ไม่พบผลการค้นหา
แกนนำภาค กทม.เพื่อไทย นำทีมส่งผู้สมัคร ส.ก.ครบทั้ง 50 เขต ด้าน ผอ.เลือกตั้ง ส.ก.เพื่อไทยรับนโยบายของ 'ชัชชาติ' ใกล้เคียงกับ 'เพื่อไทย' ยืนยันไม่เสียเปรียบไม่ส่งผู้ท้าชิงผู้ว่าฯกทม.

วันที่ 31 มี.ค. 2565 ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 เขตดินแดง พรรคเพื่อไทย นำทีมผู้สมัครสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.)ทั้ง 50 เขต ได้เดินทางมาสมัครรับเลือกตั้ง โดยมี ชัยเกษม นิติสิริ ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมือง และ พวงเพ็ชร ชุนละเอียด ผู้อำนวยการการเลือกตั้ง ส.ก.พรรคเพื่อไทย และวิชาญ มีนชัยนันท์ ประธานภาคกทม. พรรคเพื่อไทย เป็นผู้นำทีมในครั้งนี้ โดยพรรคเพื่อไทยได้เปิดนโยบายผู้สมัคร ส.ก.ไปเมื่อวันที่ 24 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยใช้สโลแกน ‘เลือกเพื่อไทย เลือกอนาคตที่มั่งคั่งให้คนกรุงเทพฯ’

ทั้งนี้ พวงเพ็ชร เปิดเผยว่า พรรคเพื่อไทยส่งผู้สมัคร ส.ก. ครบทั้ง 50 เขต และมีนโยบายที่ชัดเจน ซึ่งหลังการเลือกตั้งก็เป็นเลือกที่ตั้งรอดูต่อไปว่า ผู้ว่าฯ กทม. ที่มาจากการเลือกตั้งจะมีนโยบายที่ตรงกันหรือไม่ หากตรงกันก็พร้อมที่จะผลักดัน พร้อมยอมรับว่า แนวนโยบายของพรรคเพื่อไทย และ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครผู้ว่า กทม. ในนามอิสระนั้นมีความใกล้เคียงกับ 50-60 เปอร์เซ็นต์

พวงเพ็ชร กล่าวต่อว่า ผู้สมัครของพรรคทุกคนเป็นคนขยัน ติดดิน และทำงานในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ศึกษาปัญหาในพื้นที่มาตลอด โดยคาดว่าผู้สมัครจะสอบผ่าน ได้รับเลือกตั้งมากที่สุด และคิดว่าไม่ใช่เรื่องเสียเปรียบที่พรรคไทยได้ไม่ได้ส่งผู้สมัครผู้ว่า กทม. โดยตรง เพราะผู้สมัคร ส.ก. ทุกเขตต่างเป็นคนที่ทำงานในพื้นที่จริง และมีความสามารถที่จะทำงานในสภาด้วย 

เมื่อถามต่อว่า หากผู้ว่าฯ กทม. ที่ได้รับการเลือกตั้งไม่ใช่คนที่มีแนวโนยายตรงกันกับทีม ส.ก. ของพรรค จะสามารถร่วมงานกันได้หรือไม่ พวงเพ็ชร ระบุว่า สามารถทำงานได้กับทุกคน และเชื่อว่าจะสามารถผลักดันแนวแนวโยบายของพรรคให้ผู้ว่าร่วมขับเคลื่อนได้ 

เพื่อไทย สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สก B8F544D38E.jpegพวงเพ็ชร ชัยเกษม เพื่อไทย สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สก-8785-435E-9B67-8382C8CBBDDA.jpegพวงเพ็ชร ชัยเกษม วิชาญ เพื่อไทย สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สกC0CBCFA8B4CC.jpegเพื่อไทย สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สก 0DF-5E7AA54DEE4B.jpegเพื่อไทย สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สก 1-963013C01BD1.jpeg

สำหรับแนวนโยบายหลักของพรรคเพื่อไทย มีดังนี้

1) 30 บาท ถึงที่หมาย : ผลักดันให้กระทรวงคมนาคมบริหารจัดการรถไฟ รถไฟฟ้า รถไฟลอยฟ้า หน่วยงานเดียว เพื่อการบริหารค่าโดยสารที่เชื่อมต่อกันเป็นโครงข่าย เสียค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียว ผู้โดยสารจะเข้ามาใช้งานมากขึ้น ทำให้ค่าตั๋วโดยสารถูกลงด้วย

2) 50 เขต 50 โรงพยาบาล : ยกระดับศูนย์บริการสาธารณสุขที่มีอยู่แล้วเขตละ 1 แห่ง หรือสร้างโรงพยาบาลชุมชนขนาด 120 เตียง ที่สามารถดูแลประชาชนเบื้องต้นแบบครบวงจร โดยให้ กทม. รับงบประมาณกองทุนประกันสุขภาพจำนวน 15,000 ล้านบาท มาบริหารจัดการเอง

3) 437 สถานศึกษา พัฒนาสร้างรายได้ : เปิดพื้นที่โรงเรียนในสังกัด กทม. 437 แห่ง ให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับทุกคน ให้เป็นพื้นที่ของงาน เงิน และอนาคต ทั้งการศึกษาในระบบ โดยเพิ่มการเรียนภาษาที่ 2 อังกฤษและจีน เพิ่มทักษะคอมพิวเตอร์และโปรแกรมมิ่ง เพื่อให้เด็กและเยาวชน มีทักษะความรู้ในโลกสมัยใหม่ รวมทั้งการศึกษานอกระบบ ต้องทำให้โรงเรียนเป็นศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Maker space) โดย กทม.มีหน้าที่สนับสนุนงบประมาณ จัดจ้างครู อุปกรณ์ เช่น การทำอาหาร ตัดเย็บเสื้อผ้า โรงถ่ายหนัง มาสร้างสรรค์งานร่วมกัน จนเกิดเป็นสตาร์ทอัพ

4) กองทุนพัฒนาชุมชน 200,000 บาท : ทุกชุมชนใน กทม.ไม่เกิน 6,000 แห่ง ชุมชนแออัด หมู่บ้าน และคอนโด ต้องได้รับงบประมาณ 200,000 บาทต่อปี ให้ แต่ละชุมชนนำเสนองบประมาณเพื่อพัฒนาพื้นที่ผ่านเขตของตนเองได้ โดยจะมีคณะกรรมการที่ได้รับการเลือกตั้งภายในชุมชน มีผลงานชัดเจนจากการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองมาแล้ว มาร่วมตัดสินใจใช้งบประมาณแบบมีส่วนร่วม

5) 50 เขต 50 ซอฟต์เพาเวอร์ : คนชุมชนหรือย่านนั้น จัดงานแสดงศิลปะ วัฒนธรรม อาหาร แฟชัน ดนตรี โดยคนในท้องถิ่นที่จะสามารถออกแบบอีเวนต์เพื่อดึงดูดเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างเงินด้วยตนเอง กรุงเทพฯ จะไม่หลับใหล เปิดตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน เป็นซอฟต์เพาเวอร์ที่ทรงพลัง สร้างงาน สร้างเงินให้กับประเทศ