ตามรายงานของเครือข่ายสิทธิมนุษยชนเบอร์มา (BHRN) รายงานว่า เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ศาลเมียนมาสั่งจำคุกชาวมุสลิม 7 คน เป็นระยะเวลา 3 เดือน โทษฐานละหมาดในพื้นที่สาธารณะในย่างกุ้ง เมื่อเดือนเมษา 2017 ซึ่งคำสั่งลงโทษดังกล่าวถูกกำหนดอยู่ภายใต้กฎหมายสงครามและหมู่บ้านของเมียนมา
จ่อ วิน ผู้อำนวยการของBHRNกล่าวในแถลงการขององค์กรว่า "เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการต่อต้านและสร้างความอคติต่อชาวมุสลิมและชนกลุ่มน้อยในเมียนมา...คนเหล่านี้ถูกปฏิเสธการทำพิธีทางศาสนาโดยเจ้าหน้าที่ตั้งใจที่จะพยายามห้ามแสดงออกถึงเสรีภาพทางศาสนาของพวกเขา"
เมื่อเดือนเมษายน 2017 กลุ่มผู้ประท้วงชาวพุทธขวาจัดรวมตัวกันหน้าโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม 2 แห่งในเมืองทาร์เกตา และเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นทำการปิดโรงเรียนสอนศาสนาดังกล่าว ทั้งนี้ทางท้องถิ่นเองก็ได้มีคำสั่งสั่งปิดโรงเรียนดังกล่าวตามข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมเช่นกัน
เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงก่อนหน้าเดือนรอมฎอนเพียง 1 เดือน ส่งผลให้ชาวมุสลิมท้องถิ่นหลายคนรวมตัวกันทำพิธีละหมาดบริเวณถนนสาธารณะแทน
ขณะที่ในช่วงเดือนพฤษภาคมซึ่งตรงช่วงเทศการอมฎอน เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้เข้าระงับการทำพิธีละหมาดของชาวมุสลิมประมาณ 50 คนที่รวมตัวกันทำพิธีบนถนนสาธารณะโดยให้เหตุผลว่าการทำพิธีนั้นเป็นภัยต่อความมั่นคงและขัดกับหลักนิติธรรม
"อย่างไรก็ตามมีมุสลิมบางคนยังทำละหมาดต่อไปท่ามกลางสายฝนที่ตกลงมา เนื่องจากสถานที่ที่พวกเขาใช้ทำพิธีนั้นถูกสั่งปิด ต่อมาพวกเขาถูกจับกุมและถูกลงโทษโดยเจ้าหน้าที่" จ่อ วิน กล่าว
ปัจจุบันประชากรเมียนมาราว 90 เปอร์เซ็นต์นั้นนับถือศาสนาพุทธ และมีเพียง 4 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่นับถือศาสนาอิสลาม นับตั้งแต่การเปลี่ยนผ่านการปกครองในเมียนมาเป็นระบอบประชาธิปไตยยังเกิดการเลือกปฏิบัติอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะกับชาวมุสลิมโรฮิงญา
หน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนรายงาน ชาวมุสลิมโรฮิงญากว่า 670,000 คนได้หลบหนีออกนอกพื้นที่จากการกวาดล้างจากทาหรและประชาชนชาวพุทธที่อาศัยอยู่ในรัฐยะไข่ทางตอนใต้ของประเทศ ขณะที่ทางสหประชาชาติประณามการกวาดล้างในครั้งนั้นว่าเป็น 'การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์'
ที่มา asiancorrespondent
ข่าวที่เกี่ยวข้อง