ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - แอมะซอนเตรียมเปิด 3,000 ร้าน ใน 3 ปี - Short Clip
World Trend - Go-Jek เตรียมขยายตลาดครอบคลุมอาเซียน - Short Clip
World Trend - 'พลัสไซซ์' ตลาดใหม่เพื่อแฟชั่นที่เท่าเทียม - Short Clip
World Trend - ญี่ปุ่นมุ่งแก้ปัญหาฆ่าตัวตายอย่างจริงจัง - Short Clip
Biz Feed - Biz Insight:เครื่องสำอางเกาหลีมุ่งตีตลาดมุสลิมในอาเซียน- Short Clip
World Trend - ปารีสเผยโฉม 'ทีเร็กซ์' 67 ล้านปี อิงกระแสจูราสสิคเวิลด์ - Short Clip
World Trend - หมู่บ้านในจีนฮิตเพาะ 'งู' เป็นอาหารและยา - Short Clip
World Trend - เทรนด์การดื่มไวน์กำลังมาแรงในจีน - Short Clip
World Trend - ​ผู้บริโภคจีนหันหาสินค้า 'เพื่อสุขภาพ' มากขึ้น - Short Clip
World Trend - สตรีทฟู้ดสิงคโปร์รุ่งเรืองเพราะรัฐบาลสนับสนุนเต็มที่ - Short Clip
World Trend - กูเกิลเปิดตัวสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตรุ่นใหม่ - Short Clip
World Trend - WHO เผยเมืองในอินเดียอากาศสกปรกที่สุดในโลก - Short Clip
World Trend - ผู้ผลิตชิปทั่วโลกเร่งทำตลาด หลังซัมซุงชะลอตัว - Short Clip
World Trend - ญี่ปุ่นวอนนักท่องเที่ยวทำประกันเดินทาง - Short Clip
World Trend - 'แมคโดนัลด์' วางแผนลดยาปฏิชีวนะในเนื้อวัว - Short Clip
World Trend - Nintendo Switch รุ่นใหม่ยังไม่มาในเร็วๆ นี้ - Short Clip
World Trend - ​เกาหลีบุกยึด 'กล้องถ้ำมอง' ไลฟ์สตรีมแขกในโรงแรม - Short Clip
World Trend - เทสลาปิดโชว์รูมลดต้นทุน เดินหน้าขายออนไลน์ - Short Clip
​World Trend - 'นั่ง ๆ นอน ๆ' ทำชาวอังกฤษเสียชีวิตหลายหมื่นราย - Short Clip
World Trend - CLMVT: ปลายทางรับเงินลงทุนแทนที่จีน - Short Clip
World Trend - ซิลิคอนแวลลีย์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือที่ใด - Short Clip
Oct 29, 2018 16:35

หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่างแย่งชิงการเป็นฐานของสตาร์ตอัปด้วยนโยบายของรัฐบาลที่แข่งขันเพื่อดึงดูดนักลงทุนและผู้ประกอบการรายใหม่ ทั้งจากภายในและภายนอกให้เข้ามาตั้งฐานการผลิตและบริษัทเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย

เศรษฐกิจที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้กลายเป็นแรงดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติและผู้ประกอบการสตาร์ตอัปทั้งจากภายในภูมิภาคและจากนอกภูมิภาคให้เข้ามาตั้งบริษัทและฐานการผลิตต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่งรัฐบาลแต่ละประเทศต่างแข่งขันกันทางนโยบาย รวมไปถึงการปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เพื่อดึงดูดผู้ประกอบการใหม่เหล่านี้ โดยสำนักข่าวนิกเกอิเอเชียนรีวิวจะพาเราไปสำรวจประเทศในอาเซียนว่าเมืองใดบ้างที่เอื้อต่อเหล่าสตาร์ตอัปมากที่สุด

1. สิงคโปร์ การเป็นศูนย์กลางทางด้านการเงินของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นประเทศที่มีสตาร์ตอัปเยอะที่สุดในภูมิภาคนี้ ด้วยนโยบายของรัฐบาลและความพร้อมในการลงทุนที่สนับสนุนการก่อตั้งบริษัทสตาร์ตอัปใหม่ ๆ ทำให้จำนวนบริษัทสตาร์ตอัปเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดดในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2003 มีบริษัทสตาร์ตอัป 2,800 บริษัท และเพิ่มขึ้นเป็น 4,300 บริษัทในปี 2016 ขณะที่เงินการลงทุนในธุรกิจเหล่านี้สูงถึง 1,200 ล้านดอลลาร์ฯ หรือเกือบ 400,000 ล้านบาท

อิงลัน ตัน หนึ่งในผู้ก่อตั้งสตาร์ตอัปในสิงคโปร์กล่าวว่า การที่สิงคโปร์เป็นที่สนใจของนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะในสายเทคโนโลยี เป็นเพราะว่ากฎหมายของสิงคโปร์ รวมไปถึงระบบการจัดการภาษีที่เอื้อต่อนักลงทุนต่างชาติ ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นดินแดนที่สามารถดึงดูดผู้ประกอบการ และผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ให้เข้ามาก่อตั้งบริษัทสตาร์ตอัป จากการอำนวยสะดวกในการทำธุรกิจ คุณภาพชีวิต และการศึกษาของสิงคโปร์ที่มีคุณภาพระดับสูง

และเมื่อปี 2011 มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์เปิดตัวพื้นที่สำหรับเหล่าสตาร์ตอัป ในโครงการ BLOCK 71 เพื่อรองรับผู้ประกอบการสตาร์ตอัป 250 รายและบริษัทรายย่อยอีก 30 แห่ง เหมือนกับโครงการ the pioneering ที่เป็นพื้นที่รองรับสตาร์ตอัป 500 แห่งในซิลิคอนแวลลีย์ของสหรัฐฯ

2. กรุงจาการ์ตาของอินโดนีเซีย แม้ว่ากรุงจาการ์ตาจะขึ้นชื่อว่าเมืองที่มีการจราจรหนาแน่นมากที่สุดเมืองหนึ่งของโลก แต่ด้วยประชากรกว่า 260 ล้าน และกว่า 60 เปอร์เซ็นต์เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี และภายในปี 2020 ประชากรอินโดนีเซียทั่วประเทศ จะมีการเข้าถึงมือถือสมาร์ตโฟนมากกว่า 78 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้อินโดนีเซียกลายเป็นประเทศหนึ่ง ที่ดึงดูดผู้ประกอบการสตาร์ตอัปจากที่ต่าง ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะในสตาร์ตอัปสายการบริโภค ซึ่งธุรกิจสตาร์ตอัปอย่างอีคอมเมิร์ซและธุรกิจการคมนาคมต่างเติบโตได้ดีในเมืองหลวงของอินโดนีเซีย 

เมื่อปี 2017 ประธานาธิบดีโจโค วิโดโด สั่งให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องดำเนินนโยบายที่สนับสนุนผู้ประกอบการสตาร์ตอัป เพื่อผลักดันให้อินโดนีเซียเป็นประเทศเศรษฐกิจดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทางรัฐบาลดินโดฯ ยังตั้งเป้าไว้ว่า ภายในปี 2020 อินโดนีเซียจะมีสตาร์ตอัปเกิดขึ้นอย่างน้อย 1,000 แห่ง โดยดึงดูดผู้ประกอบการต่าง ๆ ด้วยนโยบายทางการเงินทั้งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ และมาตรการทางภาษีสำหรับผู้ประการสตาร์ตอัปที่มีรายได้ต่ำกว่า 4,800 ล้านรูเปียห์ หรือประมาณ 10 ล้านบาทต่อปี

อย่างไรก็ตาม ความท้าทายที่อินโดนีเซียต้องเผชิญคือ ความสามารถและทักษะของประชากรในประเทศ ซึ่งอินโดนีเซียสามารถผลิตวิศวกรในแต่ละปีได้ 278 คน ต่อประชากร 1 ล้านเท่านั้น ซึ่งนับว่ายังมีอัตราที่ต่ำกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคอย่างไทยหรือมาเลเซีย

3. กรุงเทพมหานครของไทย ไมเคิล คลูเซล ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารของบริษัทแอปพลิเคชันจองร้านอาหารชื่อดังอย่าง Eatigo เปิดเผยว่า สาเหตุที่เลือกกรุงเทพฯ เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่และเป็นที่ทดลองตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะว่าประชากรกรุงเทพฯ กว่า 8.2 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง และมีการใช้งานที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตในอัตราที่สูง รวมไปถึงบริบทการแข่งขันทางธุรกิจยังไม่สูงมากนัก เมื่อเทียบกับเศรษฐกิจในยุโรป

ขณะที่โจจิโร โคชิ ผู้ประกอบการชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาก่อตั้งธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการด้านกำลังคนในบริษัทอย่าง TalentEx กล่าวว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ค่าครองชีพยังไม่สูงเมื่อเทียบกับสิงคโปร์ และยังมีการคมนาคม โครงการสร้างพื้นฐานต่าง ๆ อย่างเช่น การขนส่งสาธารณะที่สะดวกและดีกว่ากรุงจาการ์ตาของอินโดนีเซีย

รัฐบาลปัจจุบันพยายามดึงดูดสตาร์ตอัป หรือผู้ประกอบการรายย่อย ให้เข้ามาทำธุรกิจในไทยมาขึ้นด้วยนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่มีเป้าหมายเปลี่ยนให้ไทยเป็นประเทศอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการชาวต่างชาติอาจจะต้องเผชิญกับข้อกฎหมายในการถือครองหุ้นที่จำกัดของรัฐบาลไทย โดยเฉพาะข้อบังคับให้ชาวต่างชาติถือหุ้นในกิจการได้เพียง 49 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ซึ่งเป็นข้อจำกัดในด้านเงินลงทุนจากต่างชาติที่จะไหลเข้ามาในภาคธุรกิจต่าง ๆ

4. เมืองปีนัง มาเลเซีย อดีตเมืองท่าที่สำคัญของมาเลเซียตั้งแต่ยุคอาณานิคม ปัจจุบันได้กลายเป็นเมืองของเหล่าผู้ประกอบการรุ่นใหม่ หรือสตาร์ตอัป ในปี 2012 แอนโทนี ตัน และ ตัน ฮุย หลิง ได้เปิดตัวแอปพลิเคชัน MyTeksi ในมาเลเซีย ก่อนที่จะย้ายไปยังสิงคโปร์ในปี 2014 และเปลี่ยนชื่อเป็น Grab และกลายเป็นแอปพลิเคชันเรียกรถแท็กซี่ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยที่ผ่านมา ปีนังยังเป็นเมืองที่ตั้งของบริษัทต่างชาติหลายบริษัท รวมไปถึงผู้ผลิตชิ้นส่วนของอินเทล จึงทำให้ปีนังกลายเป็นเมืองของเหล่าผู้ประกอบการในสายเทคโนโลยีและวิศวกรรม

ขณะที่รัฐบาลมาเลเซียสนับสนุนผู้ประกอบการรุ่นใหม่ด้วยการลดมาตรการภาษีให้แก่ผู้ประกอบการใหม่สูงสุดถึง 500,000 ริงกิต หรือประมาณ 3,500,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 ปี นอกจากนี้ รัฐบาลยังสนับสนุนเงินทุนให้แก่สตาร์ตอัปโดยมีกองทุน state-owned Cardle Fund ให้เงินจำนวน 25,000 - 800,000 ริงกิต หรือประมาณ 175,000 - 5,600,000 บาท แก่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ซึ่งมีบริษัทสตาร์ตอัปกว่า 700 แห่งที่ได้รับเงินทุนจากกองทุนนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสตาร์ตอัปในสายเทคโนโลยี AI และ เทคโนโลยีบล็อกเชน ปัจจุบันมาเลเซียมีบริษัทสตาร์ตอัปเกิดใหม่กว่า 900 แห่ง

5. โฮจิมินห์ซิตี้ เวียดนาม เมื่อปี 2016 รัฐบาลท้องถิ่นโฮจิมินห์ได้เปิดตัวศูนย์เทคโนโลยีสำหรับสตาร์ตอัปในเขต Saigon Hi-Tech Park พื้นที่กว่า 11,000 ตารางเมตร ด้วยเงินลงทุนกว่า 90 ล้านดอลลาร์ฯ หรือเกือบ 3,000 ล้านบาท ของรัฐบาลเวียดนาม เพื่อให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ตั้งของบริษัทและสตาร์ตอัปด้านเทคโนโลยี ซึ่งปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ตั้งของบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่อย่างอินเทลและซัมซุง 

แม้ว่าศักยภาพในการแข่งขันของบริษัทสตาร์ตอัปของเวียดนามยังเป็นรองสิงคโปร์และอินโดนีเซีย แต่ด้วยการสนับสนุนของรัฐบาลกลางเวียดนามที่ผลักดันให้เมืองใหญ่ของเวียดนามอย่างฮานอย ดานัง และโฮจิมินห์ กลายเป็นเมืองสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยี รวมไปถึงการเปิดตัวกองทุนสำหรับสตาร์ตอัปมูลค่ากว่า 85 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 2,800 ล้านบาท 

นอกจากนี้ ยังมีแหล่งเงินทุนสำหรับสตาร์ตอัปให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนต่าง ๆได้มากกว่า 701 แห่งในเวียดนาม ซึ่ง 2 ใน 3 ของบริษัทเงินทุนเหล่านี้เป็นกองทุนจากต่างชาติที่เข้ามาในเวียดนาม ส่งผลให้ปัจจุบัน มีผู้ประกอบการใหม่หรือบริษัทสตาร์ตอัปประมาณ 3,000 แห่งที่เข้ามาลงทุนและตั้งบริษัทในเวียดนาม

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog