ไม่พบผลการค้นหา
สองเกาหลีตกลงหารือระดับสูงก่อนวันรวมญาติ
นายกฯ เรียกประชุมด่วน ครม. ย่อย 9 คน
เปิดใจ 'ธีรัตถ์ รัตนเสวี' โฆษกรัฐบาลคนใหม่
ร้าน บ้วนง้วน
นิทรรศการโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
Coffee with : ยุรนันท์ ภมรมนตรี
ส.อ.ท.เตรียมชงธปท.ลดดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 1
Lobsters with Garlic & Pepper
หยุดสร้างเรื่องแบ่งแยกดินแดน เพื่อทำลายประชาธิปไตย
เมื่อเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ตถูกจำกัด
นักวิชาการมององค์กรอิสระ แช่แข็งประเทศไทย
ปชป.ยื่นศาล รธน.สั่งเลือกตั้งเป็นโมฆะ
'แซม ยุรนันท์'ยอมรับแพ้'แทนคุณ' เหตุเวลาหาเสียงน้อย
Trip : Teddy Bike – JJ Green
ประเทศไทย ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา
จะให้จบที่ 'เลือกตั้ง' หรือ 'สงคราม' ?
ต่อให้กระสุนยางแต่ก็ยังมีคนตาย 98 ศพ
เพื่อไทยยืนยันนายกฯปรับครม.เอง
โอ้ว!!! หลักนิติธรรมค้ำจุนโลก
นายกฯที่มีความเป็นธรรมราชามีหน้าตาเป็นอย่างไร?
'เต้าสะท้าน-แขนสะเทือน' หญิงบราซิลต้านข่มขืน
Apr 2, 2014 00:06
Rights Watch ประจำวันที่ 2 เมษายน 2557 
 
ผลสำรวจของสถาบันวิจัยแห่งชาติบราซิลพบว่า ชาวบราซิลมีทัศนคติเกี่ยวกับสิทธิสตรีที่ไม่อาจยอมรับได้ในสังคมโลก อย่างไรก็ตาม นักหนังสือพิมพ์ชาวบราซิล ได้ออกแคมเปญเปลื้องผ้า เขียนข้อความลงบนเรือนร่าง การรณรงค์ที่สุดโต่งเช่นนี้จะได้รับเสียงตอบรับอย่างไรบ้าง 
 
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สถาบันวิจัยแห่งชาติบราซิล ตีพิมพ์รายงานเกี่ยวกับทัศนคติของชาวบราซิล ที่มีต่อการล่วงละเมิดทางเพศและการข่มขืน หลังคณะวิจัยลงพื้นที่สัมภาษณ์ประชาชนชาวบราซิลจำนวน 3,800 คนทั่วประเทศ โดยยิงคำถามหลักคือ "ถ้าผู้หญิงนุ่งน้อย ห่มน้อย และโชว์เรือนร่าง พวกเธอควรที่จะถูกข่มขืนหรือมีเพศสัมพันธ์ด้วยหรือไม่" ปรากฏว่าประชาชนชาวบราซิลร้อยละ 65 ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า พวกเธอสมควรถูกมองว่าเป็นคนที่น่ามีเพศสัมพันธ์ด้วย แต่ที่น่าตกใจกว่านั้นก็คือ บางรายเห็นว่าพวกเธอ "ควรถูกข่มขืน"
 
จากผลวิจัยชิ้นนี้ นานา เคียรอซ นักหนังสือพิมพ์ของมหาวิทยาลัยเซาเปาโล ประเทศบราซิล จึงได้เริ่มการรณรงค์ต่อต้านการข่มขืนและการล่วงละเมิดทางเพศ ด้วยการเขียนข้อความบนเรือนร่างอันเปลือยเปล่าของตนเอง ด้วยข้อความภาษาโปรตุเกสว่า "เนา เมรีส เซ รีสซุปราดา" แปลว่า "ฉันไม่ควรถูกข่มขืน" กับ "นิงเกม เมอแรสซี" แปลว่า "ไม่มีใครสมควรได้รับมัน" แล้วถ่ายรูปที่หน้าอาคารรัฐสภาก่อนโพสต์ลงในเฟซบุ๊กกลุ่ม พร้อมใส่แฮชแท็กเป็นข้อความข้างต้นด้วย ซึ่งแคมเปญนี้ได้เสียงตอบรับในสังคมออนไลน์เป็นอย่างดี
 
เคียรอซกล่าวว่า เธอรู้สึกประหลาดใจกับคำถามและคำตอบที่ได้รับจากการประชาชนชาวบราซิลมากกว่าครึ่ง เพราะมันแสดงให้เห็นว่าเพื่อนร่วมชาติของเธอมีทัศนคติทางเพศที่แย่เกินกว่าจะยอมรับได้ และผู้หญิงก็ยังคงตกเป็นเหยื่อของการคุกคามทางเพศมากที่สุดเช่นเดิม ขณะเดียวกัน คำถามจากงานวิจัยดังกล่าวยังเป็นคำถามปลายปิดที่ทำให้พวกเขาไม่สามารถตอบคำถามได้อย่างอิสระและไม่สามารถสะท้อนความเห็นที่แท้จริงออกมาได้ 
 
ทุกวันนี้ ดูเหมือนว่าทัศนคติของชาวบราซิลไม่ว่าจะชายหรือหญิง ยังไม่ตระหนักในสิทธิเท่าเทียมทางเพศเท่าไรนัก จากรายงานขององค์การนิรโทษกรรมสากล หรือ เอไอ รายงานว่า สภาวการณ์ด้านการคุ้มครองสิทธิสตรีในบราซิลอยู่ในระดับน่าเป็นห่วง เช่นเหตุการณ์ล่าสุดเมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ที่ศาลสูงบราซิลได้ยกฟ้องผู้ต้องหาในคดีข่มขืนเด็กหญิงอายุ 12 ปี ก็เป็นกรณีที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์และถูกประณามจากสังคมโลกอย่างกว้างขวาง
 
ขณะที่ ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเป็นหนึ่งในปัญหาเรื้อรังที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข  ร้อยละ 91 ของประชากรชายถูกจำคุกเพราะทำร้ายร่างกายคู่สมรส อย่างไรก็ดี นางดิลมา รุสเซฟฟ์ ประธานาธิบดีหญิงคนแรกของบราซิล ได้ทวีตข้อความลงในทวิตเตอร์ เกี่ยวกับรายงานสำรวจดังกล่าวว่า "แม้จะนานเพียงไร เราจะต้องต่อสู้เพื่อสิทธิสตรี" ซึ่งอาจเป็นสัญญาณที่ดีของ "สิทธิสตรี" ในบราซิลก็เป็นได้    
Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog