ไม่พบผลการค้นหา
การส่ง ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ สู่นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ยังขาดเสียงสนับสนุน จาก ส.ส. และ ส.ว. อีกอย่างน้อย 64 เสียงเพื่อรวมกับ 312 เสียง ของ ส.ส. 8 พรรคร่วมฝ่ายประชาธิปไตย ให้ถึง 376 เสียง

แต่สถานการณ์ดูเหมือนยังไม่แน่นอนต่อประเด็นการรวมเสียงดังกล่าว วอยซ์ออนไลน์จึงชวนสำรวจความเคลื่อนไหวของกลุ่ม ส.ว. ที่จะส่งผลต่อความเป็นไปได้ในการเติมเสียง ดังนี้ 

ภาพรวมของ 250 ส.ว. ชุดนี้ ต้องจำแนกตามสัดส่วนและที่มา 3 กลุ่ม คือ มาจากการผู้นำเหล่าทัพ 6 ราย การเลือไขว์จากกลุ่มอาชีพ 50 ราย และการเลือกโดย คสช. 194 รายพร้อมทั้งยังต้องประเมินโดยจำแนกรายกกลุ่มอาชีพ ซึ่งเมื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการโหวตนายกรัฐมนตรีสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 

1. ด้วยที่มาของ ส.ว. ทั้ง 3 แหล่ง แม้จะต้องผ่านความเห็นชอบจาก คสช. ในด่านสุดท้าย แต่ก็นับว่า มีความสำคัญในการนำมาพิจารณา เพราะจะเห็นได้ว่า ส.ว. ที่มาจากสายอาชีพ 50 ราย ค่อนข้างมีความเป็นกลุ่มก้อนสูง และมีปริมาณเป็นกอบเป็นกำหากจะมีการเติมเสียงให้ฝ่ายประชาธิปไตย ตั้งนายกรัฐมนตรีที่มาจากประชาชน 

บุคคลที่ถูกจับตาว่า มีความสัมพันธ์และเป็นแกนนำการร่วมกลุ่มอาชีพ 50 ราย คือ พีระศักดิ์  พอจิตต์ ที่ออกมาประกาศตั้งแต่ทราบผลการเลือกตั้งว่า พร้อมหาเสียงสนับสนุน พิธา หากการโหวตตั้งประธานรัฐสภา ไม่มีการเสนอชื่อแข่งขันจากพรรคเพื่อไทย ซึ่งผลการลงมติเลือกประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แสดงให้เห็นแล้วว่า ไม่มีการแตกแถว จึงต้องจับตาการเคลื่อนไหวเพื่อรวมเสียงของ ส.ว. รายนี้ 

ถึงแม้จะมาในส่วนของกลุ่ม 196 ส.ว. แต่ด้วยพื้นเพความเป็นอัยการเก่า และอยู่ในครอบครัวการเมืองท้องถิ่น ซึ่งเคยได้รับเลือกเป็น ส.ว. ใน พ.ศ. 2556 และเคยไปถึงขั้นการล็อบบี้เสียง ส.ว.สายเลือกตั้งจนได้รับเลือกเป็น รองประธานส.ว. คนที่หนึ่ง ก่อนการรัฐประหาร พ.ศ. 2557 ก็ะได้สะท้อนถึงศักยภาพของ ส.ว.รายนี้ ที่มีต่อกลุ่ม ส.ว. สายอาชีพและท้องถิ่นที่ต้องผ่านการเลือกในระดับอำเภอและจังหวัด

จริงอยู่ที่ พีระศักดิ์ อาจถูกประเมินว่า อยู่ในกลุ่มขั้นอำนาจเก่าอย่างชัดเจน เนื่องจากหลักการประรัฐประหารได้รับการแต่งตั้งเป็นรองประธาน สนช. คนที่สอง แต่ก็ต้องห้ามลืมว่า เขาถูกจัดอยู่ในกลุ่มคนอกหักเมื่อมีการลงมติเลือกประธานและรองประธาน ส.ว. ในปี 2562 ที่ต้องหลุดโผ ประกอบกับเครือข่ายความสัมพันธ์กับ ส.ส. ในพรรคเพื่อไทยกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบนและภาคเหนือตอนล่างก็ได้แสดงให้เห็นถึงเครือข่ายที่มีในการประสานกับสภาล่างจากฝ่ายประชาธิปไตย ทำให้พีระศักดิ์ คือ อีก 1 คีย์แมน 

รัฐสภา พรเพชร สุรชัย พีระศักดิ์ สนช สภานิติบัญญัติแห่งชาติ 00_Hkg10087411.jpg

2.ส.ว. สายภาคเอกชน นำโดย ประภาศรี สูฉันทบุตร ที่ประกาศยึดหลักการประชาธิปไตยหนุน พิธา เป็นนายกฯ ก็จะเป็นอีกหนึ่งผู้นำทางความคิดโน้มน้าว ส.ว. ภาคเอกชน รายอื่น ๆ ที่มีอยู่จำนวนหนึ่งให้สนับสนุนการโหวตไปในทิศทางเดียวกันได้ไม่มากก็น้อย เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า ประภาศรี ส่งสัญญาณเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับทีมสภาหอการค้าและสภาอุตสาหกรรม ที่ออกมาประกาศเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยึดหลักการโหวต ‘พิธา’ เป็นนายกฯรอบเดียว เพื่อให้มีรัฐบาลใหม่เข้ามาขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยเร็ว ซึ่งทำให้เห็นได้ว่าความเป็นปึกแผ่นของภาคเอกชน โดยเฉพาะกลุ่มทุนขนาดเล็กและขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ ซึ่งกลุ่มทุนใหม่ มีความต้องการที่ชัดเจน 

3. ส.ว. สายอดีตข้าราชการเก่า ที่เด่นชัด คือ พิศาล  มาณวพัฒน์ อดีตทูตประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และอดีตอธิบดีกรมเอเชียตะวันออก แสดงท่าทีอย่างชัดเจนถึงการยึดมั่นในฉันทามติของประชาชน ตั้งแต่การโหวตร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญปิดสวิตช์ตนเอง เช่นเดียวกับ วุฒิพันธ์ วิชัยรัตน์ส.ว. อดีต ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ที่ยังประกาศยึดมั่นแนวทางการลงมติ ซึ่งด้วยสถานะของอดีต 2 ส.ว. ดังกล่าว ก็ได้สะท้อนให้เห็นว่า สภาพปัญหาของระบบราชการไทย 

โดยเฉพาะด้านการงบประมาณ และด้านการต่างประเทศเกิดปัญหาที่ควรจะต้องรับการแก้ไขในเชิงโครงสร้างตามนโยบายของพรรคก้าวไกล ที่ได้รับการอนุมัติผ่านคะแนนเสียงเลือกตั้งของประชาชนแล้ว โดยวิธีคิดเช่นนี้ยังอาจส่งไปยัง ส.ว. สายอดีตข้าราชการประจำ ซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการ จำนวนหนึ่งที่ผิดหวังกับการปฏิรูปประเทศจอมปลอมในสมัยรัฐบาลประยุทธ์และเพื่อนจนไม่อาจสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ประเทศไทยได้ 

สมาชิกวุฒิสภา -8F9D-4F62-8B49-B0D176E804C9.jpeg

4. ส.ว. สายภาคประชาสังคม นำโดย อำพล จินดาวัฒนะ ส.ว.สายแพทย์ชนบทที่มีความแนบแน่นกับภาคประชาสังคมในการเคลื่อนไหวเพื่อต่อสู้ให้กลุ่มคนเปราะบาง กลุ่มคนชายขอบ 

หรือ มณเฑียร บุญตัน ส.ว. ตัวแทนกลุ่มคนพิการ ก็แสดงออกชัดถึงการเดินตามมติมหาชน  

เช่นเดียวกับ ซากีย์ พิทักษ์กุมพล ส.ว. สายตัวแทนมุสลิมและนักวิชาการด้านสันติภาพชายแดนใต้ก็น่าจะมีบทบาทอย่างสูงในการโน้มน้าว ส.ว. ให้ลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีตามหนทางของระบอบประชาธิปไตย 

ตัวแทนของ ส.ว. จากกลุ่มข้างต้นที่ประกาศท่าทีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี โดยวางอยู่บนสามัญสำนึกต่อคุณค่าในระบอบประชาธิปไตยก็ทำให้ชวนจับตาว่า จะสามารถรวมเสียงสภาสูงได้ถึงเป้าหมาย 64 เสียง เพื่อส่ง พิธาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ในการลงมติรอบเดียว หรือช่วยประสานงานเพิ่มเสียงในการโหวตครั้งถัดไปได้หรือไม่