ไม่พบผลการค้นหา
The Toppick - ญี่ปุ่นตกขบวน 'สังคมไร้เงินสด' แม้เป็นผู้นำเทคโนโลยี - Short Clip
The Toppick - 'แก่ก่อนรวย' เศรษฐกิจไทยพัฒนาไม่ทันสังคมสูงวัย - Short Clip
The Toppick - ลักเซมเบิร์กจ่อนำร่อง 'กัญชาเสรี' ในยุโรปอีก 2 ปี​ - Short Clip
The Toppick - สิงคโปร์ออกแบบพื้นที่ใช้สอยใต้ดิน-รองรับประชากรเพิ่ม - Short Clip
The Toppick - ก้าวต่อไป 'เอไอ' จะมาวินิจฉัยโรคให้คุณ! - Short Clip
The Toppick - สิงคโปร์ หนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต เอื้อสูงวัยทำงานยุคดิจิทัลได้ - Short Clip
The Toppick - งดเว้นภาษีเงินได้คนหนุ่มสาว-มาตรการหยุดสมองไหล? - Short Clip
The Toppick - วงการ 'STEM' ไม่มีพื้นที่สำหรับเพศหญิง - Short Clip
The Toppick - สิงคโปร์ ขยายเพดานอายุเกษียณเป็น 65 ปี - Short Clip
The Toppick - ผลสำรวจชี้ ชาวเวียดนามนิยมเที่ยวไทยในวันหยุดยาว - Short Clip
The Toppick - 'เซนเซอร์ฟังเสียงบาดแผล' เทคโนโลยีการรักษาแบบใหม่ - Short Clip
The Toppick - เบอร์เกอร์คิงเพิ่มเมนู 'เนื้อสังเคราะห์' ทุกสาขาในสหรัฐฯ - Short Clip
The Toppick - 'เงินบาทแข็ง' กระทบการท่องเที่ยวไทย - Short Clip
The Toppick - นักวิจัยสร้าง 'หุ่นยนต์หางมนุษย์' เพื่อผู้สูงอายุ - Short Clip
World Trend - ฮ่องกงเช็กระบบช่วยคนแก่-คนพิการข้ามถนน - Short Clip
The Toppick - นักวิจัยพบ 'อวัยวะรับความเจ็บปวด' ช่วยอาการปวดเรื้อรัง - Short Clip
The Toppick - ครั้งแรกในไทย นิทรรศการ 'สุสานจักรพรรดิจิ๋นซีกับกองทัพทหารดินเผา' - Short Clip
The Toppick - เวียดนาม เตรียมเสนอเพิ่มวันหยุด 3 วัน - Short Clip
The Toppick - 'หัวเว่ย' อัปเดตผลิตภัณฑ์ใหม่ เอาศักยภาพเข้าสู้ - ปัดตอบข้อพิพาทกูเกิล - Short Clip
The Toppick - ลายนิ้วมือประชาชนกว่า 1 ล้านคนรั่วไหลทั่วอินเทอร์เน็ต - Short Clip
The Toppick - ฝรั่งเศส พัฒนา 'โครงกระดูกนอกร่างกาย' ช่วยผู้ป่วยอัมพาต - Short Clip
Oct 8, 2019 00:19

นักวิจัยฝรั่งเศสพัฒนา โครงกระดูกและระบบแปลสัญญาณประสาท ช่วยผู้ป่วยอัมพาต พร้อมอาจปรับใช้กับอาวุธทางการทหาร

รายงานล่าสุดจาก 'คลินาเทค' Clinatec สถาบันวิจัยเพื่อวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ของฝรั่งเศส ชี้ให้เห็นความพยายามในการพัฒนาโครงกระดูกนอกร่างกายที่ควบคุมโดยความคิดของผู้ป่วย (mind-controlled exoskeleton) เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยอัมพาต

สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า'ทีโบลต์'ผู้ป่วยอัมพาตวัย 30 ปี และเป็นผู้ร่วมทดลองของการพัฒนาครั้งนี้กล่าวว่า เขารู้สึกเหมือนกับได้เป็น 'มนุษย์แรกที่ไปเหยียบดวงจันทร์' แม้ชุดโครงกระดูกดังกล่าวยังไม่เสร็จสมบูรณ์ก็ตาม

"ผมไม่ได้เดินมา 2 ปี จำไม่ได้แล้วว่ายืนยังไง ลืมไปแล้วว่าที่จริงผมสูงกว่าอีกหลายคนในห้องนี้" ทีโบลต์ กล่าว

ในการทดลองประสิทธิภาพของชุดโครงกระดูกดังกล่าว ทีโบลต์ ต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อติดตั้งเครื่องส่งสัญญาณ 2 ตัวลงบนพื้นผิวสมอง ในส่วนที่บังคับการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยขั้วไฟฟ้าทั้ง 64 ขั้น ในเครื่องส่งสัญญาณแต่ละอันมีหน้าที่อ่านกิจกรรมของสมองและส่งสัญญาณคำสั่งไปยังคอมพิวเตอร์ใกล้เคียง

ระบบซอฟต์แวร์ที่ซับซ้อนและทันสมัยจะอ่านสัญญาณดังกล่าวและเปลี่ยนเป้นคำสั่งไปควบคุมชุดโครงกระดูกนอกร่างกายให้เคลื่อนไหวตามความคิดของผู้ออกคำสั่ง

แม้ ทีโบลต์ ต้องถูกมัดติดอยู่กับชุดโครงกระดูกที่มีน้ำหนักถึง 65 กิโลกรัม แต่เมื่อเขาคิดถึง 'การเดิน' ชุดดังกล่าวทำให้ขาเขาขยับได้จริง อีกทั้งเขายังสามารถขยับแขนแต่ละข้างได้แบบ 3 มิติ คือทั้งยกแขนขึ้นข้างบน ลงข้างล่าง และไปข้างหน้า

นักวิทยาศาสตร์ในทีมวิจัยกล่าวว่า ชุดโครงกระดูกในปัจจุบันยังมีข้อจำกัดจากปริมาณข้อมูลที่ซอฟต์แวร์สามารถอ่านจากสมองและเปลี่ยนมาเป็นคำสั่งได้ในปัจจุบัน

ระบบต้องการเวลาประมาณ 350 มิลลิวินาที (1 ใน 1000 วินาที) ในกาเปลี่ยนความคิดเป็นการเคลื่อนไหวจริงไม่เช่นนั้นการควบคุมระบบจะทำได้ยาก ซึ่งหมายความว่า จากขั้วไฟฟ้าทั้งหมด 64 ขั้วในแต่ละเครื่องส่งสัญญาณ นักวิจัยใช้จริงแค่เพียง 32 ขั้วเท่านั้น สะท้อนให้เห็นพื้นที่ในการพัฒนาเพิ่มเติม

นักวิทยาศาสตร์ที่ทำการศึกษาและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเหล่านี้เชื่อในการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ และงานศึกษาเหล่านี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม "ลัทธิพ้นมนุษย์" (Transhumanism) ซึ่งเว็บไซต์พจนานุกรมของแคมบริดจ์ให้คำจำกัดความว่า คือ "ทฤษฎีที่เชื่อว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสามารถช่วยให้มนุษย์พัฒนาเหนือไปกว่าความสามารถทางร่างกายและความคิดที่มีในปัจจุบัน"

แม้ว่าเป้าหมายดังกล่าวจะนำไปปรับใช้กับอาวุธทางการทหารด้วย แต่ศาสตราจารย์ เบเนบิดหนึ่งในผู้วิจัย ยืนยันกับบีบีซีว่า"เราจะไม่มีวันเดินหน้าไปยังการปรับใช้ที่สุดโต่งและงี่เง่า"พร้อมกล่าวถึงเป้าหมายหลักว่า งานวิจัยนี้มีขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่ได้รับการบาดเจ็บและต้องศูนย์เสียความสามารถบางอย่างไป

นอกจากการนำองค์ความรู้ไปปรับใช้ในทางสุดโต่งศาสตราจารย์ ทอม เชคสเปียร์จากโรงเรียนลอนดอนสุขอนามัยและเวชศาสตร์เขตร้อน ยังออกมาพูดถึง การเข้าถึงชุกโครงกระดูกนอกร่างกายดังกล่าว ว่าอาจจะไม่สามารถกระจายเข้าถึงผู้ป่วยอย่างทั่วถึง พร้อมอ้างว่า ปัจจุบัน มีผู้ป่วยเป็นอัมพาตเพียงร้อยละ 15 จากผู้พิการทั้งหมดที่เข้าถึงรถเข็นวีลแชร์เท่านั้น

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog