คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ระดมผู้บริหาร อัยการ สำนักการตรวจเงินแผ่นดิน อัยการ กฤษฎีกา 3 สมาคมเอกชน สนธิกำลังศึกษา-ฟังความเห็นนโยบายรัฐบาล เติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet
การประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2566 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติเห็นชอบแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาและดำเนินการรับฟังความเห็นเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล กรณีการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ตามที่ คณะกรรมการเฝ้าระวังและประเมินสภาวการณ์ทุจริต เสนอ โดยมีองค์ประกอบคณะกรรมการ 30 คน ดังนี้
1. น.ส.สุภา ปิยะจิตติ กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานกรรมการ
2. นางสุวณา สุวรรณจูฑะ กรรมการ ป.ป.ช. เป็นรองประธานกรรมการ
3. รศ.มนตรี โสคติยานุรักษ์
4. รศ.สิริลักษณา คอมันตร์
5. รศ.อัจนา ไวความดี
6. รศ.อิสระ เสรีวัฒนวุฒิ
7. ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน หรือผู้แทน
8. อัยการสูงสุด หรือผู้แทน
9. เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน หรือผู้แทน
10. เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา หรือผู้แทน
11. เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือผู้แทน
12. ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือผู้แทน
13. เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย หรือผู้แทน
14. ประธานสภาอุตสาหกรรม หรือผู้แทน
15. ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย หรือผู้แทน
16. คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
17. คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
18. คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
19. นายภูมิศิริ ดำรงวุฒิ
20. นางสาวภาณี เอี้ยวสกุล
21. นายสุทธินันท์ สาริมาน
22. เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.
23. รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.
24. ผู้อำนวยการสำนักมาตรการเชิงรุกและนวัตกรรม โดยมีผู้อำนวยการสำนักเฝ้าระวังและประเมินสภาวการณ์ทุจริต เป็นกรรมการและเลขานุการ
25. นางจันทน์ทิพย์ อนุกูล ผู้อำนวยการกลุ่มเฝ้าระวังและประเมินสถาวการณ์ทุจริต เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
26. น.ส.กรองกานต์ ปานดำ เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตชำนาญการพิเศษ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มสำรวจการรับรู้การทุจริต เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
27. นายยุทธนา จาวรุ่งฤทธิ์ ผู้ช่วยเลขานุการ
28. น.ส.ปารวี ธีระกุล ผู้ช่วยเลขานุการ
29. นายนฤดม ศรีนาวา ผู้ช่วยเลขานุการ
30. นายธนกร ชีวะโกเศรษฐ ผู้ช่วยเลขานุการ
โดยมีหน้าที่
1.รวบรวม และดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล กรณีการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เพื่อหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริต ตลอดจนจัดทำข้อเสนอแนะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.เสนอความเห็น เพื่อให้มีการเสนอมาตรการ ความเห็น หรือข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล กรณีการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณา
3.ประสานความร่วมมือกับคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หน่วยงานภายนอกและบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล กรณีการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet
4.เสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะบุคคล เพื่อดำเนินการตามที่คณะกรรมการคณะนี้กำหนดและเห็นสมควร
5.ดำเนินการรับฟังความเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเสนอมาตรการ ความเห็น หรือข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตต่อนโยบายรัฐบาล กรณี การเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet
6.ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมาย
ทั้งนี้ คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาและดำเนินการรับฟังความเห็นเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล กรณีการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet อย่างเป็นทางการ นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างรอให้ พล.ต.อ.วัชรพล ประสานราชกิจ ประธาน ป.ป.ช. ลงนาม