ไม่พบผลการค้นหา
ความรักใช้สมองหรือหัวใจ?
ชุดนิสิตกับเซ็กซี่บอย
ไม่มีใครอยากให้ลูกโตไปแล้วจน
‘เทย์เลอร์ สวิฟต์’ ฟ้อง 1 เหรียญเพื่อศักดิ์ศรี
ภาคประชาชนกังวล กฎหมายบัตรทอง
กำลังซื้อของแรงงานต่างด้าวที่ไม่อาจมองข้าม
บ่น ด่า วิจารณ์ คือสัญญาณแห่งความเป็นคน
คุมสื่อออนไลน์ - สแกนนิ้วซื้อซิม เพื่อความมั่นคง
ทำความรู้จักสรรพลี้หวน
ประเทศไหนเป็นแชมป์นักดื่ม
ปชป.พร้อมลุยแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
หมดยุคล่าเมืองขึ้น ถึงยุคพัฒนาคุณภาพชีวิต
โอเพ่นดาต้าในแง่ศิลปวัฒนธรรม
โรคซึมเศร้ากับอุตสาหกรรมยา
คนจนเพราะขาดความรู้เรื่องวินัยการเงิน
บริจาคใช้หัวใจหรือเหตุผล
ไทยติดหนึ่งในห้าประเทศคอร์รัปชัน
แสนสิริ ปล่อยแคมเปญ Let’s enjoy กระตุ้นอสังหาฯภูเก็ต
FULL EP. สังคมสูงวัย โจทย์ท้าทายของรัฐบาล
เหงาอันตรายกว่าอ้วน
อคติทางชาติพันธุ์ในเมียนมากับโรฮิงยา
Sep 6, 2017 13:36

อคติทางชาติพันธุ์ในเมียนมากับผู้อพยพโรฮิงญา

สังคมพม่าถูกกล่อมเกลามาหลายชั่วอายุคนว่า ชาวพม่าที่แท้ต้องเป็นชาวพุทธ ทำให้ชาวพม่าพุทธและชนกลุ่มน้อยอื่นๆ ที่นับถือศาสนาพุทธมองโรฮิงญาด้วยความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจ หรือด้วยความเกลียดชัง เป็นการสู้รบระหว่างรัฐบาลพม่ากับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ที่เป็นทั้งชาวพุทธ และศาสนิกชนในศาสนาอื่นๆ แต่เมื่อหยิบยกประเด็นเรื่องโรฮิงญาขึ้นมา ชนกลุ่มน้อยทั้งหลายก็จะพร้อมใจกล่าวว่า โรฮิงญาคือ ‘คนเถื่อน’ และพร้อมให้ความร่วมมือกับกองทัพพม่าเพื่อปราบปรามคนโรฮิงญา

ชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่เป็นกลุ่มที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดถึง 1 ล้านกว่าคน แต่ก็เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ชายขอบที่สุดของชุมชนชาวมุสลิมในพม่า เนื่องจากรัฐบาลไม่ยอมรับว่าชาวโรฮิงญาเป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง 135 กลุ่มในพม่า พวกเขาจึงถูกผลักออกไปเป็นชาว ‘เบงกาลี’ (Bengali) หรือผู้อพยพผิดกฎหมายจากเบงกอล สถานะที่อิหลักอิเหลื่อของชาวโรฮิงญานี้ทำให้พวกเขาไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการพื้นฐานของรัฐ ทั้งการศึกษา การรักษาพยาบาล และสาธารณูปโภคพื้นฐานอื่นๆ ได้

การไล่ล่าชาวโรฮิงญากลายเป็นปัญหาระดับนานาชาติ เพราะมีชาวโรฮิงยาหลายแสนคนที่อพยพหนีตายเข้าไปในบังคลาเทศ แต่บังคลาเทศไม่ต้องการรับภาระและรับผิดชอบชีวิตของผู้อพยพ วิกฤติโรฮิงญาจึงสร้างภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลพม่ากับบังคลาเทศ และองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนระดับโลกอย่าง UNHCR มาหลายทศวรรษ ชาวโรฮิงญาส่วนใหญ่ที่ยังเหลืออยู่ในรัฐยะไข่และเมืองค็อกเซสบาซาร์ (Cox’s Bazaar) ชายแดนพม่า-บังคลาเทศ อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย และอยู่ได้จากการพึ่งพาเงินบริจาคและความช่วยเหลือจากภายนอกเท่านั้น และเนื่องจากชาวโรฮิงญาเป็นคนไร้รัฐ ไม่มีสัญชาติ จึงไม่มีเอกสารยืนยันตัวตน พวกเขาจึงต้องล่องเรือจากรัฐยะไข่เพื่อเข้าไปทำงานในประเทศที่สามอย่างผิดกฎหมาย ทำให้ชาวโรฮิงญาเป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า ‘มนุษย์เรือ’ (Boat People)

Source: 
https://waymagazine.org/lalita01/

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog