ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - 'อาหารไร้กลูเตน' เพิ่มความเสี่ยงเป็นเบาหวาน - Short Clip
World Trend - รถใต้ดินอังกฤษเปลี่ยนชื่อสถานีรับฮีโร่บอลโลก - Short Clip
World Trend - อัตราเกิดใน 'ญี่ปุ่น' ต่ำเป็นประวัติการณ์ - Short Clip
World Trend - ออสการ์ประกาศสมาชิกใหม่ 842 คน - Short Clip
World Trend - ฮ่องกงเช็กระบบช่วยคนแก่-คนพิการข้ามถนน - Short Clip
World Trend - ผู้หญิงยิ่งทำงานน้อย ยิ่งลดความเสี่ยงเป็นเบาหวาน - Short Clip
World Trend - เปิดตัวนวัตกรรมการบินสุดล้ำที่งาน ‘ฟาร์นเบรอ แอร์โชว์’- Short Clip
World Trend - ญี่ปุ่นเผชิญวิกฤติอัตราเกิดน้อยเป็นประวัติการณ์ - Short Clip
World Trend - ดื่มน้ำผลไม้มากเกินเสี่ยงตายไวเท่าน้ำอัดลม - Short Clip
World Trend - ประชากรโลก 1 ใน 4 จะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง - Short Clip
World Trend - มลพิษทางอากาศส่งผลร้ายต่อระดับสติปัญญามนุษย์ - Short Clip
World Trend - YouTube เก็บข้อมูลเด็กโดยไม่รับอนุญาต - Short Clip
World Trend - ผู้หญิงไม่สวยมีแนวโน้มจะนอกใจแฟนสูงกว่า - Short Clip
World Trend - 'เทย์เลอร์ สวิฟต์' ปลุกกระแสเลือกตั้งให้คนรุ่นใหม่ - Short Clip
World Trend - ทั่วโลกมีคนตายเพราะเซลฟี่กว่า 250 คน ในช่วง 6 ปี - Short Clip
World Trend - พ่อเลี้ยงเดี่ยวเสี่ยงเสียชีวิตก่อนวัยอันควร - Short Clip
World Trend - 'โคคา-โคลา' เปิดตัวรสใหม่ดึงดูดใจผู้บริโภค - Short Clip
World Trend - ผลสำรวจชี้ คนรุ่นใหม่มองชีวิตในแง่ร้าย - Short Clip
World Trend - เด็กไทยเสี่ยงภัยออนไลน์เกินค่าเฉลี่ยโลก - Short Clip
World Trend - ชาวอเมริกันเสพข่าวโซเชียลมากกว่าสิ่งพิมพ์เป็นครั้งแรก - Short Clip
World Trend - คนหย่าร้างเสี่ยงหัวใจวายบ่อย - Short Clip
Apr 19, 2018 09:05

วิจัยล่าสุดชี้ คนที่ผ่านการหย่าร้างจะมีความเสี่ยงที่จะหัวใจวายซ้ำมากกว่าคนที่แต่งงานแล้วหรือเป็นโสด 

สถาบันแคโรลินสกา ซึ่งเป็นโรงเรียนแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดในสวีเดน และเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป เปิดเผยข้อมูลที่เก็บจากผู้ป่วยโรคหัวใจในสวีเดนที่รอดชีวิตจากอาการหัวใจวายราว 30,000 คน เป็นเวลา 4 ปี พบว่าผู้ที่เคยผ่านการหย่าร้างมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากโรคหัวใจมากกว่าคนที่แต่งงานหรือเป็นโสด และมีความเสี่ยงที่จะหัวใจวายซ้ำคิดเป็นสัดส่วนที่สูงกว่า 

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า คู่แต่งงานมักให้กำลังใจอีกฝ่ายในการรักษาสุขภาพ และกวดขันให้ทำตามที่แพทย์สั่ง เช่น เตือนให้กินยาตามกำหนด ขณะที่ ครอบครัวที่มีรายได้สูงกว่าก็มักจะมีความเสี่ยงหัวใจวายซ้ำน้อยกว่าครอบครัวที่รายได้น้อย ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับการศึกษา 12 ปีขึ้นไป หรือก็คือจบมัธยมปลาย จะมีความเสี่ยงน้อยกว่าคนที่เรียน 9 ปี หรือน้อยกว่านั้น

โดยนักวิทยาศาสตร์ผู้เก็บข้อมูลกล่าวว่า การศึกษานี้เปิดเผยว่าสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของคนเรามีความเกี่ยวข้องกับการหัวใจวายซ้ำเท่านั้น แต่ไม่สามารถสรุปกลไกที่ทำให้เกิดอาการนี้ได้ทั้งหมด


Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog