ไม่พบผลการค้นหา
Tech Feed: 2 ปี Uber Thailand กับความเปลี่ยนแปลงระบบขนส่งไทย
Biz Feed - ปูตินเตรียมเดินทางเยือนจีน สานสัมพันธ์แบบทวิภาคี - Full EP.
CLIP BizFeed : อูเบอร์อยากร่วมมือรบ.พัฒนาระบบขนส่งไทย
CLIP Biz Feed : นโยบายกีดกันการค้าทรัมป์กระทบไทยแค่ไหน?  
Biz Feed - แคนาดาเป็นจุดหมายของบริษัทขุดบิทคอยน์จีน - Short Clip
Biz Insight : เปิดบริการ 'ยิ้มเพื่อจ่ายเงิน' ที่เคเอฟซีจีน
Biz Feed - 2018 อาจไม่ใช่ปีของเฟซบุ๊ก - Short Clip
CLIP Biz Feed : เทรนด์รัฐแบนสตรีทฟู๊ดระบาดในอาเซียน
Clip Biz Feed : ปฏิรูปมาเลเซียแอร์ไลน์ฟื้นฟูภาพลักษณ์ได้? 
CLIP BIZ FEED : มูลค่าหุ้นสแนปแชทพุ่งวันแรก 40%
Biz Feed - พาผู้สูงอายุเที่ยวไทยอาจได้ลดภาษี - Short Clip
Biz Feed - ธุรกิจ4.0 ต้องปฏิรูปเทคโนโลยีและวิธีคิด - Short Clip
Biz Feed - ศุลกากรเสนอลดภาษีนำเข้ารถหรู - Short Clip
GrabCar คิดเงินเพิ่มเมื่อส่งเพื่อนลงระหว่างทาง
FULL EP. คนจีนฮิตซื้อของชำออนไลน์
Biz Feed - คมนาคมกำชับรถไฟฟ้าแจ้งใน 5 นาที หากขัดข้อง - Short Clip
CLIP Biz Feed : 5 ธุรกิจสำหรับนักลงทุนยุคมิลเลนเนียล
CLIP Biz Feed : 'เฟอร์รารี'มุ่งรักษาจุดยืนซูเปอร์คาร์สุดหรู
CLIP Biz Feed : มาสด้าสนใจลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในไทย
CLIP Biz Feed : มูจิ ขยายสาขาในต่างแดนเกินหน้าสาขาญี่ปุ่น
CLIP BIZ FEED : เปลี่ยนอูเบอร์เป็นธุรกิจเพื่อสังคม?
Mar 10, 2017 05:37

อูเบอร์ เป็นโมเดลธุรกิจที่ได้รับคำชื่นชมว่าสร้างทางเลือกใหม่ให้ผู้บริโภค ปฏิวัติสังคมไปสู่การรับบริการขนส่งสาธารณะที่สะดวกขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีการเรียกร้องว่าการปฏิวัตินี้ยังไปไม่สุดทาง เพราะอูเบอร์ยังเอาเปรียบผู้ขับมากเกินไป แต่จะเป็นไปได้หรือไม่ ที่อูเบอร์จะเปลี่ยนรูปแบบเป็นธุรกิจเพื่อสังคม หรือสหกรณ์?

การเข้ามาของแอพพลิเคชันอูเบอร์ รวมถึงแกร็บ ช่วยปฏิวัติระบบขนส่งสาธารณะในหลายๆ เมืองใหญ่ทั่วโลก อาจจะถูกใจผู้บริโภค แต่ไม่ถูกใจผู้ประกอบกิจการรถรับจ้างเดิม หรือรัฐบาล แต่สตาร์ทอัพเหล่านี้ก็มีจุดยืนที่จะทำธุรกิจลักษณะนี้ ทั้งๆ ที่ยังไม่มีกฎหมายรองรับ เพราะยึดมั่นใน "Disruptive Innovation" หรือการสร้างนวัตกรรมที่จะ"ปฏิวัติสังคม"ไปในทางที่ดีขึ้น

ที่มาของแอพพลิเคชันทั้งสองแอพนี้คล้ายๆ กัน นั่นก็คือความทุกข์ใจ หรือในภาษาทางสตาร์ทอัพที่เรียกว่า "Pain Point" ที่ผู้ก่อตั้งบริษัทมีต่อการเรียกใช้บริการแท็กซี่แบบเดิม ที่มักจะปฏิเสธผู้โดยสารหากไม่ได้เดินทางไปยังจุดหมายที่คนขับต้องการเดินทางไป โบกแล้วไม่รับ หรือมีพฤติกรรมการให้บริการที่ไม่เหมาะสม จึงเป็นที่มาของแอพพลิเคชันที่สามารถเรียกรถมารับยังจุดหมายที่ผู้ใช้งานต้องการ พร้อมกับตรวจสอบและให้คะแนนคนขับได้ จนทั้งสองแอพได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง

แต่อูเบอร์ก็ยังมีปัญหา ที่ถูกมองว่าเป็นการปฏิวัติที่ไม่สุดทาง แม้ผู้บริโภคจะได้ประโยชน์จากนวัตกรรมนี้ แต่คนขับรถกลับยังโดนเอารัดเอาเปรียบ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะรายได้จากอูเบอร์ จริงๆไม่ได้มาจากเงินค่าโดยสารที่ผู้บริโภคจ่าย แต่มาจากการหักเงินค่าธรรมเนียมจากคนขับในการเรียกรถแต่ละครั้ง ในขณะที่อูเบอร์ไม่ได้ลงทุนอะไรมากมาย เพราะรถก็เป็นของคนขับ ค่าประกันต่างๆคนขับก็เป็นผู้รับผิดชอบ และคนขับอูเบอร์ยังไม่ถือเป็นพนักงานของอูเบอร์ เป็นเพียงผู้รับจ้าง ทำให้อูเบอร์ไม่ต้องมีภาระดูแลสวัสดิการหรือจ่ายเงินโอที เงินชดเชยให้กับคนขับ

วิธีที่จะพัฒนาอูเบอร์ให้เป็นนวัตกรรมที่ปฏิวัติสังคมอย่างแท้จริง ก็คือการเปลี่ยนอูเบอร์ให้กลายเป็นสหกรณ์ผู้ขับขี่อูเบอร์ แทนที่ความสัมพันธ์แบบผู้ว่าจ้างกับผู้รับจ้าง  แต่การเปลี่ยนจะทำอย่างไร?

เซธ แอคเคอร์แมน นักศึกษาปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยคอร์แนลของสหรัฐฯ เสนอว่า การเปลี่ยนอูเบอร์ให้เป็นธุรกิจเพื่อสังคม ลดข้อครหาว่าเอาเปรียบคนขับ สามารถทำได้ไม่ยาก เพียงแต่ให้รัฐบาลท้องถิ่นของแต่ละพื้นที่ที่อูเบอร์เปิดให้บริการ ออกกฎหมายระบุให้ธุรกิจ Ride-sharing หรือการร่วมใช้รถส่วนบุคคลในลักษณะของอูเบอร์ หรือแกร็บคาร์ ต้องดำเนินการโดยสหกรณ์ผู้ขับขี่เท่านั้น  เพียงเท่านี้อูเบอร์ก็จะทำหน้าที่เป็นเพียง software provider หรือผู้ให้บริการระบบที่เชื่อมโยงคนขับเข้ากับลูกค้า แต่ผู้ที่กำหนดกฎเกณฑ์การให้บริการ รวมถึงราคา ก็คือสหกรณ์ผู้ขับขี่แต่ละแห่งเอง โดยอูเบอร์ยังคงสามารถทำกำไรได้จากการเก็บค่าให้บริการซอฟแวร์เรียกรถ ส่วนราคาค่าให้บริการก็เป็นไปตามที่อูเบอร์จะตกลงกับสหกรณ์ผู้ขับ

ข้อเสนอนี้อาจฟังดูสุดโต่ง แต่แอคเคอร์แมน เจ้าของไอเดีย ยืนยันว่าการห้ามบรรษัทเอกชนประกอบธุรกิจบางชนิดเป็นเรื่องปกติในทั่วโลก หลายประเทศห้ามบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ทำฟาร์มบางประเภท เพื่อปกป้องเกษตรกรท้องถิ่น และมีหลายประเทศที่ห้ามชาวต่างชาติทำธุรกิจบางชนิด

และอันที่จริงแล้ว ที่ผ่านมา อูเบอร์ก็ยืนยันมาโดยตลอดว่าไม่ได้เอาเปรียบคนขับ เพราะความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับผู้ขับอูเบอร์ก็เป็น "หุ้นส่วนทางธุรกิจ" ไม่ใช่นายจ้างกับลูกจ้าง สิ่งที่อูเบอร์ทำเป็นเพียงการเชื่อมโยงผู้ขับเข้ากับลูกค้าที่ต้องการใช้บริการรถโดยสารเท่านั้น แนวคิดสหกรณ์จึงไม่น่าจะขัดกับหลักการทางธุรกิจของเทรวิส คาลานิก ผู้ก่อตั้งและซีอีโอคนปัจจุบันของอูเบอร์

จุดอ่อนใหญ่ของโมเดลนี้ก็คือ เมื่อคนขับรู้สึกว่าได้อยู่ในโมเดลธุรกิจที่เป็นธรรม ลูกค้ากลับอาจมองว่าพวกเขาไม่ได้รับความเป็นธรรม เพราะการให้สหกรณ์ผู้ขับขี่อูเบอร์แต่ละแห่งกำหนดกฎเกณฑ์การให้บริการ รวมถึงค่าโดยสารเอง ย่อมทำให้มาตรฐานการให้บริการแบบอูเบอร์หายไป ราคาที่เป็นกลาง ก็จะหายไปเช่นกัน ซึ่งทำให้สุดท้ายแล้ว ข้อดี ความสะดวกต่างๆที่อูเบอร์ใช้เป็นจุดแข็งก็จะสลายหายไป ทำให้อูเบอร์ไม่แตกต่างจากแท็กซี่ปกติมากนัก

โจทย์ที่สำคัญจึงกลับมาอยู่ที่ว่า รัฐบาลท้องถิ่นแต่ละประเทศจะออกกฎเกณฑ์อย่างไรเพื่อให้อูเบอร์เข้าไปเป็นทางเลือกด้านการคมนาคมสาธารณะชนิดใหม่โดยทั้งปลอดภัยและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย

 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog