ไม่พบผลการค้นหา
ส่องสีสันล้อเลียนเสียดสี 'ผู้นำประเทศไทย' ผ่านขบวนชุมนุมทางการเมือง จากยุครัฐบาลเลือกตั้งถึงยุครัฐบาลทหาร

เสียงเตือนกลุ่มคนอยากเลือกตั้งดังมาจาก พล.ต.ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ ทีมโฆษกคณะรักษาความสงบ (คสช.) โดยระบุถึงความไม่เหมาะสมในการล้อเลียน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. เนื่องจากมีการใช้หน้ากากตัวการ์ตูน 'พิน็อคคิโอ' ซึ่งเกี่ยวพันกับการ 'พูดไม่จริง' มาแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ในการเรียกร้องจัดเลือกตั้ง ตามคำสัญญาของนายกรัฐมนตรี

อย่างไรก็ตาม หากย้อนกลับไปดูการชุมนุมทางการเมืองในประเทศไทย ช่วงวิกฤตการเมืองตลอด 10 ปีที่ผ่านมา พบว่าการนำตัวการ์ตูนมาล้อเลียน 'ไม่ใช่เรื่องใหม่' เพราะการนำตัวการ์ตูนมาเสียดสีล้อเลียนผู้นำประเทศถือเป็นอีกหนึ่งไฮไลต์ นอกเหนือจากการออกมาเดินประท้วงตามท้องถนน

'วอยซ์ ออนไลน์' จึงรวบรวมภาพสีสันเหล่านี้จากยุคประท้วงรัฐบาลเลือกตั้งมาจนถึงยุครัฐบาลทหารในปัจจุบัน 

ปี 2549 'กลุ่มพันธมิตรฯ' ประท้วงขับไล่ 'รัฐบาลทักษิณ'

000_Hkg134241.jpg

พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือ กลุ่มคนเสื้อเหลือง นำโดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล และพลตรี จำลองศรีเมือง ก่อตัวเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมือง เมื่อปี 2548 เพื่อประท้วงรัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร จนนำไปสู่การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549

ปี 2553 'นปช.' ประท้วงขับไล่ 'รัฐบาลอภิสิทธิ์'

000_Hkg3185107.jpg

แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือ กลุ่มคนเสื้อแดง นำโดย นายจตุพร พรหมพันธ์ นายวีระ (วีระกานต์) มุสิกพงศ์ นพ.เหวง โตจิราการ และนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เคลื่อนไหวชุมนุมครั้งใหญ่ในปี 2552 และ ปี 2553 เพื่อประท้วงขับไล่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จนถึงเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่มีผู้เสียชีวิตร่วมร้อย และบาดเจ็บอีกหลายพันคน  

ปี 2556 'กลุ่ม กปปส.' ประท้วงโค่นล้ม 'รัฐบาลยิ่งลักษณ์'

000_Hkg9235833.jpg

คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ ม็อบหลากสี หรือ ม็อบนกหวีด นำโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ จัดชุมนุมเพื่อประท้วงขับไล่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตั้งแต่ปี 2556-2557 เรียกร้องการปฏิรูปประเทศ จนนำไปสู่การรัฐประหารยึดอำนาจ 22 พฤษภาคม 2557

ขณะที่มุมมองจากนางอังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระบุกับวอยซ์ ออนไลน์ ว่า โดยส่วนตัวมองว่า หากคนที่ถูกล้อเลียนเป็นบุคคลสาธารณะ ที่อาสาเข้ามาทำงาน ก็ต้องยอมรับคำวิพากษ์วิจารณ์ แม้แต่องค์กรอิสระก็เคยถูกล้อเลียน

คนอยากเลือกตั้ง IMG_0717.jpg

อย่างไรก็ตาม การล้อเลียนต้องไม่ได้สร้างความเกลียดชังหรือลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ส่วนกรณีหน้ากากพิน็อคคิโอ อยากให้มองว่าเป็นเรื่องสิทธิเสรีภาพการแสดงออกของประชาชน ที่อยากสะท้อนความรู้สึกออกมา

อ่านเพิ่มเติม

พิชิตศักดิ์ แก่นนาคำ
ผู้สื่อข่าว Voice Online
91Article
1Video
0Blog