เมื่อวันที่ 14 ก.ย. 2565 ชูศักดิ์ ศิรินิลประธานคณะทํางานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย (พท.) ระบุถึงการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เกินกว่า 8 ปี เป็นเหตุให้ความเป็นนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลง ว่า ตนเองให้ความสําคัญต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญว่าเหตุใดรัฐธรรมนูญจึงบัญญัติเช่นนั้น ความสําคัญนี้อาจจะมีมากกว่าเจตนารมย์ของผู้ร่าง ซึ่งกําลังเป็นปัญหาถกเถียงกันอยู่ในเวลานี้ ดังนั้น ตนขอให้ข้อสังเกตดังนี้
1.มาตรา 158 บัญญัติกรณี 8 ปี ว่านายกรัฐมนตรีจะดํารงตําแหน่งรวมกันแล้วเกินแปดปีมิได้ ไม่ว่าจะดํารงตําแหน่งติดต่อกันหรือไม่ ทั้งนี้ ได้บัญญัติแตกต่างไปจากมาตรา 171 วรรคสี่ ของรัฐธรรมนูญ 2550 ที่บัญญัติเพียงว่า นายกรัฐมนตรีจะดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกินกว่า 8 ปีมิได้ รัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับมีหลักการ 8 ปีเหมือนกัน ทําไมถึงเขียนต่างกัน
2.การที่รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 264 ได้บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีที่เป็นอยู่ก่อนรัฐธรรมนูญ 2560 ใช้บังคับเป็นรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญนี้ โดยยกเว้นคุณสมบัติบางประการที่กําหนดไว้ ตามรัฐธรรมนูญ 2560 แต่กลับไม่ยกเว้นคุณสมบัติบางเรื่องเช่นการดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรี เกินกว่า 8 ปี ถ้าต้องการยกเว้นก็ควรจะต้องเขียนไว้อย่างชัดเจนว่าเรื่องแปดปียกเว้น เป็นมาก่อน ไม่นับ แต่เรื่องอื่นๆ กลับเขียนไว้โดยชัดเจนว่าไม่นํามาใช้บังคับกับ ครม.ที่เป็นอยู่ก่อนแล้ว
และ 3.เจตนารมณ์สําคัญของการห้ามนายกรัฐมนตรีดํารงตําแหน่งเกินกว่า 8 ปีมีความชัดเจน ในบันทึกการประชุมของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ว่าเพื่อมีให้เกิดการผูกขาดอํานาจในทาง การเมืองยาวเกินไป อันจะเป็นต้นเหตุวิกฤติทางการเมืองได้ ระยะเวลาการดํารงตําแหน่งของผู้นํา ประเทศถือเป็นสากล เป็นส่วนหนึ่งของหลักนิติธรรม เพราะอํานาจทําให้คนทุจริต อํานาจเด็ดขาด ทําให้ทุจริตได้อย่างไม่มีข้อจํากัด คนที่มีอํานาจเหนือคนอื่นมีแนวโน้มที่จะทุจริตหรือใช้อํานาจในทาง มิชอบ ถ้าปล่อยให้บุคคลเหล่านี้มีอํานาจเด็ดขาดเป็นระยะเวลายาวนานเกินไปก็เท่ากับปล่อยให้ ผู้ใช้อํานาจสามารถกระทํามิชอบ ทุจริตโดยไม่มีข้อจํากัด
“การที่บุคคลใดจะดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีจะต้องทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดํารง ตําแหน่งนายกมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ใช้อํานาจอธิปไตยหนึ่งในสามอํานาจจะเป็นนายกรัฐมนตรีได้มาอย่างไร ตามกฎหมายใดก็คือนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยนั่นเอง” ชูศักดิ์ ระบุ