เสาร์ที่ 2 เดือนมกราคมของทุกปี ซึ่งในปี 2561 นี้ ตรงกับวันที่ 13 หลายสถานที่พร้อมใจกันจัดกิจกรรม 'วันเด็กแห่งชาติ' เพื่อสร้างความสนุกให้กับเยาวชน และในปีนี้ 'กองทัพไทย' ก็ได้จัดกิจกรรมเช่นเคย พร้อมเผยโฉมอาวุธยุทโธปกรณ์นำสมัยให้เหล่าเยาวชนได้สัมผัส
ไม่ว่าจะเป็น เฮลิคอปเตอร์แบล็คฮอว์คลำเลียง MI17 ,ยานเกราะล้อยาง BTR – 3E1 จากยูเครน ,รถถัง VT4 ที่ซื้อจากจีน , รถถัง Oplot ของยูเครน ,เรือหลวงสุโขทัย,เรือหลวงปันหยี, การแสดงสมรรถนะของเครื่องบินกริพเพน 39 การแสดงการบินรบทางอากาศของเครื่องบินเอฟ-16การแสดงการบินปล่อยควันสีธงชาติของเครื่องบิน Peacemaker
หากมองดูจากอาวุธยุทธโธปกรณ์ที่ลำเลียงมาโชว์ในงานวันเด็กแล้ว กองทัพไทยถือว่ามีเขี้ยวเล็บและออฟชั่นเสริมที่ทันสมัยในระดับต้นของอาเซียน
เมื่อดูจากงบประมาณในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา พบว่ากองทัพไทยทั้ง 3 เหล่าทัพ ใช้เงินไปกว่า 72,714 ล้านบาท โดยแบ่งการจัดซื้อในแต่ละปีได้ดังนี้
ปี 2558
กองทัพบก
-จัดซื้อรถถัง VT-4 จากจีน ที่มีจุดเด่นด้วยอาวุธหลักเป็นปืนใหญ่ลำกล้องเรียบขนาด 125 มม. พร้อมด้วยปืนกลต่อสู้อากาศยาน ขนาด 12.7 มม. 1 กระบอก เครื่องยิงลูกระเบิดควัน ขนาด 76 มม. ลูกระเบิดควัน 8 ท่อ ลูกระเบิดสังหาร 4 ท่อ โดยกองทัพบกจัดซื้อจำนวน 28 คัน รวมมูลค่า 4,985 ล้านบาท
กองทัพเรือ
-ซื้อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง มูลค่า 2,850 ล้านบาท แบ่งเป็น 3 รายการได้แก่ การจัดซื้อเรือ 2,355 ล้านบาท ดำเนินการและเตรียมการจัดหาสิ่งอำนวยสะดวกในการสร้างเรือ 480 ล้านบาท และการบริหารโครงการและการฝึกอบรมหลักสูตร 15 ล้านบาท โดยไม่ได้ระบุรุ่นหรือจำนวน
-ซื้อเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง จำนวน 4 ลำ รวมมูลค่า 490 ล้านบาท ใช้งบประมาณปี 2558-2560
ปี 2559
กองทัพบก
-จัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ Mi7VS สัญชาติรัสเซีย จำนวน 2 ลำ มูลค่า 1,698 ล้านบาท
-จัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ สัญชาติรัสเซีย จำนวน 4 ลำ มูลค่า 3,385 ล้านบาท
กองทัพเรือ
-จัดซื้อเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง จำนวน 5 ลำ รวมมูลค่า 627 ล้านบาท
ปี 2560
กองทัพบก
-ซื้อรถรถถัง รุ่น VT-4 จำนวน 10 คัน มูลค่า 2,000 ล้านบาท
-ครม.ไฟเขียวซื้อรถเกราะล้อยาง รุ่น VN1 จำนวน 34 คัน มูลค่า 2,300 ล้านบาท
-สหรัฐฯเห็นชอบให้ซื้อเฮลิคอปเตอร์ รุ่น Black Hawk เพิ่ม 4 ลำ ราคาลำละ 750 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 3,000 ล้านบาท
กองทัพอากาศ
-ซื้อเครื่องบินเอนกประสงค์ รุ่น T-50 จากเกาหลีใต้ จำนวน 8 ลำ มูลค่า 8,800 ล้านบาท
กองทัพเรือ
-ซื้อเรือดำน้ำ รุ่น S26T สัญชาติจีน ราคาลำละ 13,500 ล้านบาท โดยจะทยอยซื้อจนครบ 3 ลำ รวมมูลค่า 36,000 ล้านบาท
ทั้งนี้พบว่าปี 2560 กองทัพไทยใช้งบประมาณในการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ไปทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 29,600 ล้านบาท ซึ่งเป็นปีแรกในรอบ 3 ปี ภายใต้การบริหารของ คสช. ที่มีการอนุมัติจัดซื้อครบทั้ง 3 เหล่าทัพ อย่างไรก็ดี พบว่างบกระทรวงกลาโหมได้เพิ่มขึ้นสูงถึง 4,300 ล้านบาท
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม