ไม่พบผลการค้นหา
ผลการเลือกตั้ง ส.ส.เป็นการทั่วไปครั้งแรกในรอบเกือบ 5 ปี เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2562 ได้บ่งชี้ในเฉพาะผล ส.ส.แบบแบ่งเขต 350 เขต พรรคเพื่อไทยได้ครองเสียง ส.ส.อันดับ 1 จำนวน 137 ที่นั่ง โดยไม่มี ส.ส.บัญชีรายชื่อ อันดับ 2 พรรคพลังประชารัฐ ได้ ส.ส.เขต 97 เสียง และคาดว่าจะได้ ส.ส.บัญชีรายชื่ออีก 21 เสียง รวม 118 เสียง

อันดับ 3 พรรคอนาคตใหม่ได้ ส.ส.เขต 33 เสียง คาดว่าได้ ส.ส.บัญชีรายชื่ออีก 58 เสียง รวม 88 เสียง

อันดับ 4 พรรคประชาธิปัตย์ ได้ ส.ส.เขต 33 ที่นั่ง คาดว่าได้บัญชีรายชื่ออีก 21 ที่นั่ง รวมได้ ส.ส.ทั้งหมด 54 เสียง

อันดับ 5 พรรคภูมิใจไทยกวาด ส.ส.เขต 39 ที่นั่ง และคาดว่าได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อมาเติมเต็มอีก 13 ที่นั่ง

นี่คือผลการเลือกตั้งของ 5 พรรคการเมืองที่ได้คะแนน ส.ส.สูงสุดในการเลือกตั้งครั้งนี้

หากย้อนไปก่อนวันเลือกตั้งที่ 24 มี.ค. 2562

พรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยที่ประกาศจุดยืนอย่างชัดเจนมาโดยตลอดว่าจะไม่จับมือกับพรรคการเมืองที่ร่วมมือ คสช. ในการสืบทอดอำนาจ ประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย พรรคอนาคตใหม่ พรรคประชาชาติ พรรคเสรีรวมไทย พรรคเพื่อชาติ และพรรคเศรษฐกิจใหม่

พันธมิตรทางการเมืองในปีกประชาธิปไตย หลังผลการเลือกตั้งวันที่ 24 มี.ค.ออกมา แม้จะไม่มีคำประกาศรับรองผลอย่างเป็นทางการจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

AFP-อนาคตใหม่แถลงจุดยืนการเมือง 4 ข้อที่ทำการพรรคหลัง กกต.ประกาศผลเลือกตั้ง.jpg

ในขณะที่พรรคการเมืองที่เป็นพันธมิตรฝ่ายคสช. ประกาศจุดยืนสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีต่อสมัยที่ 2

คือพรรคพลังประชารัฐ พรรครวมพลังประชาชาติไทย 

ขณะที่พรรคการเมืองขั้วที่ยังไม่แสดงจุดยืนอย่างเป็นทางการจะเลือกข้างฝ่ายใด

ประกอบด้วยพรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนา

ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ ได้พบบทเรียนความพ่ายแพ้ที่สุดภายใต้การนำของหัวหน้าพรรคที่ชื่อ 'อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ' ซึ่งเป็นการแพ้เลือกตั้งเป็นครั้งที่ 3 หลังประกาศจุดยืนด้วยการไม่สนับสนุนการสืบทอดอำนาจของ คสช. ผ่านการชู พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี กลายเป็นผลสะเทือนให้ฐานเสียงเดิมเปลี่ยนไปเข้าคูหากาพรรคพลังประชารัฐ

"จะร่วมกับพลังประชารัฐมั้ย ผมก็บอกผมพูดชัดแล้ว อะไรที่เกี่ยวกับการสืบทอดอำนาจ อะไรที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต เราไม่ร่วม แต่ถ้าพรรคพลังประชารัฐ เขาไม่มี 2 เงื่อนไขนี้ ก็คุยกันได้" นายอภิสิทธิ์ ปราศรัยใหญ่ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2562 ประกาศย้ำจุดยืนก่อนวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในอีก 2 วันหลังจากนั้น

อภิสิทธิ์  ปราศรัย ลานคนเมือง_๑๙๐๓๒๒_0021.jpg

และคำประกาศในสมรภูมิเลือกตั้งครั้งนี้ ส่งผลสะเทือนมายังยอด ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ที่สอบตกเมื่อพ่ายแพ้ให้กับพรรคพลังประชารัฐในหลายเขตที่เป็นฐานเสียงเดิม

ขณะที่ท่าทีของพรรคพลังประชารัฐ ที่ได้คะแนนนิยมทั่วประเทศมาเป็นอันดับ 1 คือ 7.9 ล้านเสียง แต่ได้ ส.ส.มาเป็นอันดับ 2 ประกาศเดินหน้าจัดตั้งรัฐบาลแข่งกับพรรคเพื่อไทย

"พรรคพลังประชารัฐยังคงยืนยันแนวทางที่เราได้ยืนยันมาตั้งแต่ต้นว่าพรรคใดรวบรวมเสียงข้างมากได้ก็สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้" นายอุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ระบุ

พลังประชารัฐ อุตตม สนธิรัตน์ __33267788.jpg

และทำให้พรรคการเมืองซีกประชาธิปไตยคัดค้านกับท่าทีของพรรคพลังประชารัฐทันที

เมื่อพรรคเสรีรวมไทย ซึ่งคาดว่าได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 11-12 ที่นั่ง ท้วงติงพรรคพลังประชารัฐที่เสียมารยาททางการเมือง

"พรรคพลังประชารัฐมาเป็นที่ 2 ควรมีมารยาท หยุดการเคลื่อนไหว อย่างพรรคเสรีรวมไทยไม่แสดงตัวที่จะตั้งรัฐบาลอยู่แล้ว" พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย ระบุ

ความเคลื่อนไหวของพรรคการเมืองซีกประชาธิปไตยจึงนัดหมายพรรคการเมืองพันธมิตรผนึกกำลังแถลงข่าวจุดยืนเดินหน้าตั้งรัฐบาลฝ่ายประชาธิปไตยด้วยตัวเลข ส.ส.ไม่ต่ำกว่า 250 เสียง

ภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทย โดยจะมีพรรคอนาคตใหม่ พรรคเสรีรวมไทย พรรคประชาชาติ พรรคเพื่อชาติ พรรคพลังปวงชนไทย พรรคเศรษฐกิจใหม่

เพื่อไทย

หากผลการรวมตัวในสภาผู้แทนราษฎรของฝ่ายประชาธิปไตยได้เสียงไม่ต่ำกว่า 250 เสียง

นั่นหมายความว่าพรรคการเมืองที่เหลือจะมีเสียงในสภาไม่เกินกึ่งหนึ่งกลายเป็นเสียงข้างน้อยในทันที

เสียงข้างน้อยในสภาที่แน่ชัดคือ พรรคพลังประชารัฐ พรรครวมพลังประชาชาติไทย

ในขณะที่พรรคการเมืองที่ยังไม่ประกาศจุดยืนอย่างแน่ชัด ทั้งพรรคภูมิใจไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนา จะเป็นตัวแปรที่สำคัญ เพราะทั้ง 4 พรรคมีจำนวน ส.ส.รวมกันไม่ต่ำกว่า 100 ที่นั่ง

เสียงไม่ต่ำกว่า 50 ที่นั่ง ของพรรคภูมิใจไทยจึงมีราคาในการต่อรองทางการเมืองทันที

หากจับคำพูดของ 'อนุทิน ชาญวีรกูล' หัวหน้าพรรคภูมิใจไทยที่พูดล่าสุดเมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2562 จะพบว่ามีอาการแบ่งรับแบ่งสู้ ไม่ฟันธงว่าจะเลือกข้างใด

"พรรคภูมิใจไทยไม่เคยพูดว่าจะไม่เอานายกฯ ที่ไม่มาจาก ส.ส."

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า ยังยืนได้ไหมว่าจะไม่สนับสนุนนายกฯ ที่ไม่ได้มาจาก ส.ส. ทว่า 'อนุทิน' ตอบว่า "ผมไม่เคยพูดคำนี้ น้องชอบพูดคำนี้ ผมไม่เคยพูดคำว่าไม่สนับสนุนนายกฯที่ไม่ได้มาจาก ส.ส. ผมบอกว่าพรรคภูมิใจไทยจะไม่สนับสนุนให้นายกฯ ที่มีเสียงข้างน้อยเป็นนายกฯ"

อนุทิน-อภิสิทธิ์

คำประกาศยืนยันของ 'อนุทิน' จึงทำให้พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ประกาศท่าทีทางการเมืองยืนข้างฝ่ายประชาธิปไตย ออกปากชวนให้ 'อนุทิน' มายืนข้างพรรคการเมืองฝ่ายเดียวกัน โดยลอยแพ และโดดเดี่ยวให้พรรคพลังประชารัฐเป็นเสียงข้างน้อยในสภาล่าง

และหากย้อนไปจับคำพูดของหัวหน้าพรรคภูมิใจไทยเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2562 ก่อนวันลงคะแนนเลือกตั้ง 2 วัน

เขาย้ำจุดยืนของพรรคภูมิใจไทยไว้อย่างน่าคิดว่า "ภูมิใจไทยจะให้อันดับ 1 ตั้งรัฐบาลก่อน

"ภูมิใจไทยจะรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีทางการเมืองให้ได้มากที่สุด ที่สำคัญก็คือ ภูมิใจไทยจะสนับสนุนผู้นำ หรือรัฐบาลที่มีความมั่นคง ไม่ใช่สนับสนุนเข้าไปแล้วทำงานไม่ได้"

"พรรคอันดับ 1 ส่วนใหญ่เขาจะรวบรวมอยู่แล้ว รวบรวมไม่ได้ก็เป็นพรรคอันดับ 2 สิ่งนี้มันเกิดขึ้นมาแล้วในประวัติศาสตร์" อนุทิน ขยายความเพิ่มเติม

'อนุทิน' ยังปฏิเสธที่จะรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หากพรรคภูมิใจไทยไม่ได้เสียงถึงขั้นเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลได้

ด้วยสภาพการเมืองหลังการเลือกตั้งเป็นการแบ่งขั้วสองข้างอย่างชัดเจน

ด้วยที่นั่งในสภาไม่มีที่ว่างขั้วที่สามให้นั่งได้ เพราะต้องเลือกว่าจะเป็นซีกรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน

การเดินเกมรุกทางการเมืองของฝ่ายประชาธิปไตยในวันที่ 27 มี.ค. เพื่อรวมเสียงเบื้องต้นอย่างต่ำ 250 เสียงไว้

จึงเสมือนเป็นการกดดันให้พรรคการเมืองที่ยังไม่ประกาศจุดยืนอย่างชัดเจน ได้ตัดสินใจว่าจะเลือกข้างฝ่ายประชาธิปไตย หรือฝ่ายเผด็จการสืบทอดอำนาจ คสช.

การเมืองไทยหลังเลือกตั้งจึงไม่ใช่การเมืองสามก๊กตามที่พรรคการเมืองบางพรรคประกาศไว้ จนพบบทเรียนที่แสนเจ็บปวดในวันนี้!

ข่าวที่เกี่ยวข้อง