เสวนาสาธารณะ สวัสดิการประชาชนและมาตรการแก้จน บนโจทย์วินัยการคลัง โดยมีผู้ร่วมเสวนา ประกอบไปด้วย ผศ.ดร. ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผศ.ดร.อธิภัทร มุทิาเจริญ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร. ภาวิน ศิริประภานุกูล อาจจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยนโยบายด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง (ทีดีอาร์ไอ) โดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธาน ทีดีอาร์ไอ เป็นผู้ดำเนินรายการ
บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ คือการหาเสียง
ดร.สมชัย ตั้งคำถามว่ารัฐไทยควรใช้จ่ายงบประมาณอย่างไร ขณะที่วงจรของความเหลื่อมล้ำคือ ความเหลื่อมล้ำรายได้ โดยผ่านกลไกการตลาดที่กุมอำนาจโดยรัฐ นำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางทรัพย์สิน ซึ่งยุคแรกรัฐไทยไม่มีนโยบายความยากจน จนนำไปสู่วาทกรรม "รัฐบาลไทยไม่เห็นหัวคนจน" ภายหลังยุครัฐบาลพรรคไทยรักไทย เน้นนโยบายคนจน อย่างไรก็ตามขึ้นการจัดสรรนโยบายก็ขึ้นอยู่กับทัศนคติของแต่ละรัฐบาล ไม่ว่าจะมาจากการเลือกตั้งหรือไม่
แน่นอนว่าทำไมเงินโอนหรือการแจกเงิน จึงลดความเหลื่อมล้ำได้มาก เพราะสำหรับคนจนความจนคือ ความโชคร้าย และคนจนมักถูกมองว่าเป็นผู้ถูกกระทำ สำหรับแนวทางการจัดการความเหลื่อมล้ำของรัฐ พบว่างบของสังคมไทย ปี 2561 เท่ากับ 7.8 เปอร์เซ็น ต้องเพิ่มงบประมาณ 350,000 ล้านต่อปี ขณะที่แนวโน้มของหนี้สาธารณะ คาดการณ์ว่าในระยะเวลา 6 ปี มีแนวโน้มที่จะลดลง
ขณะที่แนวทางรักษาวินัยการคลัง ต้องเพิ่มรายจ่ายด้านสังคม โดยเฉพาะการสร้างสังคมสวัสดิการ ส่วนงบด้านความมั่นคงต้องมีการพิจารณาความเหมาะสม เนื่องจากหลายๆ เรื่องรัฐเข้าไปมีบทบาทมากเกินไป และควรเพิ่มรายได้ภาษีฐานทรัพย์สิน ปรับปรุงค่าลดหย่อนภาษี เพิ่มภาษี vat และนำไปใช้จ่ายในการจัดสรรสำหรับเพิ่มรายได้
ส่วนนโยบายของรัฐบาล คสช. ตลอดการบริหารประเทศมีการช่วยเกษตรกร กองทุนประชารัฐ ลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อย โดยใช้งบประมาณรวม 4-5 แสนล้านบาท เฉลี่ย 1 แสนล้านต่อปี ซึ่งถือว่าน้อย เพราะมองว่าควรเพิ่มงบประมาณ 350,000 แสนล้านต่อปี
สำหรับแนวคิดบัตรสวัสดิการแห่งรัฐนั้น 'ดร.สมชัย' มองว่าเป็นนโยบายหาเสียงแน่นอน อย่างไรก็ตามมองว่าการหาเสียงถือเป็นเรื่องปกติ ดังนั้นจึงมีข้อเสนอให้พรรคการเมืองควรยึดทัศนคติต่อคนจนให้ถูกต้อง
ขณะที่นโยบายเหลื่อมล้ำต้องจัดการอย่างเป็นระบบ และจริงจังในการหารายได้เพิ่ม ปรับเปลี่ยนทัศนคติ ให้คนในสังคมร่วมรับผิดชอบการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง และประชาชนสามารถตรวจสอบได้ในภายหลังในการใช้ต้นทุนการคลัง
สังคมเหลื่อมล้ำสูง ประชาชนไร้สิทธิ
ผศ.ดร.ประจักษ์ ให้มุมมองด้านรัฐศาสตร์ ว่า ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำสูงมีปัจจัยมาจากเชิงโครงสร้าง ซึ่งวิธีการหาเสียง ในทางรัฐศาสตร์จำแนกไว้ 3 อย่าง คือ แจกเงิน แจกผ่านโครงการ และการหาเสียงโดยเชิงนโยบายที่ครอบคลุมทุกกลุ่ม ซึ่งในภาวะการเมืองอ่อนแอที่รัฐบาลมีเสถียรภาพไม่มั่นคง ส่งผลให้รัฐบาลต้องใช้วิธีที่รวดเร็วฉาบฉวย อย่างไรก็ดีภายหลังปี 2540 มีการแข่งขันกันในเชิงนโยบายมากขึ้น ส่วนในปัจจุบันรายจ่ายในการซื้อเสียงต่อหัวคือ 500 บาทในการเลือกตั้งระดับชาติ
อย่างไรก็ดีภายหลังปี 2540 มีกลไกที่ถูกออกแบบผ่านรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้พรรคการเมืองต้องมีนโยบายที่เข้มแข็ง ส่วนการแจกเงิน และการให้ผ่านโครงการยังเหลืออยู่ ส่วนในปัจจุบันรูปแบบการหาเสียงถูกลดทอนลง ทำให้การแข่งขันเชิงนโยบายลดลง กลับไปสู่การหาเสียงในระยะสั้นมากกว่าการหาเสียงโดยนโยบาย
ส่วนนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของ คสช. เกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่ฤดูกาลเลือกตั้ง เพราะทหารไทยเก่งการทำรัฐประหาร แต่ไม่เก่งด้านการเมือง และหากอยากอยู่ในอำนาจต้องจัดตั้งพรรคนอมีนีของทหาร และสิ่งที่มีคู่กันเสมอคือการแจก จนนำไปสู่การดึงดูดผู้มีอิทธิพลและเกิดการแจกเงิน เช่นเดียวกับรัฐบาลในอดีตที่แจกผ่านโครงการเช่นกัน
ดังนั้นจะเห็นว่าในสังคมที่เหลื่อมล้ำสูง แต่คนไม่มีสิทธิ ภาคประชาชนอ่อนแอไม่มีอำนาจต่อรอง สิ่งที่จะพบเห็นคือ 'สังคมสงเคราะห์' หากพรรคการเมืองเข้มแข็งจะพบเห็น 'นโยบายประชานิยม' ที่ตอบโจทย์เพียงระยะสั้น ถ้าอยากได้สวัสดิการถ้วนหน้า ต้องเพิ่มอำนาจต่อรองของประชาชน มีการรวมกลุ่มกันในการใช้อำนาจต่อรอง โดยใช้กับทั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและไม่ได้จากการเลือกตั้ง
"ตราบใดที่ประชาชนไม่มีอำนาจต่อรอง และพรรคการเมืองไม่เข้มแข็ง มันก็จะวนเวียนอยู่กับนโยบายแบบประชานิยม " ผศ.ดร. ประจักษ์ กล่าว
การคลังต้องโปร่งใส ไม่ปิดกั้นการตรวจสอบ
ผศ.ดร.อธิภัทร ให้ความเห็นว่านักเศรษฐศาสตร์ โดยส่วนมากมองว่ามาตรการแก้จนเป็นมาตรการฉาบฉวย ไม่ผ่านการมองภาพรวมขาดการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ อย่างไรก็ตามหากมองย้อนไปรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ต่อนโยบานรถคันแรก ก็ถือเป็นการสร้างแรงจูงใจให้คนก่อหนี้ผ่อนรถอย่างเกินตัว ทำให้ส่งผลลบต่อสุขภาพทางการเงิน และเป็นส่วนหนึ่งของความอ่อ่นแอของเศรษฐกิจท้องถิ่น เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบของนโยบาย
ส่วนในปัจจุบัน สิ่งที่น่ากังวลคือการขาดกลไกในต้นทุนของการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างๆ ซึ่งต้องตั้งคำถามว่าพ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังเพียงพอหรือไม่ โดยส่วนตัวมองว่าการติดตามต้นทุนยังมีช่องทางในการเปิดเผยน้อย
ส่วนการประเมินความคุ้มค่าอย่างเป็นกลาง จะทำอย่างไรให้สังคมเชื่อถือได้ ซึ่งประชาชนควรให้ความสำคัญต่อเอกสารที่รัฐบาลประเมินความคุ้มค่า และต้องมีหน่วยงานที่เป็นกลางที่ประชาชนสามารถวางไว้ใจได้ ไม่ใช่หน่วยงานที่รัฐสามารถควบคุมได้ และต้องทำให้ประชาชนรู้ทางการคลังเท่าทันนักการเมิอง
'สังคมสูงอายุ' บทท้าทายรัฐบาล
ผศ.ดร. ภาวิน ให้ความเห็นว่าในอนาคตช่วงปี 2561- 2576 สัดส่วนประชากรไทยสูงอายุจะมีเพิ่มขึ้น ขณะที่ประชากรแรงงานจะมีตัวเลขลดลง แน่นอนว่ารายจ่ายสวัสดิกาลจะเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ศักยภาพของภาครัฐประชากรอาจถูกแย่งงานจาก Artificial Intelligence (AI) และแรงงานจากต่างประเทศ
ส่วนรายจ่ายของรัฐบาลที่ส่งเสริมภาคการผลิต ประกอบไปด้วยการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน รายจ่ายด้านการศึกษา รายจ่ายสาธาธารณะสุข พบว่ารัฐบาลประเทศไทยมีแนวโน้มในรายจ่ายด้านการศึกษาลดลง ขณะที่ด้านสาธารณะสุขคงที่ ด้านสังคมสงเคราะห์มีการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะข้อเสนอการเสริมศักยภาพในรัฐบาลระยะยาว รัฐบาลต้องให้การสนับสนุนการส่งเสริมการสร้างประสิทธิภาพของประชากร และส่งเสริมสวัสดิการ ลดภาษีให้กับผู้สูงอายุ
"ถ้าจะพูดว่าคนไม่มีกินก็ต้องแจก ตั้งต้องคำถามว่าแล้วเมื่อไหร่คนจะมีกิน” ผศ.ดร.ภาวิน กล่าว