หลังจากที่ ยูนซอกยอล ประธานาธิบดีเกาหลีใต้เดินทางเยือนสหรัฐฯ พร้อมเข้าพบโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการ ทั้งสองได้ทำข้อตกลงครั้งสำคัญเพื่อตอบโต้ภัยคุกคามนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ โดยสหรัฐฯ ตกลงที่จะนำเรือดำน้ำติดอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ เข้ามาประจำการยังเกาหลีใต้เป็นระยะๆ ทั้งนี้ เกาหลีใต้ได้ทำข้อตกลงตอบคืนโดยจะไม่ทำการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของตัวเอง
ประเด็นที่โลกสนใจคือการที่สหรัฐฯ จะนำเรือดำน้ำติดอาวุธนิวเคลียร์ไปประจำการยังท่าเรือของเกาหลีใต้ ซึ่งมีการตั้งข้อสงสัยและคำถามว่าเหตุผลที่แท้จริงคืออะไรกันแน่เนื่องจากถ้าพูดถึงเรื่องประสิทธิภาพของการนำเรือดำน้ำที่มีประสิทธิภาพสูงในลักษณะนี้ไปจอดที่ท่าเรือถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่เป็นเหตุเป็นผลในการใช้งานหากต้องใช้งานขึ้นมาจริงๆ
เรือดำน้ำติดอาวุธนิวเคลียร์ดังกล่าวมีชื่อว่า ‘Boomer’ เป็นประเภท Ohio-class ปัจจุบันมีอยู่ทั้งหมด 14 ลำโดย 8 ลำอยู่ที่มลรัฐวอชิงตันและอีก 6 ลำอยู่ที่มลรัฐจอร์เจีย แต่ละลำมีน้ำหนักมากถึง 18,000 ตันและสามารถทำงานได้ไกล 7,400 กิโลเมตร หมายความว่าเรือดำน้ำติดอาวุธนิวเคลียร์นี้สามารถยิงเป้าที่เกาหลีเหนือได้จากกลางมหาสมุทรแปซิฟิกมหาสมุทรอินเดียหรือแม้กระทั่งมหาสมุทรอาร์กติก
นักวิเคราะห์มองว่าเหตุผลหลักที่กองทัพสหรัฐตัดสินใจส่งเรือดำน้ำติดอาวุธนิวเคลียร์ไปประจำที่เกาหลีใต้เป็นเหตุผลเชิงสัญลักษณ์เท่านั้นเพราะเอาเข้าจริงๆแล้วประสิทธิภาพในการทำงานในการนำเรือดำน้ำประเภทหนีไปจอดไว้ที่ท่าเรือถือว่าลดลงอย่างมาก
เรือดำน้ำติดอาวุธนิวเคลียร์ดังกล่าวถูกออกแบบมาให้ญาติถึงขั้นที่ไม่สามารถระบุได้ว่าอยู่ณจุดใดของโลกและจะเริ่มทำการโจมตีเมื่อใดโดยขณะใช้งานจะอยู่ลึกลงไปหลาย 100 ฟุตใต้ท้องทะเลการนำเรือดำน้ำดังกล่าวไปจอดที่ท่าเรือจึงเป็นการเปิดเผยอย่างโจ่งแจ้งให้ศัตรูหรือใครก็ตามได้รู้ว่าเรือดำน้ำลำนี้จอดอยู่ที่ใดซึ่งตรงกันข้ามกับจุดประสงค์หลักในการออกแบบมาตั้งแต่ต้น
เป้าประสงค์เชิงสัญลักษณ์ดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่นักวิเคราะห์มองว่านี่คือเป้าหมายที่แท้จริงของสหรัฐเพราะไม่น่าจะนำไปสู่การใช้งานจริงจริงแต่สหรัฐต้องการส่งสัญญาณให้เกาหลีใต้รู้ว่าสหรัฐพร้อมดูแลปกป้องและสนับสนุนพันธมิตรนี้เสมอ ท่ามกลางความพยายามของคิมจองอื่นผู้นำเกาหลีเหนือในการทดสอบขีปนาวุธอย่างโจ่งแจ้งและเปิดเผยอย่างยิ่งตลอดช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมาโดยในปี 2565 นับเป็นปีที่เกาหลีเหนือยิงทดสอบขีปนาวุธมากที่สุด