ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - 'นาซา' ตำหนิอินเดีย ทำ ISS เสี่ยงชนเศษดาวเทียม - Short Clip
World Trend - แคนาดา ให้ใช้กัญชาเพื่อสันทนาการได้ 17 ต.ค. - Short Clip
World Trend - กูเกิลพัฒนารถไร้คนขับให้ลุยหิมะได้ - Short Clip
World Trend - โซเชียลมีเดียทำให้คนไม่อยากมีลูก - Short Clip
World Trend - สตรีซาอุดีฯ ขับรถฉลองยุติกฎหมายห้ามผู้หญิงขับรถ - Short Clip
World Trend - ฮูลิแกนอังกฤษนับพันชวดบินดูบอลโลก - Short Clip
World Trend - อังกฤษสั่งเว็บจองที่พักปรับกลยุทธ์ 'เพิ่มความเป็นธรรม' - Short Clip
World Trend - ไมโครซอฟต์พัฒนา VR เพื่อผู้พิการทางสายตา - Short Clip
World Trend - นาริตะเริ่มใช้ระบบจดจำใบหน้าผู้โดยสาร - Short Clip
World Trend - พื้นที่สำหรับคุณหนูใน 'มาร์เวล เอ็กซ์พีเรียนซ์' - Short Clip
World Trend - หุ่นยนต์สำรวจจำลองการทำงานของฝูงมด - Short Clip
World Trend - 'อูเบอร์' เปิดบริการเรือในมุมไบ - Short Clip
World Trend - นิวยอร์กผ่านกฎหมายกำกับ 'ไรด์แชริง' - Short Clip
World Trend - JAXA จ้างคนให้ตัดขาดจากโลก 2 สัปดาห์ - Short Clip
World Trend - 'กูเกิล' เน้นพัฒนาปัญญาประดิษฐ์สำหรับทุกคน - Short Clip
World Trend - Uber เปิดตัวบริการช่วยผู้ป่วยเดินทางพบแพทย์ - Short Clip
World Trend - ‘เรียนรู้-อนุรักษ์’ เทรนด์ท่องเที่ยวปี 2019 - Short Clip
World Trend - ‘ชีตาห์’ หุ่นยนต์สุดล้ำ วิ่ง-กระโดดได้ แม้มองไม่เห็น - Short Clip
World Trend - ‘บอต’ ครองพื้นที่ 2 ใน 3 ของทวิตเตอร์ - Short Clip
World Trend - วิจัยชี้ มนุษย์กังวลเรื่องชื่อเสียงตั้งแต่อนุบาล - Short Clip
World Trend - มนุษย์อวกาศเยอรมันบังคับหุ่นยนต์จากอวกาศ - Short Clip
Aug 20, 2018 16:31

แม้จะอยู่บนอวกาศ แต่นักบินอวกาศชาวเยอรมันสามารถบังคับหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ให้ปฏิบัติภารกิจบนพื้นโลกได้สำเร็จ ซึ่งเทคโนโลยีนี้อาจนำไปใช้ในการสร้างศูนย์บนดาวอังคารได้ในอนาคต

อเล็กซานเดอร์ แกรสต์ (Alexander Gerst) นักบินอวกาศชาวเยอรมัน ซึ่งเป็นหัวหน้าผู้บังคับบัญชาการของสถานีอวกาศนานาชาติ หรือ ISS และกำลังปฏิบัติภารกิจอยู่บนห้วงอวกาศในขณะนี้ ประสบความสำเร็จในการสั่งการให้หุ่นยนต์ทำงานตามคำสั่งได้ผ่านทางแท็บเล็ต

สำหรับหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ที่คล้ายมนุษย์ตัวนี้มีชื่อว่า ‘จัสติน’ และเคยปฏิบัติภารกิจร่วมกับแกรสต์มาแล้วสามครั้ง โดยปราศจากความช่วยเหลือใด ๆ จากทีมงานภาคพื้นดิน ซึ่งศูนย์อวกาศแห่งเยอรมนีหวังจะพัฒนาหุ่นยนต์นี้เพื่อเตรียมความพร้อมในการนำมนุษย์ขึ้นไปบนดาวอังคาร นอกจากนั้น เทคโนโลยีนี้ยังนำมาใช้บนโลกได้อีกด้วย เช่น การนำไปใช้ในการก่อสร้างหรือซ่อมแซมพื้นที่ที่อันตรายสำหรับมนุษย์

ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ศูนย์อวกาศแห่งเยอรมนีได้เปิดตัวโครงการ ‘สไมล์ (SMiLE)’ ซึ่งเป็นการนำหุ่นยนต์มาช่วยดูแลผู้ป่วยสูงวัย และผู้ที่มีข้อบกพร่องทางร่างกาย

โดยแกรสต์เริ่มปฎิบัติภารกิจบนยาน ISS เป็นครั้งที่สองตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายนที่ผ่านมา และก่อนที่จะกลับมายังพื้นโลกในเดือนธันวาคมนี้ เขาจะร่วมปฏิบัติการทดลองทั้งสิ้น 67 ภารกิจ ซึ่งมุ่งเน้นที่จะแก้ไขปัญหาด้านการจัดการสุขภาพ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่โลกดิจิทัล

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog