ไม่พบผลการค้นหา
'พี่สาววันเฉลิม' ยื่น 'เศรษฐา' ทวงคืบหน้าทางการกัมพูชากรณี 'อุ้มหายวันเฉลิม' ด้านรัฐบาลไม่นิ่งนอนใจ ตามต่อเดินหน้าส่งตรงถึงมือนายกฯ ก่อนเดินทางเยือนกัมพูชาทันที

วันที่ 27 ก.ย. เวลา 11.00 น. ที่ทําเนียบรัฐบาล สิตานัน สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ พี่สาวตัวแทนครอบครัวของ วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ และตัวแทนมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ยื่นหนังสือ ขอให้ค้นหาชะตากรรมของคนไทยที่ถูกลักพาตัวหายไปที่กรุง พนมเปญ กรณีวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์จากรัฐบาลกัมพูชา ในวาระที่นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน จะไปเยือน ประเทศกัมพูชาในวันที่ 28 กันยายน 2566 โดยสมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับหนังสือแทนนายกรัฐมนตรี ที่ห้องทำงาน ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล

สำหรับกรณีวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธ์ ซึ่งได้ลี้ภัยทางการเมืองไปอาศัยอยู่ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชาหลังจากการรัฐประหารโดย พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา และพวก (คสช.) ในปี 2557 ต่อมาวันเฉลิมได้ถูกบุคคลกลุ่มหนึ่งบังคับให้สูญหายไป เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2563 เวลาเย็น เหตุเกิดบริเวณหน้า แม่โขง การ์เดน คอนโดมิเนียม กรุงพนมเปญ โดยกล้องวงจรปิดในบริเวณ ดังกล่าวได้บันทึกภาพเหตุการณ์ไว้ได้

ด้าน สิตานัน สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ พี่สาวของเขา มีความวิตกกังวลอย่างยิ่งเกี่ยวกับชะตากรรมของนายวันเฉลิม จนถึงทุก วันนี้ ซึ่งเวลาได้ผ่านมาแล้วกว่าสามปี แต่รัฐบาลกัมพูชา แม้จะเป็นรัฐสมาชิกอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการ คุ้มครองบุคคลทุกคนจากการสูญหายโดยถูกบังคับ (ICPPED) ซึ่งมีหน้าที่ต้องค้นหาความจริงและสืบสวนสอบสวนกรณี ดังกล่าวเพื่อช่วยเหลือนายวันเฉลิม นําตัวผู้กระทําผิดมาลงโทษและชดใช้เยียวยาครอบครัวผู้สูญหาย แต่กลับละเลยไม่ ปฏิบัติตามพันธกรณีสําคัญนี้ได้ จนถึงปัจจุบันรัฐบาลกัมพูชาล้มเหลวในการระบุชะตากรรมของนายวันเฉลิม ตลอดจน ไม่สามารถให้ข้อมูลความคืบหน้าเกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวนกรณีดังกล่าวอย่างเพียงพอ แม้ว่าครอบครัวของนายวัน เฉลิมได้เดินทางไปให้ข้อมูลต่อศาลชั้นต้นแห่งกรุงพนมเปญตามหมายเรียกในเดือนธันวาคม 2563 และย่ืนคําให้การเป็น ลายลักษณ์อักษรและเอกสารพยานหลักฐานจํานวน 177 หน้าต่อผู้พิพากษาไต่สวน ซึ่งยืนยันว่าจะดําเนินการสืบสวน กรณีการบังคับให้สูญหายดังกล่าว แต่จนปัจจุบันเป็นเวลามากกว่า 3 ปีแล้วที่ครอบครัวของของนายวันเฉลิมยังไม่ได้ รับทราบชะตากรรมหรือความคืบหน้าเกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวนอีกเลย ทั้งๆที่การกระทําให้บุคคลสูญหายเป็น ความผิดทางอาญาทั้งตามกฎหมายไทยและกัมพูชา และเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรงและเป็นความผิดตาม กฎหมายระหว่างประเทศ

หนังสือระบุด้วยว่าในฐานะหัวหน้ารัฐบาลไทยที่มีอํานาจและหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครองคนไทยไม่ว่าจะอยู่ใน ประเทศหรือต่างแดนก็ตาม โดยเฉพาะ เมื่อประเทศไทยได้ตราพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและ การกระทําให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ที่กําหนดไว้ในมาตรา 10 และมาตรา 43 ให้ทางการไทยมีหน้าทีสืบสวนกรณีที่ บุคคลถูกกระทําให้สูญหายจนกว่าจะพบหรือปรากฎหลักฐานอันน่าเชื่อได้ว่าบุคคลนั้นถึงแก่ความตายและทราบ รายละเอียดของการกระทําผิดและรู้ตัวผู้กระทําผิด

ดังนั้น ในโอกาสที่ท่านจะเดินทางไปเยือนประเทศกัมพูชาในวันที่ 28 กันยายนนี้ ข้าพเจ้า สิตานัน สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ และมูลนิธิผสานวัฒนธรรม จึงขอให้ท่านได้กรุณาสอบถามทางการกัมพูชาเกี่ยวกับชะตากรรมของ วันเฉลิม สัตย์ ศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้รัฐบาลกัมพูชาชี้แจงความคืบหน้าในการสืบสวนสอบสวนกรณีที่เขาถูกบังคับให้สูญหาย และคืนความ ยุติธรรมให้กับครอบครัวของนายวันเฉลิม โดยไม่ล่าช้า เพื่อให้ครอบครัวของ วันเฉลิมซึ่งเป็นผู้มีสิทธิโดยชอบธรรมได้ รับทราบเกี่ยวกับการดําเนินการในแต่ละขั้นตอน รวมถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับกรณีทั้งหมดอย่างต่อเนื่องและเป็น ธรรม ทั้งขอให้ท่านร้องขอให้รัฐบาลกัมพูชาดําเนินการสอบสวนกรณีอย่างจริงจังและได้ผลตามพันธกรณีระหว่าง ประเทศทีประเทศกัมพูชามีอยู่ และตามพันธกรณีที่ประเทศกัมพูชามีต่อประเทศไทย รวมทั้งตามอํานาจหน้าที่ที่ทางการ กัมพูชามีอยู่ภายใต้กฎหมายของตนด้วย

ด้านสมคิด กล่าวหลังรับหนังสือว่า ตนได้รับหนังสือ และจะส่งตรงถึงนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ซึ่งจะเดินทางไปเยือนราชอาณาจักรกัมพูชาอย่างเป็นทางการ ในวันพรุ่งนี้ (28 กย.) ส่วนความคืบหน้า เรื่องนี้ตนจะติดตามเป็นระยะๆ โดยสอบถามจากเจ้าหน้าที่ที่เดินทางร่วมคณะไปกับนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่าจะเดินหน้าให้

สมคิด กล่าวอีกว่า ตนเป็นคนแรกๆที่ยื่นกระทู้สดสอบถามกรณีนี้หลังเกิดเหตุการณ์อุ้มหายวันเฉลิม กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้น (ดอน ปรมัตถ์วินัย) ร่วมกับ รังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล