ไม่พบผลการค้นหา
The Toppick - ไฮเปอร์ลูปเวอร์จินแซงเทสลา อินเดียจัดเป็นโครงสร้างพื้นฐานไม่ต่างจากรถไฟ - Short Clip
The Toppick - นักวิทยาศาสตร์ หวังสร้างนำแข็งคืนสู่ 'อาร์กติก' - Short Clip
World Trend - ทั่วโลกต้องเร่งรับมือ 'ภาวะโลกร้อน' ก่อนจะสายเกินแก้ - Short Clip
World Trend - คาด 30 ปีข้างหน้า อากาศโลกจะเปลี่ยนแปลงรุนแรง - Short Clip
The Toppick - เนปาลจ่อกำหนดประสบการณ์ขั้นต่ำก่อนปีนเอเวอร์เรสต์ - Short Clip
The Toppick - 'แก่ก่อนรวย' เศรษฐกิจไทยพัฒนาไม่ทันสังคมสูงวัย - Short Clip
The Toppick - ญี่ปุ่นร้อน ผู้ชายหันมาใช้ร่มกันแดดตามคำแนะนำรัฐบาล - Short Clip
The Toppick - สไลเดอร์น้ำในปีนัง ยาวเป็นกิโลฯ ทำลายสถิติโลก - Short Clip
The Toppick - ผลสำรวจชี้ ชาวเวียดนามนิยมเที่ยวไทยในวันหยุดยาว - Short Clip
The Toppick - เอกวาดอร์ประท้วงใหญ่ รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน - Short Clip
The Toppick - รู้จัก 'หอยโทริไก' ที่เกียวโต แหล่งเลี้ยงหนึ่งเดียวในญี่ปุ่น - Short Clip
The Toppick - 'แวร์ซาย' พ่ายแพ้โลกร้อน ทิ้งประวัติศาสตร์รับความจริง - Short Clip
The Toppick - รีสอร์ตกลางน้ำในโกตดิวัวร์ ลอยได้ด้วยขยะ 7 แสนชิ้น - Short Clip
The Toppick - จีน เปิดตัวมาสคอตโอลิมปิก 2022 แพนด้าปิงตวนตวน - Short Clip
The Toppick - พบ 'ฝนตกเป็นพลาสติก' ณ เทือกเขาในสหรัฐฯ - Short Clip
The Toppick - ผู้นำบราซิลเมินความช่วยเหลือดับไฟป่าเพราะแนวคิดแบบทหาร - Short Clip
The Toppick - พิวดีพาย นักแคสต์เกมคนแรก ที่มีผู้ติดตามยูทูบ 100 ล้าน - Short Clip
The Toppick - ไมโครพลาสติกในน้ำอาจไม่เป็นอันตรายกับมนุษย์ - Short Clip
The Toppick - แท็กซี่ลอยฟ้า เทรนด์อนาคตที่ใกล้ความเป็นจริงขึ้นทุกที - Short Clip
The Toppick - รถยนต์ไฟฟ้า รักษ์โลกหรือแค่ไลฟ์สไตล์ - Short Clip
The Toppick - อินโดฯระบุพิกัดเมืองหลวงใหม่ กระจายความเจริญ-หนีเมืองจมน้ำ - Short Clip
Aug 29, 2019 01:12

หลังประกาศจะย้ายเมืองหลวงจากกรุงจาร์กาตา เกาะชวา ไปยังเกาะบอร์เนียว ล่าสุด อินโดนีเซีย ได้ตีกรอบแล้วว่าเมืองหลวงใหม่ซึ่งยังไม่มีชื่อนี้ จะตั้งอยู่ระหว่างเขตเปอนาจัมปาเซร์เหนือกับเขตกูไตการ์ตาเนอการา ในจังหวัดกาลีมันตันตะวันออก ของเกาะบอร์เนียว

โจโก วิโดโด หรือรู้จักกันในนามโจโกวี ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ประกาศอย่างเป็นทางการแล้วว่าเมืองหลวงใหม่ของอินโดนีเซียจะตั้งอยู่ในจังหวัด "กาลีมันตันตะวันออก" (East Kalimantan) บนเกาะบอร์เนียว (Borneo) โดยจะอยู่ระหว่างเขต "เปอนาจัมปาเซร์เหนือ" (North Penajam Paser) กับเขต "กูไตการ์ ตาเนอการา" (Kutai Kartanegara)

โจโกวี กล่าวว่า "กาลีมันตันตะวันออกมีความเสี่ยงต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติต่ำ ไม่ว่าจะเป็นไฟป่าหรือแผ่นดินไหว อีกทั้งยังเป็นตำแหน่งยุทธศาสตร์เนื่องจากตั้งอยู่ใจกลางประเทศอินโดนีเซีย และอยู่ใกล้กับเขตเมืองที่พัฒนาแล้ว" 

ที่ตั้งเมืองหลวงใหม่นี้ จะอยู่ห่างจากจาการ์ตาที่เป็นเมืองหลวงเดิมถึง 1,400 กิโลเมตร โดยโจโกวีชี้ว่า การย้ายเมืองหลวงในครั้งนี้ จะช่วยกระจายกิจกรรมทางเศรษฐกิจออกไปนอกเกาะชวา ที่ตั้งของเมืองจาการ์ตา ทั้งนี้เกาะชวาเป็นเกาะที่มีประชากรมากที่สุดถึงเกือบ 60 เปอร์เซ็นต์ของประชากรในอินโดนีเซีย ขณะที่เกาะชวามีประชากร 5.8 เปอร์เซ็นต์ของประเทศ

ประธานาธิบดีอินโดนีเซียระบุว่า การย้ายเมืองหลวงในครั้งนี้จะใช้งบประมาณราว 1 ล้านล้านบาท โดยเงินในส่วนนี้จะมาจากรัฐบาล 19 เปอร์เซ็นต์ และที่เหลือมาจากการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน และการลงทุนของภาคเอกชน

เมื่อเดือนเมษายน กระทรวงการวางแผนพัฒนาแห่งชาติ อินโดนีเซีย ประมาณการว่า 466 ล้านล้านรูเปียห์นี้ รวมค่าใช้จ่ายในส่วนของการพัฒนาพื้นที่ 400 ตารางกิโลเมตร ให้รองรับผู้อาศัย 1.5 ล้านคนด้วย หากย้ายเฉพาะส่วนบริหารราชการ ค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่เพียง 323 ล้านล้านรูเปียห์ (ราว 7 แสนล้านบาท)

บัมบัง บรอดโจเนโกโร รัฐมนตรีกระทรวงการวางแผนพัฒนา ระบุว่าตามแผนของรัฐบาลจะเริ่มก่อสร้างเมืองใหม่ซึ่งยังไม่ได้ตั้งชื่อนี้ในช่วงปลายปี 2020 และเริ่มย้ายหน่วยงานต่างๆ ในปี 2024 โดยสาเหตุหลักของการย้ายเมืองหลวงในครั้งนี้ คือ ความแออัดเนื่องจากการกระจุกตัวของความเจริญ และความกังวลว่าเมืองหลวงแห่งนี้จะจมลงสู่มหาสมุทร

จาการ์ตาและพื้นที่โดยรอบนั้น มีผู้อยู่อาศัยราว 30 ล้านคน โดยมีประชากรหนาแน่นประมาณ 15,000 คนต่อ 1 ตารางกิโลเมตร แออัดเกือบสองเท่าของประเทศสิงคโปร์ และมีปัญหาด้านมลพิษทางอากาศ นอกจากนี้ พื้นที่สองในห้าส่วนของเมืองอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และบางส่วนยังทรุดตัวลงเฉลี่ยปีละ 20 เซนติเมตร

งานวิจัยซึ่งเผยแพร่เมื่อเดือนมิถุนายนปีนี้ ชี้ว่าโลกร้อนกำลังทำให้แผ่นน้ำแข็งขั้วโลกละลาย ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเร็วกว่าที่ผ่านมา มีการคาดการณ์ว่าในกรณีเลวร้ายที่สุดหากภายในปี 2100 อุณหภูมิสูงขึ้น 5 องศาเซลเซียส ระดับน้ำทะเลของโลกจะสูงขึ้นกว่า 2 เมตร

ไม่ใช่เฉพาะจาร์กาตาเท่านั้นที่เสี่ยงจะจมน้ำ แต่ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นและการสูบน้ำบาดาลมาใช้ในปริมาณมาก ก็ส่งผลให้เมืองชายฝั่งและเมืองที่มีพื้นที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลทั่วโลกก็เป็นที่น่ากังวลเช่นกัน โดยเมืองใหญ่หลายเมืองที่เสี่ยงต่อการจมลงสู่ทะเล เช่น ฮิวสตัน (Houston) รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ทรุดตัวลงเนื่องจากการสูบน้ำบาดาลในปริมาณมากเช่นเดียวกับกรุงจาการ์ตา โดยทรุดตัวลง 10 ถึง 12 ฟุต ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1920 และบางส่วนทรุดเพิ่มอีกปีละ 2 นิ้ว

สำหรับกรุงเทพฯนั้น ตั้งอยู่เหนือระดับน้ำทะเล 0.5-2 เมตร และกำลังจมลงปีละ 1-2 เซนติเมตร ขณะที่ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น 4 มิลลิเมตรต่อปี โดยในปี 2015 (พ.ศ. 2558)สภาปฏิรูปแห่งชาติชี้ว่าในกรณีเลวร้ายที่สุด กรุงเทพฯ เสี่ยงที่จะเริ่มอยู่ใต้ระดับน้ำทะเลภายใน 15 ปี

ในกลุ่มประเทศอาเซียนเองก็ไม่ได้มีแต่อินโดนีเซียเท่านั้นที่พยายามหาทางรับมือกับระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ล่าสุดเมื่อเดือนกรกฎาคม ประเทศสิงคโปร์ก็ได้ทุ่มงบ 410 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 9,300 ล้านบาท) เพื่อยกเครื่องทางระบายน้ำและศึกษาการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล ลดความเสี่ยงจากการที่ประเทศจะจมอยู่ใต้น้ำ


Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog