ในหนังสือเรียนรายวิชาศาสนาและหน้าที่พลเมืองของ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จะเป็นเรื่องราวศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี และค่านิยมของไทยและเอเชีย รัฐธรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย การพัฒนาการทางการเมืองและการอยู่ร่วมกันในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และสิทธิมนุษยชน
หากเทียบการศึกษากับฝรั่งเศสแล้วจะพบว่า เขาสอนเด็กให้รู้จักการวิเคราะห์เป็น แต่ของไทยจะสอนให้ท่องจำ เช่นในวิชาหนึ่งที่ว่ากันว่า หินที่สุด คือ Philosophy ที่เด็กม.ปลายที่เข้าสอบ ต้องเขียน dissertation หรืออภิปราย Taxte จากหัวข้อภายกำหนดภายในเวลา 4 ชั่วโมง
จากตัวอย่างข้อสอบของปี 2012 มี 3 สาขาหลัก สาย scientific จะมีคำถามที่ให้นักเรียนเลือก เช่น ข้อ 1 เราจะเป็นอิสระมากขึ้น หากไม่มีชาติรัฐ? ,ข้อ 2 เราจะมีหน้าที่ค้นหา Truth หรือไม่? ข้อ 3 อภิปราย "Emile" ของ J-J.Rousseau หรือสาย Economic&social จะมีคำถามว่า การทำงานมีการแต่ประโยชน์? ,ความปรารถนาทางธรรมชาติมีหรือไม่ หรือ Text "Passive Obedience" ของ George Berkeley และในสาย Literature ก็จะมีการถามว่า เราได้อะไรจากการทำงาน หรือ ทุกความเชื่อล้วนตรงข้ามกับเหตุผล และ Text "Tractatus theologio-politicus" ของ Baruch Spinoza เป็นต้น
ซึ่งข้อความเหล่านี้ อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล ได้แชร์สเตตัสมา ให้เห็นว่าข้อสอบของเด็กมัธยมปลายมันช่างเร้าใจอย่างมาก ขณะที่ข้อสอบโอเน็ตบ้านเราก็คงจะถามว่า ทำไมฝรั่งชอบกินมัสมั่น หรืออยากถามนักเรียนไทยว่า หากปราศจากรัฐชาติเราจะเป็นอิสระหรือไม่? เราก็คงได้คำตอบว่า เราต้องรักชาติ สามัคคีคือพลัง เพื่อชาติและราชบัลลังค์ โตไปไม่โกง
นี่เป็นวิชาพลเมืองในระดับมัธยมปลาย แต่ที่แย่ไปกว่านั้นคือวิชาพลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ TU100 หากไม่มองหน้าปก เข้าไปหน้าแรกจะเหมือนสมุดอนุบาล เพราะจะมีชื่อคนเข้าเรียน ลายเซ็น และลายเซ็น อาจารย์ประจำห้อง มีการตั้งกติกา ในกลุ่ม นี่คือวิชาพลเมืองฯระดับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพราะเพียงแต่ทำสมุด และมีการติ๊กการเมือง แค่นี้ก็ถือว่าไม่เคารพสิทธิของนักศึกษา และเห็นว่านักศึกษาคิดอะไรเองไม่ได้ นอกจากนี้ในเนื้อหายังเหมือนวิชาที่เรียนใน ป.3 หากอยู่ในประเทศที่มีประชาธิปไตยอยู่ในสายเลือดแล้ว ไม่ต้องมานั่งเรียนว่าประชาธิปไตยคืออะไร และในตำรายังเขียนว่า วันเปลี่ยนแปลงการปกครองคือวันที่ 27 มิถุนายน 2475 และบอกว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ได้มาจากรัฐประหารมีความเป็นประชาธิปไตย