รายการ Talking Thailand ประจำวันที่ 20พฤษภาคม 2563
“อ.พิชญ์-คำผกา” ติเพื่อก่อ..ขอ “ฝ่ายค้าน” เก็บข้อมูล-ทำการบ้าน น็อคผู้นำ และรัฐบาล คาสภาฯ ชนิดเถียงไม่ออก ชี้มีบทเรียนจากอภิปรายไม่ไว้วางใจแล้ว แถมงานนี้ “องครักษ์พิทักษ์ประยุทธ์” เตรียมมาป่วนเช่นกัน เพราะฉะนั้นข้อมูลที่เนื้อๆ เน้น ๆ จำเป็นต้องเอามาวัดกึ๋นกัน ให้ชาวบ้านเห็น
นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร แถลงผลการหารือกับหัวหน้าพรรคร่วมฝ่ายค้าน 6 พรรคเกี่ยวกับการพิจารณาพระราชกำหนดกู้เงิน ซึ่งจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯในวันที่ 27 พ.ค. ว่า ฝ่ายค้านเห็นด้วยเพื่อช่วยเหลือประชาชน แต่การที่ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับใช้เงินส่วนนี้ ทำให้ฝ่ายค้านต้องมีการสอบถามรัฐบาลว่าจะมีการใช้เงินอย่างไร เรามีความกังวลว่าจะเกิดการทุจริตขึ้น
เพราะการบริหารเม็ดเงินนั้นให้อำนาจแก่ รมว.คลังมากเกินไป หากเกิดความเสียหายในอนาคต นายกรัฐมนตรีควรต้องเข้ามารับผิดชอบด้วย ไม่ใช่มอบหมายให้ รมว.คลังฝ่ายเดียว ซึ่งเรามีความคิดเห็นว่าด้วยเหตุนี้ควรมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อตรวจสอบการใช้เงิน ซึ่งพรรคก้าวไกลได้เสนอเข้าสภาฯแล้ว แต่กังวลว่าจะมีความล่าช้า จนไม่สามารถตั้งคณะกรรมาการวิสามัญได้
นายภูมิธรรม เวชยชัย ที่ปรึกษาผู้นำฝ่ายค้านฯ กล่าวว่า อย่าให้เงินกู้ถูกนำไปใช้ในลักษณะเอื้อประโยชน์ให้กับคนบางกลุ่ม ควรชี้แจงมาตรการต่างๆให้รายละเอียดและต้องให้เกิดความโปร่งใส
นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวว่า การกู้เงินครั้งนี้ยอมรับว่ามีความจำเป็นเพื่ออนาคต แต่ต้องเป็นงบประมาณเพื่อสร้างความเท่าเทียมกัน เพราะสถานการณ์โควิดเป็นวิกฤตที่คนได้รับผลกระทบกว้างสุดและทรุดลึกและต้องใช้งบประมาณและประชาชนทุกข์มากที่สุด ดังนั้น กลไกของรัฐสภาจึงเป็นสิ่งสำคัญ แต่การให้เวลาสภาพิจารณาเพียงแค่ 3 วันนั้นจึงไม่เหมาะสม และคงไม่มีอะไรจะเหมาะสมกับการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเข้ามาตรวจสอบเรื่องนี้ เพื่อให้ ส.ส.สะท้อนถึงมาตรการของรัฐบาลที่ดำเนินการอยู่ได้"
ขณะที่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ส.ส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย กล่วว่า นายกฯของประเทศไม่เคยปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญ บัญญัติว่าบุคคลย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐ เมื่อเกิดการแพร่ระบาดโควิด รัฐบาลต้องป้องกันโรคละให้ทุกคนเข้าถึงการรักษาฟรี โดยเฉพาะการเข้าถึงหน้ากากอนามัย แต่คนของรัฐบาลกลับไปทำผิดเสียเอง เยียวยาให้กับประชาชนก็มีปัญหา ซึ่งปัญหามาจากการบริหารงบประมาณ ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ถูกต้อง เช่น การซื้ออาวุธ ซึ่งไม่มีความจำเป็น เมื่อถึงเวลาจะใช้เงินก็ไม่มีเงิน ทำให้ต้องออกกฎหมายเงินกู้
ด้านนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ส.ส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคประชาชาติ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการดำเนินการเยียวยาของรัฐบาลที่ล่าช้าที่ไปสร้างผลกระทบให้กับประชาชน "อย่าไปคิดเงินเรื่องเงินทอนในยามที่ประชาชนเดือดร้อน แต่ต้องดำเนินการด้วยการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในฐานะเป็นเจ้าของเงิน วิกฤตอย่างนี้ไม่ควรได้รัฐบาลที่ทำงานอย่างนี้ เสียเวลาของประชาชนที่ให้ความไว้วางใจรัฐบาลมา
ขณะที่ นายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล หรือ วิป รัฐบาล กล่าวว่า วันที่ 22 พ.ค.นี้ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้นัดตัวแทนของวิปรัฐบาล วิปฝ่ายค้าน หารือในประเด็นการเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรนัดแรก ซึ่งจะพิจารณา พ.ร.ก.กู้เงินฯ ที่รัฐบาลได้ประกาศใช้และดำเนินการไปแล้ว โดยกำหนดกรอบไว้เบื้องต้น 3 วัน คือ วันที่ 27 - 29 พ.ค.นั้น แต่ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าต้องจบให้ได้ภายใน 3 วัน เพราะต้องพิจารณาในรายละเอียด เช่น ส.ส.ที่ขออภิปราย ทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล รวมถึงการชี้แจงของคณะรัฐมนตรี
ทั้งนี้การอภิปราย พ.ร.ก.ที่รัฐบาลประกาศใช้ ในสภาฯ เพื่อที่จะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบนั้น เป็นการอภิปรายที่ต้องแสดงเหตุผลประกอบก่อนลงมติเหมือนกับการพิจารณากฎหมายฉบับหนึ่งเท่านั้น และไม่ใช่การอภิปรายไม่ไว้วางใจ แต่ ส.ส.ทุกคนมีสิทธิพูดและรัฐบาลเช่นกัน ดังนั้นหากฝ่ายค้าน อภิปรายท้วงติงการบริหารสถานการณ์โควิด-19 ที่ระบาดในประเทศไทยที่ผ่านมา รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต้องได้สิทธิชี้แจงเช่นเดียวกัน”
อย่างไรก็ตามหากการกำหนดระยะเวลาอภิปราย พ.ร.ก.กู้เงิน ได้ข้อสรุปร่วมกันแล้ว รัฐบาลจะนำร่างพ.ร.บ.โอนงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2563 เข้าสู่การพิจารณาต่อทันที ภายหลังจากที่จบการอภิปราย พ.ร.ก.กู้เงิน ทั้ง 3 ฉบับ โดยวิธีการพิจารณาจะใช้การตั้งกรรมาธิการ (กมธ.) เต็มสภา