ไม่พบผลการค้นหา
‘เข็มทอง’ ชี้ มาตรฐานการเมืองอ่อนแอ เปิดช่องโยนอำนาจศาลตัดสิน ‘จริยธรรม’ แต่กลับสร้างปัญหาเพิ่มเติม ย้ำจริยธรรมไม่ใช่กฎหมาย แต่ถูกใช้บ่อย และนักการเมืองไม่ได้เป็นผู้กำหนด

เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2566 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ จัดงานเสวนาวิชาการ หัวข้อ ‘ประเทศไทยกับหลักนิติธรรม: คดีจริยธรรมผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง’ โดยมี เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหนึ่งในวิทยากรผู้บรรยาย

แม้คดีจริยธรรม และลงโทษตัดสิทธิลงรับสมัครเลือกตั้งตลอดชีพของบรรดานักการเมืองจะไม่ได้เกิดขึ้นกับพรรณิการ์ วานิช อดีตโฆษกพรรคอนาคตใหม่เป็นคนแรก แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า กรณีดังกล่าวทำให้ผู้คนหันกลับมาตั้งคำถามดังๆ อีกครั้งว่า 'จริยธรรม' ที่ว่านั้นคืออะไร มันเป็นกฎหมายหรือไม่ ทำไมถึงมีโทษร้ายแรงถึงขั้นประหารชีวิตทางการเมือง

เข็มทอง ชี้ให้เห็นว่า จริงๆ แล้ว กฎหมาย กับจริยธรรม มีความใกล้ชิดกันมาก แต่ก็ไม่ถือว่าเป็นเนื้อเดียวกันทั้งหมด ความเหมือนที่ว่าคือ ทั้งสองสิ่งนี้ถูกใช้เป็นบรรทัดฐานควบคุมพฤติกรรมของผู้คน แต่จุดเริ่มต้น หรือวิธีคิดระหว่างสองสิ่งนี้มีที่มาแตกต่างกันพอสมควร

กฎหมาย เกิดขึ้นบนวิธีคิดแบบปฏิฐานนิยม (positivism) กฎหมายถือเป็นบรรทัดฐาน ที่บังคับใช้กับพฤติกรรม หรือการกระทำของมนุษย์ โดยเป็นการนำเอาบรรทัดฐานจากภายนอกเข้ามาบังคับควบคุม หากไม่ทำตามจะมีโทษ

จริยธรรม เกิดขึ้นจาก แนวคิดว่าแบบ moralityถือเป็นวิธีคิดที่มาจากภายใน เกิดจากความคิดความเชื่อ การตกผลึกของเราเอง มีปัจจัยภายในเป็นตัวหนุนเสริม

ทั้งนี้เมื่อมีการนำสิ่งต่างๆ มาเขียนเป็นกฎหมาย ก็คือการเอาบรรทัดฐานบางอย่างมาผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ เมื่อเป็นอย่างนี้ อะไรที่เป็นลายลักษณ์อักษรเขียนลงที่รัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายอื่นๆ นี่จะถือว่าเป็นปัญหาทางกฎหมาย สิ่งอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือนี้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางจริยธรรม ปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ ปัญหาการเมือง ปกติจะมีการการพยายามนำเข้ามาเป็นปัญหาทางกฎหมาย

สำหรับมาตรฐานจริยธรรมของ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ฯ สิ่งนี้ถือเป็นจริยธรรมของหลักวิชาชีพ ซึ่งจริยธรรมของหลักวิชาชีพของหลายๆ อาชีพ เริ่มมาจากกลุ่มคนในวิชาชีพเดียวกัน เช่นนักกหมายเป็นอาชีพหนึ่งที่จะมีจริยธรรมร่วมกัน โดยมีวิธีคิดว่า เฉพาะคนที่มีจริยธรรมร่วมกันเท่านั้นถึงจะอยู่ร่วมกันได้ หรือพูดง่ายๆ คือ ศีลเสมอกัน หากศีลไม่เสมอกันก็อยู่ด้วยกันไม่ได้ ต้องขับออกจากกลุ่ม

ฉะนั้นจริยธรรมจึงเริ่มมาจากกลุ่มคนที่มีอาชีพเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็น นักกฎหมาย แพทย์ สถาปนิค ฯลฯ แต่จริยธรรมเหล่านี้ยังคงเน้นเพียงแค่การเป็นมาตรฐานภายในกลุ่ม ซึ่งมีการกำหนดออกแบบร่วมกัน และความผิดบางอย่างก็ถือว่ายังเป็นเพียงแค่ความผิดทางจริยธรรม แต่ความผิดบางอย่างก็ถือว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมายด้วย 

เมื่อเข้ามาสู่ประเด็นจริยธรรมสำหรับนักการเมือง สิ่งที่น่าสนใจคือ ปัญหาที่ว่าอะไรคือจริยธรรม และอะไรคือกฎหมาย เป็นสิ่งที่ลื่นไหล ขยับได้ บางอย่างเป็นจริยธรรมที่ไม่ต้องมีกฎหมายมากำกับ แม้จริยธรรมในกลุ่มอาชีพทนายความ แพทย์  ล้วนแต่มีกฎหมายรองรับ

แต่สำหรับจริยธรรมสำหรับนักการเมืองจะมีความแตกต่างออกไป ห่างดูจากรัฐธรรมนูญ จะพบว่าจริยธรรมที่บังคับใช้กับนักการเมืองนั้น ไม้ได้เป็นจริยธรรมทื่นักการเมืองมีส่วนร่วมกำหนดขึ้น แต่เป็นสิ่งที่ศาลและองค์อิสระจัดทำขึ้น และให้นั้นมาใช้กับ สส. - สว. ด้วย

ด้วยเหตุนี้จริยธรรมดังกล่าวจึงถูกตั้งคำถามมทันที คือ นี่ถือเป็นข้อตกลงภายในของนักการเมืองว่าด้วยมาตรฐานความประพฤติหรือไม่ หรือเป็นสิ่งที่ถูกบังคับจากภายนอก ในส่วนของตัวเนื้อหาเอง สิ่งนี้จะยังถือว่าเป็นปัญหาจริยธรรม หรือปัญหาทางกฎหมาย และเมื่อเกิดความผิดขึ้นจะต้องรับผิดทางจริยธรรม หรือรับผิดทางกฎหมาย 

อย่างไรก็ตามมีเหตุผลที่จริยธรรม ถูกย้ายขึ้นมาเป็นกฎหมาย เนื่องจากเกิดปรากฎการณ์ที่มีการนำศาลเข้ามาควบคุม ตรวจสอบกระบวนการทางการเมือง เพราะโดยมาตรฐานนักการเมืองในปัจจุบัน หากให้ตัดสินประเด็นทางจริยธรรมกันเอง เป็นไปได้ว่าหากมีการตัดสินแล้วจะไม่มีใครผิดเลย

สมมติว่า เกิดกรณี สส. ดูภาพโป๊ในสภา แล้วมีสื่อจับภาพไว้ได้ ในบางประเทศ สส. คนนั้นอาจจะแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกทันที ยังไม่ต้องมีการตัดสินเรื่องจริยธรรม หรือในบางประเทศอาจจะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบและลงโทษ แต่ก็มีความเป็นไปที่เมื่อมีการตรวจสอบแล้วจะผลออกมาว่าไม่ผิด ฉะนั้นการที่ศาลเข้ามาตรวจสอบกระบวนการทางการเมืองได้

ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่า รัฐสภา มาตรฐานการเมืองของเรา อ่อนแอจนไม่สามารถตรวจสอบควบคุมกันเองได้ ตัวอย่างเช่น เร็วๆ นี้ กรณี สว. กับข้อพิพาทวัดบางคลาน วุฒิสภาก็มีผลสอบออกมาว่าไม่ผิดจริยธรรม หรือกรณีตำรวจหญิง อ้างตัวเป็นคนสนิท สว. ทำร้ายร่างกายทหารรับใช้ กรณีนี้ผลสอบออกมาก็ไม่ผิด 

แม้การนำศาลเข้ามาตรวจสอบกระบวนการทางการเมืองจะเป็นเรื่องทื่ดูเข้าใจได้ แต่ในอีกมุมหนึ่งก็เป็นปัญหาเช่นเดียวกัน

ในกรณีที่เป็นนักกฎหมาย ถือว่ามีความเป็นวิชาชีพ เพราะผ่านการเรียนนิติศาสตร์ มีการตีความ มีวิธีการใช้กฎหมาย และมีมาตรฐานในการใช้กฎหมาย แต่เมื่อมีการโยนเอาจริยธรรมมาให้นักกฎหมายพิจารณา ไม่แน่ใจว่า ผู้พิพากษา จะมีความสามารถที่จะตัดสินคดีความจริยธรรมของนักการเมืองได้มากน้อยแค่ไหน

เพราะเอาเข้าจริงเมื่อถามว่าอะไรคือ ความเชี่ยวชาญทางด้านจริยธรรม เป็นสิ่งที่ไม่มีใครตอบได้ และหากให้จัดหลักสูตรอบรมผู้พิพากษาเพื่อตัดสินจริยธรรมนักการเมือง ก็คงไม่รู้จะอบรมกันเรื่องอะไร และคงไม่สามารถทำให้ศาลเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านจริยธรรมนักการเมืองขึ้นมา เมื่อเป็นเช่นนี้ คำถามคือ เหมาะสมหรือไม่ กับการให้ศาลเป็นผู้ตัดสินคดีจริยธรรมนักการเมือง 

การนำเอากฎหมายและจริยธรรมไปใส่ไว้ในมือองค์กรเดียว จะเกิดปัญหาขึ้นมาอย่างหนึ่งคือ สิ่งที่นักการเมืองคนหนึ่งทำ ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย แต่เมื่อลงมาดูในประเด็นจริยธรรม มาตรฐานในการพิสูจน์เพื่อที่จะเอาผิดกลับต่ำลง

ขณะเดียวเมื่อมีการส่งประเด็นทางจริยธรรมไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ศาลไม่รับพิจาณราเพราะไม่ใช่ประเด็นทางกฎหมาย ปัญหามันอยู่ที่ เมื่อจริยธรรมไม่ใช่กฎหมายก็ไม่ควรมีอำนาจถึงขนาดชี้ได้ว่าต้องตัดสิทธิทางการเมืองของประชาชน แต่นี่กลับมีการตัดสิทธิทางการเมืองมากกว่ากฎหมายเสียอีก 

“นี่คือความลักลั่นที่เกิดขึ้น เป็นไปได้อย่างไร สิ่งที่ถูกตรวจสอบได้น้อยกว่า กลับมีฤทธิ์ที่ร้ายแรงกว่า และถูกนำมาใช้ได้ง่ายกว่า คดีจริยธรรมที่สามารถตัดสิทธิทางการเมืองได้ตอลดชีวิต กับโทษทางอาญา อะไรที่โทษมันรุนแรงกว่ากัน เราจำเป็นต้องคิดเรื่องนี้ให้ดีๆ”

อีกประเด็นหนึ่งซึ่งถือเป็นประเด็นที่น่าสนใจในคดีของพรรณนิการ์ คือ การที่ศาลอ้างความเป็นตัวแทนของปงชนชาวไทย ในการพูดถึงสถานะของพระมหากษัตริย์ ประเด็นนี้เป็นสิ่งที่เป็นข้อถกเถียงทั่วโลก เวลามีการตัดสินในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ความเชื่อ ศาลก็จะต้องอ้างถึงความคิดของมหาชน หรือคนส่วนใหญ่ แต่สิ่งที่ต้องตั้งคำถามคือ ศึกในการแย่งชิงความเป็นตัวแทนของคนส่วนใหญ่ ศาลมีความน่าเชื่อถือ หลักฐานหนุนหลังขนาดไหนที่จะพูดในฐานะตัวแทนของมหาชนได้ 

ทิศทางการเมืองไทย เฉพาะ 10 ปีมานี้จะเห็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นคือ มีความพยายามเป็น ศีลธรรมนิยม เพิ่มมากขึ้น แต่ไม่ได้เป็นถึงขั้นของการเป็นรัฐศาสนา และเอาเข้าจริงแล้วจริยธรรมที่เห้นว่าสุดโต่งนั้น ก็เป็นเพียงการบังคับใช้เป็นรายๆ ไป ไม่เคยมีการใช้อย่างเสมอหน้า สิ่งที่มาพร้อมกับศีลธรรมนิยมสำรหับประเทศไทย ล้วนมาพร้อมกับการเลือกที่รักมักที่ชัง ซึ่งหลายคนในฐานะหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายจะมีวิธีอ้างง่ายๆ ว่า ถ้ามีการสั่งฟ้องคดีมากก็ต้องตัดสินไปตามกฎหมาย แต่บังเอิญว่าบางคดีไม่เคยมาถึงศาล

คำอ้างลักษณะพอฟังได้ หากเราเป็นหุ่นยนต์ที่ใช้กฎหมาย เราก็แค่ตัดสินไปตามกฎหมาย แต่โชคร้ายเหลือเกินที่การตัดสินนั้นมีแต่ศัตรูของรัฐ หรือศัตรูของชนชั้นนำทั้งหมด  แต่คำถามคือ นี่เรากำลังเป็นส่วนหนึ่งของการบิดเบื่อนหลักนิติธรรมหรือไม่