ไม่พบผลการค้นหา
เป็นความแปลกใหม่ ในโชว์ของ คณะระเบียบ วาทะศิลป์ ที่นำการประสานเสียงแบบ โอเปร่า มาถ่ายทอดตำนานอีสาน ผาแดงนางไอ่ ผ่านบทเพลง ฮ้างกะยอม ของพระเอกหมอลำ นก พงศกร ที่ขอต่อยอดความสำเร็จจากโชว์เมื่อปีก่อน

เมื่อเรื่องราว ตำนานอีสาน “ผาแดงนางไอ่” ที่นำมาจัดแสดงในรูปแบบ มิวสิคัล ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากเมื่อปีก่อน ในฤดูกาลโชว์ประจำปี 61 คณะระเบียบ วาทะศิลป์ จึงต่อยอดความสำเร็จ หยิบภาคต่อชีวิตรัก ท้าวภังคี ที่ผิดหวังในความรัก กับ นางไอ่ มาถ่ายทอดในบทเพลง ฮ้างกะยอม ขับร้องโดย พระเอกสุดฮอต ประจำคณะ “นก พงศกร” ที่บทเพลงนี้ ได้สร้างสรรค์ในรูปแบบใหม่ผสมผสานการร้องแบบโอเปร่า มีนักร้องประสานเสียงนับ 70 ชีวิต กับดนตรี 2 ชิ้น เปียโน และ คีย์บอร์ด พร้อมทีมแดนเซอร์ ที่ นก พงศกร รู้สึก ภูมิใจกับโชว์ชุดนี้

นก พงศกร 3.jpg

นก - พงศกร แสนปากดี พระเอกประจำคณะ ระเบียบ วาทะศิลป์ เผยว่า “ตอนแรกค่อนข้างกังวล กับโชว์ชุดนี้ เพราะเนื้อเพลงเป็นอีสานโบราณ ที่ร้องยาก มีทั้งเสียงร้องต่ำ และเสียงร้องสูง ต้องแสดงอารมณ์ความรักที่เจ็บปวด ผิดหวัง ในรักข้างเดียว ซึ่งกระแสตอบรับก็มีทั้งดี และแง่ลบ โดยแฟนหมอลำ ที่อยากมาดูหมอลำซิ่ง เต้นมันๆ ก็อาจไม่ชอบเพราะเป็นเพลงช้า ง่วง”

"กระแสตอบรับในโชว์นี้ ได้รับการตอบรับที่ดีมาก ในความแปลกใหม่ มีแค่เด็กวัยรุ่นบางคน ที่เขาตั้งใจมาเต้นมาสนุก ที่จะไม่ชอบโชว์นี้ เพราะเป็นเพลงช้าและง่วง"


นก พงศกร 4.jpg

โดย เนื้อเพลงนี้ ใช้ภาษาอีสานโบราณ ถึง 3 หน้ากระดาษแบบไม่ซ้ำเนื้อร้อง ซึ่งคำเก่าแบบนี้ น้อยนักที่จะมีการนำมาใช้ในเพลงหมอลำ อย่างท่อน หอมฮักฮ่วนคณิงห่วนเฮาดอม มื้อนี้ซอมกะยอมสุดไกล เอาฮ้าย เก็บกลีบกอบกลิ่นไว้ สิเฮดจั่งได๋  ที่มีความหมายถึง ความรักข้างเดียว ที่แม้รักจะหอมหวาน แต่สุดท้ายแล้วก็ต้องเจ็บ เพราะเขาไม่รัก นก พงศกร เผยว่า เขาใช้เวลาท่องจำ เนื้อเพลงร่วมเดือน หลังจากนั้น จะมาทำความเข้าใจ ในความหมายของเนื้อเพลง ซึ่งบางคำ นก พงศกร ซึ่งเป็นคนอีสานแท้ๆ บอกว่า เขาเอง ยังไม่เข้าใจความหมาย เพราะเป็นคำโบราณจริงๆ

นก พงศกร 5.jpg

โดยเพลง ฮ้างกะยอม คำร้องและ ทำนอง แต่งโดย ธีรวัฒน์ เจียงคำ 

ซึ่ง ครูธี ธีรวัจน์ เผยว่า เพลงนี้เป็นการใช้ภาษาเก่า ถอดความรู้สึกตีความผสมกับพุทธสุภาษิต และลองใช้กลอักษรแบบเทียมแอก เทียบคู่ ซึ่งอาจจะซับซ้อน แต่มีความตั้งใจ อยากจะให้เหมือนกับชีวิตของคน ที่บางที เราก็รู้สึกแต่ไม่เข้าใจ โดยความหมาย * กะยอม ในเพลงมีสองความหมาย หนึ่งคือ ก็ยอม สองคือ ดอกกะยอม ตีความได้สองความหมายในทุกท่อน 

"รักเราเสมือนกะยอมที่ตายแล้ว ไม่ออกดอกไม่มีกลิ่น รักนั้นไม่มีอีกแล้ว"

ส่วนรูปแบบของโชว์นั้น ได้ ครูเบลล์ อลังการโชว์ เป็นผู้ออกแบบโชว์ทั้งหมด นับเป็นการผสมผสานศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้าน และศิลปะตะวันตก เอาไว้ได้อย่างลงตัว

นก พงศกร ยังทิ้งท้ายว่า การแสดงชุดนี้ แสดงให้เห็นถึง คำว่า ดนตรีไม่มีพรมแดน เพราะเพลง เพลงเป็นภาษาอีสานโบราณ ส่วนท่วงทำนองผสมผสานแนวเพลงต่างประเทศ โดยอยากให้ผู้ชม ผู้ฟัง เปิดใจ และฟังความหมายเพลงอยากลึกซึ้ง และอินไปกับการแสดง