ไม่พบผลการค้นหา
'แพทองธาร' หน.ครอบครัวเพื่อไทย ยันนโยบายเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาท สามารถทำได้จริงแต่ต้องเร่งผลักดันให้เศรษฐกิจเติบโต 'พรหมมินทร์' ย้ำต้องลดความเหลื่อมล้ำ ด้าน 'เผ่าภูมิ' ชี้ นายจ้าง-ลูกจ้าง ต้องเดินไปด้วยกัน

วันที่ 7 ธ.ค. 2565 ที่พรรคเพื่อไทย แพทองธาร ชินวัตร ประธานคณะที่ปรึกษาด้านการมีส่วนร่วมและนวัตกรรม ในฐานะหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย พร้อมด้วย นพ.พรหมมินทร์ เลิศสุริย์เดช ประธานคณะกรรมการนโยบายพรรคเพื่อไทย และเผ่าภูมิ โรจนสกุล รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย แถลงถึงกรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์นโยบายเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาทนั้น แพทองธาร กล่าวว่า เป็นวิสัยทัศน์แสดงให้เห็นว่า ถ้าพรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาลเราจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง โดยค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาทต่อวัน เป็นหนึ่งในนั้น 

แพทองธาร ระบุอีกว่า ตนเข้าใจดีว่า ทำไมถึงมีการถกเถียงกันเรื่องนี้ เพราะทุกวันนี้เศรษฐกิจของประเทศไม่ดีเลย คงจะคิดภาพให้มีความหวังว่า ค่าแรง 600 บาท ต้นทุนต้องเพิ่มขึ้นใช่หรือไม่ เพราะภาพรวมเศรษฐกิจยังไม่เหมาะสม แต่เมื่อวานนี้ที่ตนพูดถึงนโยบายนี้เป็นภาพรวมของทั้งประเทศที่จะโตไปพร้อมๆ กัน ซึ่งค่าแรงขั้นต่ำทุกวันนี้เพิ่มขึ้นมาจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่กำหนดให้ 300 บาทเป็น 350 บาท แต่นั่นก็เป็นเวลา 10 ปีแล้ว ผลที่ตามมาคือ รวยกระจุก จนกระจาย คนที่ได้ผลประโยชน์คือฐานบนเท่านั้น แต่ฐานรากซึ่งเป็นส่วนใหญ่ทั้งประเทศยังได้รับความเดือดร้อน 

พรรคเพื่อไทยต้องคิดใหญ่ให้เศรษฐกิจของทั้งประเทศขับเคลื่อนไปด้วยกัน และไม่ได้บอกว่าเอางบประมาณมาใช้ แต่หมายถึงเศรษฐกิจภาพรวม เพื่อที่จะทำให้ประเทศลดความเหลื่อมล้ำลง ซึ่งเราเป็นอันดับต้นๆ ที่เกิดความเหลื่อมล้ำนี้ เราต้องการจะลดให้ได้ ถ้าพรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล อีกทั้งพี่น้องแรงงานยังไม่ได้รับเกียรติ และศักดิ์ศรีเท่าที่ควร 

แพทองธาร กล่าวอีกว่า ประเทศญี่ปุ่นมีค่าแรง 1,800 บาทต่อวัน เพราะภาพรวมเศรษฐกิจทั้งประเทศดีทั้งหมด เมื่อแรงงานมีรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น เขาจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น นั่นคือตัวผลักดันเศรษฐกิจทั้งประเทศ เราจะต้องเป็นทุนนิยมที่มีหัวใจที่จะรู้ได้ว่าแรงงานต้องมีการขึ้นค่าแรง แต่ต้องปรับเมื่อทั้งเศรษฐกิจทั้งประเทศเพิ่ม ส่วนวันนี้ค่าแรง 600 บาทต่อวันยังไม่ได้ เพราะเศรษฐกิจไม่ดี แต่ถ้าเศรษฐกิจดีมันจะไปทั้งระบบ 

"จากหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา เมื่อปีแรกที่เราทำงานในฐานะรัฐบาล เราทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นได้ จีดีพีมันอาจจะสูงกว่า 5% เป็นไปได้ และลดน้อยลงตามเลขเฉลี่ยบวกกับเศรษฐกิจโลก การเติบโตของเศรษฐกิจต้องให้เติบโตทั้งระบบทั้งประเทศ คนทุกชนชั้นได้รับโอกาส มีเกียรติ ออกมาใช้ชีวิตออกมาใช้สอย ชำระหนี้สินของตัวเองได้ ปัญหามีมานานมากจึงจำเป็นต้องคิดใหญ่ถึงจะแก้ได้ทั้งระบบ" แพทองธาร กล่าว 

แพทองธาร A-44BE-B50A-2BE2399CCDF1.jpegแพทองธาร พรหมินทร์ เผ่าภูมิ 6FEA41E9.jpegแพทองธาร เพื่อไทย A649FCCD9E1.jpegแพทองธาร 1-8701-AF5E10DC6247.jpeg

นพ.พรหมมินทร์ กล่าวว่า สิ่งที่สำคัญ และย้ำจุดยืนของพรรคเราคือ เน้นการสร้างรายได้ เรื่องของแรงงานขั้นต่ำเป็นตัวชี้วัด 2 เรื่องคือ รายได้ของประชาชนต่ำ และรายได้ทั้งประเทศต่ำ บวกกับความเหลื่อมล้ำสูง นั่นคือสิ่งที่เราต้องไปให้ถึง สิ่งสำคัญเมื่อวานนี้เราย้ำจุดยืนสร้างรายได้ทั้งระบบ พูดถึง 10 ประเด็นด้วยกัน และเชื่อมโยงกัน เราตระหนักดีว่า เศรษฐกิจจะดีขึ้นต้องสร้างรายได้ใหม่ วันนี้รัฐบาลเก็บภาษีได้น้อยกว่าเป้าจึงทำให้ไปกู้ และใช้วิธีการดันเพดานเงินกู้

นพ.พรหมมินทร์ กล่าวอีกว่า ถ้าภาคเอกชนทั้งหลายที่มีความเห็น เราในฐานะรัฐบาล เราเก็บภาษี 20% หมายความว่า เราถือหุ้นของคุณ 20% เราต้องทำให้ภาคธุรกิจโตไปด้วยกัน มีหลายท่านวิจารณ์ว่า ทำลายโครงสร้างนั้นไม่จริง เป็นเรื่องของนายจ้าง กับ ลูกจ้าง เป็นส่วนหนึ่ง และต้องขยับไปตามขั้นตอน 

ขณะเดียวกันเรื่องของการปลดปล่อยศักยภาพด้วยโครงการ 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ จาก 22 ล้านครัวเรือน และทำให้มีรายได้ 200,000 บาทต่อปี องคาพยพเหล่านี้ล้วนแล้วแต่สร้างรายได้ นี่คือการสร้างรายได้ ขอให้มั่นใจว่า ต้องเติบโตไปด้วยกัน และตระหนักดีกว่า ส่วนประกอบภาคธุรกิจจะสร้างรายได้ให้ประเทศ 

เผ่าภูมิ 0BE6606A3DEF.jpeg3495C215-297E-4B8A-85AF-F9FF63863770.jpeg

ด้าน เผ่าภูมิ ได้แจงในประเด็นดังกล่าว 4 หัวข้อ ด้วยกันคือ ค่าแรง 600 บาทในปี 2570 เหมาะหรือไม่นั้นวิสัยทัศน์ของผู้พูด คิด และมองปี 2570 อย่างไร ถ้าปี 2570 ประเทศไทยยังเป็นประเทศรับจ้างราคาถูก ไม่แปลกใจที่ 600 บาทจะเป็นเพียงความเพ้อฝัน และมองว่าเป็นไปไม่ได้ แต่วิสัยทัศน์ของพรรคเพื่อไทยในอีก 5 ปีข้างหน้า ภายใต้รัฐบาลพรรคเพื่อไทย เราจะยกระดับการผลิตไปอีกขั้น กลายเป็น การผลิตที่สร้างนวัตกรรม เราจะคือผู้สร้างนวัตกรรม จากภาคการเกษตรตามยถากรรมเป็นภาคเกษตรกำหนดราคาได้ จากภาคบริการรายได้ต่ำเป็นรายได้สูง และเพิ่มต่อหัวได้มากขึ้น รวมถึงต่อจากนี้ประเทศไทยจะดึงการลงทุนการค้าจากต่างประเทศ คู่แข่งของเราไม่ใช่เวียดนาม แต่จะเป็นประเทศที่เจริญแล้ว เพราะเราใช้แรงงานศักยภาพสูงในการดึงดูด 

เผ่าภูมิ กล่าวอีกว่า ค่าแรง 600 บาทนั้น เราคิดจาก 3 ส่วนคือ การเติบโตของจีดีพี ผลิตภาพแรงงาน และเงินเฟ้อ โดยค่าแรงจะถูกปรับตามปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้ไปเรื่อยๆ แต่สิ่งที่เกิดในประเทศไทย ค่าแรงของเรา เกาะอยู่กับผลิตภาพ และเงินเฟ้อ แต่หลายฝ่ายลืมไปว่าทค่าแรงของเราโตไม่ทันจีดีพี เศรษฐกิจขยายตัวกว่าค่าแรง ต่อจากนี้ต้องตั้งเป้าจีดีพีอย่างน้อย 5% ถ้าไม่ปรับค่าแรงขั้นต่ำ ช่องว่างนายจ้าง และลูกจ้างจะถ่างมากขึ้น 

เผ่าภูมิ กล่าวว่า ค่าแรง 600 บาทกับนายจ้างคือสองขาที่ต้องเดินไปด้วยกัน เราไม่สามารถทำให้ขาขวาเดินไปแล้วขาซ้ายพิการได้ ทั้งคู่ต้องเดินไปด้วยกันได้ ต้องคู่ขนานไปกับการดูแลผู้ประกอบการ รัฐบาลยิ่งลักษณ์สามารถปรับค่าแรงขั้นต่ำได้ และสามารถลดภาษีผู้ประกอบการ แต่เก็บรายได้จากภาษีขึ้นได้ นั่นหมายถึง ภาคเอกชนขยายตัว และจีดีพีขยายตัว 

นอกจากนี้ ค่าแรง 600 บาท กับ การเร่งเงินให้หมุนในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยมีความเร็ว หรือ เงินหมุนช้าที่สุดในรอบ 20 ปี ความเร็วในการหมุนเงินรัฐบาลทักษิณ เร็วกว่ารัฐบาลประยุทธ์ ถึง 40% เพราะฉะนั้นต้องเร่งแก้ไขให้ไทยจำเป็นต้องเพิ่มความเร็วในการหมุนเงิน