สำนักงานภาษีแห่งชาติ (NTA) ออกแคมเปญ Sake Viva! เพื่อขอให้คนหนุ่มสาวอายุระหว่าง 20 ถึง 39 ปี เสนอข้อเสนอเพื่อช่วยฟื้นฟูความนิยมของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งไม่ได้รับความนิยมในช่วงปัจจุบัน หลังจากการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตของคนหนุ่มสาว ที่เกิดขึ้นจากช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19
จากเว็บไซต์ JiJi.com การแข่งขันจะจัดขึ้นจนถึงวันที่ 9 ก.ย. เพื่อค้นหา “ผลิตภัณฑ์และการออกแบบใหม่” เช่นกันกับการส่งเสริมการดื่มแอลกอฮอล์ในบ้าน ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมการประกวดแข่งขันยังถูกส่งเสริมให้วางแผนการค้า ผ่านแพลตฟอร์มเมตาเวิร์สอีกด้วย
NTA ระบุว่า การบริโภคแอลกอฮอล์ในญี่ปุ่นกำลังลดลงเรื่อยๆ โดยคิดจากสถิติ 100 ลิตรต่อคนต่อปีในช่วงปี 2538 มาเหลืออยู่แค่ 75 ลิตรต่อคนต่อปีในปี 2563 ทั้งนี้ การบริโภคแอลกอฮอล์ที่ลดลง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อรายได้ของรัฐบาลจากการเก็บภาษี ซึ่งขาดดุลลงไปแล้วกว่า 48 ล้านล้านเยน (ประมาณ 12.6 ล้านล้านบาท)
ในปี 2563 ภาษีที่เรียกเก็บจากแอลกอฮอล์ในญี่ปุ่นคิดเป็น 1.7% ของรายได้จากภาษีในประเทศ ซึ่งลดลง 3% จากปี 2554 และ 5% ในปี 2523 ทั้งนี้ NTA ระบุเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาว่า รายได้รวมจากภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปีงบประมาณ 2563 ของญี่ปุ่น ลดลงมากกว่า 1.1 แสนล้านเยน (ประมาณ 2.9 หมื่นล้านบาท) มาเหลืออยู่ที่ 1.1 ล้านล้านเยน (ประมาณ 2.9 แสนล้าบาท) เมื่อเทียบกับปีก่อน The Japan Times รายงานว่า ภาษีจากเครื่องดิ่มแอลกอฮอล์ที่ลดลงในครั้งนี้ อยู่ในอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบ 31 ปี
“ในขณะที่การทำงานจากที่บ้าน มีการปรับเปลี่ยนอยู่ในระดับหนึ่ง ณ ช่วงวิกฤตโควิด-19 หลายคนอาจมีคำถามว่าพวกเขาจำเป็นจะต้องดื่มสุรากับเพื่อนร่วมงานต่อไปหรือไม่ เพื่อการมีการสื่อสารให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น (ระหว่างเพื่อนร่วมงาน)” เจ้าหน้าที่ NTA ระบุกับ The Japan Times “หาก 'ความปกติใหม่' หยั่งราก นั่นจะเป็นอุปสรรคที่เพิ่มมากขึ้นต่อรายได้จากภาษี”
การบริโภคเบียร์ในญี่ปุ่นลดลงอย่างมากอย่างเด่นชัด โดยปริมาณการขายเครื่องดื่มแลกอฮอล์ในญี่ปุ่นปรับตัวลดลงกว่า 20% เหลือน้อยกว่า 1.8 พันล้านลิตร ทั้งนี้ โรงหมักเบียร์คิริน ซึ่งผลิตเบียร์คิริน และอิชิบัน ชิโบริ กล่าวว่า การบริโภคเบียร์ต่อหัวในญี่ปุ่นคิดเป็นจำนวนทั้งสิ้น 55 ขวดในปี 2563 ลดลง 9.1% จากปีก่อนหน้า
กระทรวงสาธารณสุขของญี่ปุ่นกล่าวว่า ตนหวังว่าการรณรงค์ดังกล่าวจะย้ำเตือนให้ผู้คนเตือนตัวเองตลอดว่าควรบริโภค “แอลกอฮอล์ในปริมาณที่เหมาะสม” ทั้งนี้ ผู้เข้ารอบสุดท้ายในการแข่งขันนี้ จะได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานกาล่าเลี้ยงมอบรางวัล ณ กรุงโตเกียวในวันที่ 10 พ.ย. และสำนักงานสรรพากรกล่าวว่าตนจะผลักดันเพื่อการนำแนวคิดของผู้ชนะไปใช้ในเชิงพาณิชย์ต่อไป
ที่มา: