วันที่ 5 ส.ค. 2564 ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค.รายงานสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลกพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 683,085 คน สะสม 200,989,081 คน เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 10,105 คน สะสม 4,270,029 คน
10 ประเทศ พบผู้ติดเชื้อมากที่สุด 1.สหรัฐอเมริกา 112,279 คน 2.อิเดีย 42,817 คน 3. บราซิล 40,460 คน 4. อิหร่าน 39,357 คน 5.อิโดนีเซีย 35,867 คน 6.สหราชอาณาจักร 29,312 คน 7. ฝรั่งเศส 28,784 คน 8.ตุรกี 26,822 คน 9. รัสเซีย 22,589 คน 10.สเปน 21,874 คน
สำหรับประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อใหม่ เป็นอันดับที่ 11 ของโลก 20,920 คน ยอดสะสมขยับขึ้นที่ 40 ของโลก 693,305 คน เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 160 คน เสียชีวิตสะสม 5,663 คน รักษาตัวอยู่ 213,910 คน อาการหนัก 4,993 คน ใส่เครื่องช่วยหายใจ 1,058 คน
ผู้เสียชีวิตอยู่ใน กรุงเทพมหานคร 78 คน สมุทรปราการ ปทุมธานี จังหวัดละ 8 คน นนทบุรี นครสวรรค์ จังหวัดละ 7 คนสมุทรสาคร ปัตตานี ชลบุรี จังหวัดละ 6 คน ระยอง 4 คน เพชรบูรณ์ ตาก ร้อยเอ็ด จังหวัดละ 3 คน กาฬสินธุ์ นครราชสีมา สกลนคร จังหวัดละ 2 คน สงขลา ภูเก็ตสุราษฎร์ธานี นครพนม บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู อุดรธานี อุบลราชธานีชัยนาท อุทัยธานี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ราชบุรี สระแก้ว จังหวัดละ 1 คน
แบ่งเป็นเพศชาย 90 คน เพศหญิง 70 คน คนไทย 158 คน เมียนมา 2 คน อายุตั้งแต่ 12 ถึง 95 ปี
10 จังหวัดพบผู้ติดเชื้อมากที่สุด กรุงเทพมหานคร 4,140 คน สมุทรปราการ 1,326 คน ชลบุรี 1,311 คน สมุทรสาคร 1,279 คน นนทบุรี 754 คน นครราชสีมา 565 คน สระบุรี 494 คน ปทุมธานี 463 คน ฉะเชิงเทรา 449 คน พระนครศรีอยุธยา 427 คน
พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษก ศบค.แถลงว่า สำหรับวัคซีนไฟเซอร์ ที่จะฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์ได้ส่งไปยังโรงพยาบาลแล้ว โดยในกรุงเทพมหานคร มีดังนี้ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ , ศิริราช , รามาธิบดี , ศิริราชปิยมหาราชการุณย์ , ราชวิถี , สถาบันบําราชนาดูล
ส่วนต่างจังหวัด โรงพยาบาลพุทธะโสธร จ. ฉะเชิงเทรา , โรงพยาบาลพระปกเกล้า จ.ชลบุรี ,โรงพยาบาลสมุทรปราการ , โรงพยาบาลจังหวัดนครนายก , โรงพยาบาลจังหวัดสระบุรี และ โรงพยาบาลจังหวัดระยอง
พญ.อภิสมัย กล่าวว่า เนื่องจากปัจจุบันพบการติดเชื้อจำนวนมาก ดังนั้น คน 4 กลุุ่ม ควรที่จะต้องไปตรวจหาเชื้อโควิด ประกอบด้วย
1.ผู้มีอุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 37.3 องศาเซลเซียส ขึ้นไปขอให้ตรวจทุกราย เพราะผลการติดเชื้อของคนกลุ่มนี้อยู่ที่ 25%
2.ผู้ที่มีความใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยัน
3.ผู้เดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงไม่ว่าจะเป็น ตลาด โรงงาน ฯลฯ
4.มีอาชีพหรือกิจกรรมเสี่ยง
พญ.อภิสมัย กล่าวว่า อธิบดีกรมการแพทย์ ย้ำว่ายาฟาวิพิราเวียร์ เพียงพอ แต่ไม่ใช่ผู้ป่วยกับคนที่จำเป็นต้องได้รับยาดังกล่าว โดยแพทย์จะประเมินตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่มีสุขภาพแข็งแรงและไม่มีอาการ ไม่จำเป็นต้องได้รับยาฟาวิพิราเวียร์
ส่วนการฉีดวัคซีน ตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ.ถึง 4 ส.ค. ฉีดแล้วทั้งสิ้น 18,961,703 โดส แบ่งเป็นเข็มที่หนึ่ง 14,783,001 รายเข็มที่สอง 4,178,702 ราย