ไม่พบผลการค้นหา
ม็อบลุ่มน้ำชีร้อยเอ็ด-ยโสธร ขนข้าวสารอาหารแห้ง ปักหลักนอนศาลากลางยโสธร รอคำตอบแก้ไขปัญหาสร้างเขื่อน

ที่ศาลากลาง จังหวัดยโสธร กลุ่มเครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชี จ.ร้อยเอ็ดและ จ.ยโสธร กว่า 200 คน เดินมายื่นหนังสือข้อเสนอให้ดำเนินการประชุมคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการสร้างเขื่อนร้อยเอ็ด, เขื่อนยโสธร-พนมไพร, เขื่อนธาตุน้อยลุ่มน้ำชี จำนวน 4 ชุด เพื่อส่งต่อให้ 'เฉลิมชัย ศรีอ่อน' รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกลุ่มเครือข่ายลุ่มน้ำชีฯ ได้นำข้าวสาร อาหารแห้งและเครื่องนอนมาปักหลักนอนค้างแรม เพื่อรอคำตอบเป็นลายลักษณ์อักษรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังมีตัวแทนคณะก้าวหน้ายโสธรเข้าร่วมสังเกตการณ์

โดยทางกลุ่มเครือข่ายลุ่มน้ำชีฯ ได้ประกาศขอให้ ประเสริฐ ลือชาธนานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร ลงมารับหนังสือร้องเรียนเพื่อส่งต่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขณะเดียวกัน ผอ.ศูนย์ดำรงธรรม จ.ยโสธร ได้แจ้งต่อผู้ชุมนุมว่าผู้ว่าราชการและรองผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธรได้เดินทางไปปฏิบัติราชการอยู่ต่างอำเภอ ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กลุ่มผู้ชุมนุมเป็นอย่างมากเนื่องจากผู้ชุมนุมมองว่าผู้บริหารจังหวัดยโสธร ไม่เคยลงมาพบปะหรือรับทราบปัญหาที่แท้จริงของผู้ชุมนุมเลย 

S__92004359.jpg

ต่อมาเวลา 12.00 น. กลุ่มผู้ชุมนุมได้ประกาศเดินเท้าไปหน้าศาลากลางจังหวัดยโสธร เพื่อยื่นหนังสือให้ สมเพชร สร้อยสระคู รองผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร เป็นคนรับหนังสือแทนเมื่อทราบว่ากลับมาจากปฏิบัติราชการแล้ว กระทั่ง สมเพชร เดินลงมารับหนังสือแต่กลุ่มผู้ชุมนุมได้เดินเท้ากลับไปที่ตั้ง เพื่อรับประทานอาหารกลางวัน จนรองผู้ว่าฯ ได้เดินทางไปรับหนังสือต่อผู้ชุมนุม

นิมิต หาระพันธ์ ตัวแทนเครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชีตอนล่าง จ.ร้อยเอ็ด และ จ.ยโสธร สำหรับ 11 ปี กับกระบวนการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา โดยเฉพาะรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่รับผิดชอบโดยตรงไม่มีความคืบหน้า สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่มีความจริงใจในการแก้ไขปัญหา ในขณะที่การแต่งตั้งอนุกรรมการแก้ไขปัญหาจำนวน 4 ชุดนั้น ทางชาวบ้านก็หวังว่าจะมีกระบวนการดำเนินการแก้ไขปัญหาให้ชาวบ้านเครือข่ายลุ่มน้ำชี แต่กลับเสมือนเป็นการเตะถ่วง

ดังนั้นเพื่อให้มีกระบวนการแก้ไขปัญหาเป็นรูปธรรมทางเครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชีตอนล่าง จ.ร้อยเอ็ด และ จ.ยโสธร จึงมีข้อเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดังนี้ 1.ให้คณะอนุกรรมการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมจากโครงการ โดยให้ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน ให้ดำเนินการกำหนดวันประชุมภายในเดือนตุลาคม 2563

2.ให้คณะอนุกรรมการศึกษาหลักเกณฑ์เพื่อกำหนดกรอบและแนวทางการชดเชยความเสียหาย หรือเยียวยาราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ

S__92004363.jpg