เห็นด้วย คือ ณัฏฐพล จรัสรพีพงษ์ ส.ส.สุรินทร์ ธนะสิทธิ์ โควสุรัตน์ ส.ส.อุบลราชธานี 

พรรคชาติไทยพัฒนา 5 เสียง ไม่เห็นด้วย คือ ณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ ส.ส.สุพรรณบุรี ธีระ วงศ์สมุทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พาณุวัฒน์ สะสมทรัพย์ ส.ส.นครปฐม เสมอกัน เที่ยงธรรม ส.ส.สุพรรณบุรี อนุรักษ์ จุรีมาศ ส.ส.ร้อยเอ็ด

พรรคเสรีรวมไทย 5 เสียงไม่เห็นด้วย คือ นภาพร เพ็ชร์จินดา เพชร เอกกำลังกุล วัชรา ณ วังขนาย วิรัตน์ วรศสิริน และ อำไพ กองมณี ส.ส.บัญชีรายชื่อ

พรรคเศรษฐกิจใหม่ 4 เสียงไม่เห็นด้วย พรรคพลังท้องถิ่นไท ไม่เห็นด้วย 4 เสียง พรรครวมพลังประชาชาติไทย 5 เสียงไม่เห็นด้วย 

สำหรับพรรคการเมือง 1 เสียงที่ลงมติไม่เห็นด้วย ประกอบด้วย พรรคครูไทยเพื่อประชาชน พรรคประชาธิปไตยใหม่ พรรคประชาภิวัฒน์ พรรคพลเมืองไทย พรรคพลังชาติไทย พรรคพลังธรรมใหม่ พรรคเพื่อชาติไทย 

ส่วนพรรคไทยศรีวิไลย์ งดออกเสียง 

ส.ว.มี 154 คน ที่ลงมติไม่เห็นด้วยกับสูตรหารด้วย 100

เพื่อไทย ชลน่าน จุลพันธ์ สมคิด ประชุมรัฐสภา -A66C-41C9-A7C0-A7CD07A6CBA3.jpegชลน่าน สุพิศาล ประชุมรัฐสภา -8B9C-4855-8DC2-E111A218E046.jpeg

วิปค้านแฉ 'ก้าวไกล' คว่ำสูตรหาร 100 ของ กมธ.เสียงข้างมาก

รายงานข่าวจากวิปพรรคร่วมฝ่ายค้านแจ้งว่า การลงมติของร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ได้ตกลงร่วมกันว่าชัดเจนระหว่างพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกลแล้วว่า สองพรรคนี้จะร่วมลงมติเห็นด้วยกับสูตรหารด้วย 100 ของคณะกรรมาธิการ (กมธ.)วิสามัญเสียงข้างมากที่เห็นชอบ โดย กมธ.ซีกของพรรคก้าวไกลจำนวน 3 เสียงก็เห็นด้วยกับสูตรนี้ แต่พอถึงเวลาลงมติในประเด็นนี้ พรรคก้าวไกลกลับไม่เห็นด้วยกับ กมธ.เสียงข้างมาก

"ตอนแรกต้องโหวตยึดกมธ.เสียงข้างมากหารด้วย 100ก่อน ชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล ก็รับปากกับพรรคเพื่อไทยตอนประชุมร่วมกันว่าจะเอาหาร 100 ของกมธ. และมาบอกเอาหาร 100 ตอนหลังมันคนละเรื่อง เพราะยังไงโหวตรอบไหน จะโหวตรอบแรกก็แพ้อยู่ดี แต่กฎหมายนี้เป็นกฎหมายของพรรคก้าวไกลที่เสนอมาชั้นรับหลักการ ส่วนพรรคเสรีรวมไทยก็บอกตอนแรกจะโหวตให้กับสูตรหาร 500 ถือว่าไม่มีปัญหา แต่พรรคก้าวไกลตกลงไว้แล้วจะลงมติสนับสนุนสูตรหาร 100 แต่กลับมาโหวตคว่ำมติของ กมธ.เสียงข้างมาก

แหล่งข่าวจากฝ่ายค้านกล่าวว่า การลงมติในรอบหลังที่ค้านสูตร 500 ของ นพ.ระวี มีพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกลที่ไม่เห็นด้วยกับสูตรหาร 500 แต่เสียงโหวตก็แพ้อยู่ดี